กสท. เคาะแล้ว 12 ช่องดิจิตอลสาธารณะ กำหนดอายุใบอนุญาต 4 ปี

กสท. เคาะแล้ว 12 ช่องดิจิตอลสาธารณะ กำหนดอายุใบอนุญาต 4 ปี


กสท. เห็นชอบ 12 ช่องดิจิตอลสาธารณะ กำหนดอายุใบอนุญาต 4 ปี แจกฟรี 3 ช่อง ให้ ช่อง 5-11-ไทยพีบีเอส อนุญาตให้ออกอากาศควบคู่ไปได้ ที่เหลือเปิดให้ผู้ที่สนใจมาขอใบอนุญาต เม.ย.-พ.ค. คาดให้ใบอนุญาต มิ.ย. นี้


วานนี้ (25 มีนาคม) ผู้สื่อข่าวรายงานภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการณ์ "การปฏิรูปสื่อในทีวีดิจิตอลสาธารณะ : รูปแบบที่ควรจะเป็น" โดย มี นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ และนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช. ร่วมด้วยอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย จากสถาบันต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
ซึ่งในที่ประชุมนั้น ทั้งหมดได้ร่วมกันทำข้อเสนอ เพื่อให้ทาง กสท. ทบทวนใน 7 ประเด็น ได้แก่...  


         
1. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการรายเดิม (ช่อง 5, เอ็นบีที และไทยพีบีเอส) ปรับตัวให้สอดคล้องกับคุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบกิจการสาธารณะ มิใช่ได้รับสิทธิในการออกอากาศในระบบดิจิตอลโดยอัตโนมัติ มิเช่นนั้นจะส่งผลต่อการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม 

         
2. กสท. ต้องสร้างเกณฑ์การตรวจสอบหน้าที่และความจำเป็นของผู้ประกอบการรายเดิม และหน่วยงานรัฐและองค์กรต่าง ๆ ที่ขอเข้ามาจัดสรรคลื่นความถี่โดยคำนึงถึงโครงสร้างความเป็นเจ้าของ 

         
3. กสท. ต้องจัดทำคำนิยาม "บริการสาธารณะ" และเนื้อหารายการ รวมทั้งพันธกิจสำคัญในแต่ละช่องรายการให้ชัดเจน และขอให้ทบทวนการจัดกลุ่มตามวัตถุประสงค์ของทั้ง 12 ช่อง 

         
4. กสท. ต้องคำนึงถึงความเป็นเจ้าของสำหรับภาคประชาชนเพื่อใช้คลื่นความถี่ไม่น้อย กว่าร้อยละ 20 ในทุกพื้นที่ของการประกอบกิจการ 

         
5. กสท. ต้องกำหนดให้แต่ละช่องเสนอโครงสร้างการบริหารที่สะท้อนความเป็นอิสระจากภาค การเมืองและภาคธุรกิจ และมีแผนการจัดสรรและที่มาของงบประมาณที่ชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้   

         
6. กสท. ต้องมีเกณฑ์การคัดเลือกคุณสมบัติผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ช่องบริการ สาธารณะ (Beauty Contest) ที่ชัดเจน และผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะ เนื่องจากเป็นแนวนโยบายที่มีผลกระทบต่อสาธารณะ 

         
7. กสท. ควรชะลอการพิจารณาการจัดสรรคลื่นความถี่บริการสาธารณะ 12 ช่อง จนกว่าจะสำรวจและรับความเห็นจากทุกภาคส่วนและศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ในการใช้ดุลพินิจของ กสท.  

         
ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าว มีมติ 3 ต่อ 2 เห็นชอบการกำหนดช่องรายการทั้ง 12 ช่องสาธารณะ โดย 3 ช่องแรกเป็นช่องของผู้ประกอบการรายเดิมคือ ช่อง 5, เอ็นบีที และไทยพีบีเอส ส่วนที่เหลืออีก 9 ช่อง จะเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ทั้งหมด โดยจะต้องเป็นหน่วยงานราชการ กระทรวง ทบวง กรม และองค์กร ที่ไม่แสวงหาผลกำไร หรือสถาบันการศึกษาที่มาขอใบอนุญาตเท่านั้น นอกจาก ยังกำหนดให้ใบอนุญาตทีวีสาธารณะครั้งแรกมีอายุ 4 ปี และคาดว่าทาง กสท. จะประกาศเชิญชวนผู้ที่สนใจ ยื่นขอรับใบอนุญาตได้ในช่วงเดือนเมษายน หรือพฤษภาคม ส่วนในอนุญาตคาดว่าจะออกประมาณเดือนมิถุนายน 

         
ส่วนช่องต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก ช่อง 1-3  อนุญาตให้ช่อง 5, เอ็นบีที และไทยพีบีเอส ทำการออกอากาศคู่ขนานไปกับการออกอากาศแบบอนาล็อกเดิม โดยยังไม่ต้องทำเงื่อนไขของช่องทีวีดิจิตอลใหม่ มีระยะเวลาเท่ากับสิทธิในการใช้คลื่นความถี่เดิม

         
สำหรับช่อง 4-12 นั้น ได้กำหนดรายละเอียดวัตถุประสงค์การให้บริการโทรทัศน์ประเภททีวีสาธารณะ ประกอบด้วย


          
ช่อง 4 อนุญาตให้ไทยพีบีเอสให้บริการประเภทรายการเด็ก เยาวชนและครอบครัว

          
ช่อง 5 ให้บริการทีวีสาธารณะประเภทที่ 1 สำหรับการออกอากาศในการส่งเสริมความรู้ การศึกษา วิทยาศาสตร์

          
ช่อง 6
ให้บริการทีวีสาธารณะประเภทที่ 1 เป็นรายการด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม การเกษตร และการส่งเสริมอาชีพ

          
ช่อง 7 ให้บริการทีวีสาธารณะประเภทที่ 1 เน้นรายการสุขภาพอนามัย กีฬา หรือการส่งเสริมคุณภาพชีวิต

          
ช่อง 8 ให้บริการทีวีสาธารณะประเภทที่ 2 เน้นรายการเพื่อความมั่นคงของรัฐ

          
ช่อง 9
ให้บริการทีวีสาธารณะประเภทที่ 2 เน้น
รายการเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ

           
ช่อง 10
ให้บริการทีวีสาธารณะประเภทที่ 3 ออกอากาศ
รายการข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างรัฐบาลกับประชาชน และรัฐสภากับประชาชน

           
ช่อง 11
ให้บริการทีวีสาธารณะประเภทที่ 3
ออก อากาศด้านข้อมูลข่าวสาร ส่งเสริม สนับสนุนเผยแพร่ให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

          
ช่อง 12
ให้บริการทีวีสาธารณะประเภทที่ 3 เป็นรายการเสนอข้อมูลข่าวสารแก่คนพิการ คนด้อยโอกาส รวมถึงเด็ก เยาวชน หรือกลุ่มที่สนใจกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ

         
อย่าง ไรก็ตาม จากมติดังกล่าว ก็ส่งผลให้กลุ่มอาจารย์บางกลุ่มเตรียมล่ารายชื่อเพื่อยื่นให้ กสท. ทบทวนอีกครั้ง เนื่องจากเห็นว่า การออกใบอนุญาตให้กลุ่มช่องสาธารณะ ผิดเจตนารมณ์ของการปฏิรูปสื่อ และถือว่า กสท. ล้มเหลวในการจัดทำหลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาต เพราะในหลายประเด็นไม่มีความชัดเจนแต่อย่างใด

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์