พล.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา ผู้กำกับกลุ่มงานตรวจสอบศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำความผิดทางเทคโนโลยี กล่าวว่า
จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากไอซีที ประกาศหลักเกณฑ์การจัดเก็บข้อมูล ตามมาตรา 26 ปัจจุบันข้อมูลดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะระบุตัวเป้าหมายและเก็บหลักฐานไว้พิสูจน์ จึงจำเป็นต้องจัดหาเครื่องมือมาช่วย ซึ่งระบบดังกล่าวต้องทำภายใต้กรอบกฎหมายและไม่กระทบเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่อยากย้ำเตือนประชาชน หากพบเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมก็ไม่ควรไปเผยแพร่หรือเขาไปดูหลายๆ ครั้ง สำหรับเฟซบุ๊ก (www.facebook.com) ก็ไม่ควรไปกดไลค์ (LIKE) หรือหากเป็นทวิตเตอร์ (www.twitter.com) ก็ไม่ควรไปฟอลโล่ต่อ และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะไปค้นหาคำที่ไม่เหมาะสม เพราะจะเป็นการเพิ่มเรตติ้งให้เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัว
พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา ในฐานะคณะทำงาน กล่าวว่า ในวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา ไอซีทีได้ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งปิดกั้นเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อความที่กระทบต่อความมั่นคงทั้งหมด 126 URL และศาลได้ออกหมายค้น 5 เป้าหมาย ซึ่งทางคณะทำงานได้เข้าตรวจค้นและรวบรวมข้อมูล 2 เป้าหมายแต่ไม่ได้มีการจับกุม
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการกำหนดนโยบายการป้องกันและปราบปรามการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ที่ผิดกฎหมายหรือไม่เหมาะสมผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมด้วยคณะทำงาน แถลงที่ทำเนียบรัฐบาล ถึงความคืบหน้าของการทำงานว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ทำงานบูรณาการร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และนายกรัฐมนตรีก็เห็นชอบที่จะให้จัดซื้อเครื่องมือตัดสัญญาณ มูลค่า 400 ล้านบาท เพื่อดำเนินการปราบปรามเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมแล้ว ถือว่าคุ้มค่า เนื่องจากในประเทศที่พัฒนาแล้วแทบทุกประเทศมีเครื่องมือนี้ใช้กันทั้งหมด
นายสัก กอแสงเรือง นายกสภาทนายความ กล่าวว่า ได้เข้าพบ ร.ต.อ.เฉลิม พร้อมเรียกร้องให้เร่งดำเนินการจัดการเว็บหมิ่นสถาบัน โดยสภาทนายความจึงขอเรียกร้องให้ ผบ.ตร.และ รมว.เทคโนโลยีฯจัดตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานเพื่อติดตามตรวจสอบ สืบสวนสอบสวนการกระทำความผิดดังกล่าว