ศูนย์เตือนภัยฯเตือนปชช.เฝ้าระวังอาฟเตอร์ช็อกอีก6-12 ชม.

ศูนย์เตือนภัยฯเตือนปชช.เฝ้าระวังอาฟเตอร์ช็อกอีก6-12 ชม.

ศูนย์เตือนภัยฯเตือนปชช.เฝ้าระวังอาฟเตอร์ช็อกอีก6-12 ชม. "วสท."ชี้แรงสุดในปท.จากรอยเลื่อนพะเยา

เมื่อเวลา 06.40 น. วันที่ 6 พฤษภาคม ศูนย์เตือนภัยฯแจ้งว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม เวลา 18.08 น. ขนาด 6.3 บริเวณ ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย จึงประกาศระวังภัยแผ่นดินไหว ขอให้ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแผ่นดินไหว โปรดระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้น โดยขอให้อยู่ในพื้นที่ปลอดภัยต่อไปอีก 6-12 ชั่วโมง เนื่องจากยังคงมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาเกินกว่า 4 ครั้ง/ชั่วโมง

ทาง ด้าน ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หรือ วสท. แถลงข่าวถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 6.3 ริกเตอร์

ที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เมื่อวานที่ผ่านมาว่าแผ่นดินไหวในครั้งนี้เกิดจากการเลื่อนของรอยเลื่อน พะเยา ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง โดยจุดกำเนิดแผ่นดินไหวมีความตื้น เพียง 7 กิโลเมตร ทำให้มีความรุนแรงสูง ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางในประเทศไทยขนาดสูงที่ สุดเท่าที่เคยวัดได้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออาคารสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่รัศมี 30 กิโลเมตร จากศูนย์กลาง

ทั้ง นี้หลังเกิดแผ่นดินไหว ได้เกิดอาฟเตอร์ช็อคตามมากว่า 100 ครั้ง

ทาง วสท.จึง เตือนให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและประชาชนเฝ้าระวัง 72 ชั่วโมง โดยเบื้องต้นฉาบปูนบริเวณเสาและอาคารที่เสียหาย ตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างบริเวณไหล่เขา เฝ้าระวังเขื่อนและอ่างเก็บน้ำในรัศมี 200 กิโลเมตร เฝ้าระวังดินถล่ม ในรัศมีจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว 50 กิโลเมตร เนื่องจากวันที่ 5 ถึง 7 พฤษภาคม มีฝนฟ้าคะนองในพื้นที่ภาคเหนือ และ เฝ้าระวัง อาฟเตอร์ช็อค ตามแนวรอยเลื่อนพะเยา ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย พะเยา และ ลำปาง

ส่วน อาคารภายในกรุงเทพมหานครที่ได้รับแรงสั่นสะเทือน นั้นอาคารต่างๆที่จดทะเบียนก่อสร้างที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันแผ่นดินไหวหลัง ปี 2550

สามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้ประมาณ 7 ริกเตอร์ จึงไม่น่าเป็นห่วง แต่เป็นห่วงอาคารเก่า ที่ก่อสร้างก่อนปี 2550 แต่ทาง วสท. จะดำเนินการตรวจสอบพร้อมให้ก่อสร้างส่วนค้ำยันอาคารเพิ่มเติม โดย ในวันพรุ่งนี้ทาง วสท. จะส่งตัวแทนลงพื้นที่ จังหวัดเชียงราย เข้าตรวจสอบโครงสร้างอาคาร ถึงประวัติของอาคารต่างๆ เพื่อสำรวจความเสียหาย วิเคราะห์ และให้คำแนะนำกับประชาชน                  

ขณะที่สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงทพมหานคร แนะนำประชาชนในการเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ว่า

1.ให้หมอบลงกับพื้น 2.หลีกเลี่ยงบริเวณใกล้หน้าต่าง หรือที่ที่มีอะไรแขวนไว้ตามฝาผนัง และหลบใต้โต๊ะหรือมุมห้อง 3.ป้องกันตนเองโดยใช้แขนปกป้องศีรษะและคอรอจนความสั่นไหวยุติลง หรือปลอดภัยแล้วจึงออกไปสู่จุดที่ปลอดภัย 4.ตั้งสติและอย่าให้คนในครอบครัวตื่นตระหนก 5.อยู่ห่างจากบริเวณที่มีวัตถุหล่นใส่ ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้งให้อยู่ห่างจากป้ายโฆษณา เสาไฟ อาคาร และต้นไม้ใหญ่ 6.ระวังเศษอิฐ กระจกแตก และชิ้นส่วนอาคารหล่นใส่

สำหรับผู้ที่อยู่ในอาคารสูง 1.ถ้าอาคารมั่นคงแข็งแรง ให้อยู่ในอาคารนั้น 2.ถ้าอาคารเก่าและไม่มั่นคง ให้รีบออกจากอาคารนั้นให้เร็วที่สุด 3.หลังการสั่นสะเทือนสิ้นสุด ให้รีบออกจากอาคาร 4.ถ้าไม่อยู่ใกล้ทางออก ให้ หมอบ ป้อง เกาะ จนกว่าจะมีผู้เข้าไปช่วยเหลือ 5.ถ้าอยู่ใกล้ทางออก ให้ออกจากอาคารโดยเร็ว อย่าแย่งกันจนเกิดความชุลมุน 6.ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาด


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์