ได้ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมบลูสกายโดยระบุถึงกรณี คดีฆาตกรรมอำพราง นายเอกยุทธ อัญชันบุตร นักธุรกิจชื่อดังและเจ้าของเว็บไซต์ไทยอินไซเดอร์ ถือว่าไม่ได้แตกต่างจากคดีของนายสมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งหายตัวไปอย่างมีเงื่อนงำในปี 2537 ในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ซึ่งเรายังไม่รู้ประเด็นว่าคืออะไร แต่ผู้ตายไม่ใช่ประชาชนธรรมดาที่ไม่เคยมีเรื่องกับอำนาจรัฐ เพราะฉะนั้น ถ้าพูดกันตรงๆ คุณเอกยุทธถือเป็นตัวอย่างของคนที่สู้กับอำนาจรัฐ จะเป็นฝั่งอะไรก็ช่าง แต่เมื่อมีการตาย เจ้าหน้าที่รัฐและการเมืองต้องระวัง ระวังต่อการเข้าไปก้าวก่าย ระวังต่อการที่ทำให้เห็นได้ว่ามันมีการดำเนินการไม่สุด” พญ.พรทิพย์กล่าว
โดยหลักการในต่างประเทศซึ่งเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่จะไม่มีการผูกขาดอำนาจอย่างในประเทศไทยเช่นปัจจุบัน โดยผู้ตรวจเก็บพยานหลักฐาน ผู้ตรวจพิสูจน์ และผู้ทำสำนวนต้องไม่เป็นหน่วยงานเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันผู้ดำเนินการเกี่ยวกับคดีดังกล่าวเกี่ยวพันกับตำรวจ และผู้ถืออำนาจรัฐทั้งหมด ซึ่งทำให้ประชาชนครหาได้ว่าปัจจุบันรัฐไทยเป็น “รัฐตำรวจ”
ทั้งนี้แม้ทางญาติของผู้เสียชีวิตอยากให้ตนเข้าไปตรวจสอบคดีนี้เพิ่มเติมเหมือนในอดีต ตนก็คงทำไม่ได้เนื่องจากบทบาทของตนเองในปัจจุบันคือผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม แม้จะมีสถานะของความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางนิติวิทยาศาสตร์อยู่ก็ตาม