ได้เบาะแส แก๊งดูดเงิน ไอ-แบงกิ้ง พ.อ.(หญิง)

สมาคมธนาคารไทยมั่นใจระบบอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งได้มาตรฐานสากล

ขณะที่ พ.อ. เหยื่อเงินแบงก์ล่องหน 7 แสน แฉมีมือมืดฉกข้อมูลไปให้แก๊งดูดเงินระดับโลก เข้าไปแฮกข้อมูลโยกย้ายเงินในบัญชี เข้ากระเป๋าเป็นของตัวเอง แสดงความมั่นใจหากแบงก์สอบหาข้อเท็จจริง จับกุมตัวผู้กระทำผิดได้แน่นอน ขู่หากแบงก์ต้นสังกัดไม่รับผิดชอบ จะถอนเงินออกจากบัญชีจนเกลี้ยงแน่ 
   
จากกรณี พ.อ.(หญิง)ขัตติยาพร คำอาจ อายุ 44 ปี อาจารย์ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยจปร. เขาชะโงก ต.พราหมณี อ.เมือง จ.นครนายก

และเจ้าของโรงเรียนสอนกวดวิชาชื่อธนวรรณ ตั้งอยู่ใน อ.โพธา ราม จ.ราชบุรี เข้าแจ้งความร้องทุกข์ว่า หลังจากสมัครเข้าไปใช้บริการบัวหลวง ไอ แบงกิ้ง เงินในบัญชีเงินฝากธนาคารกรุง เทพ สาขาหนองโพ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี สูญหายไปร่วม 7 แสนบาท โดยสงสัยว่าอาจเป็นฝีมือแก๊งแฮกเกอร์ชาวต่างชาติ ตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น
   
ความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 8 ส.ค. พ.อ.(หญิง)ขัตติยาพร กล่าวว่าการสูญเงินในครั้งนี้ น่าจะเป็นบทเรียนให้กับครอบครัว

และจะได้เป็นสิ่งย้ำเตือนให้กับประชาชนทั่วประเทศได้รับรู้ และหาทางป้องกันในการเข้าไปทำธุรกรรมทางการเงินกับบัวหลวง ไอ แบงกิ้ง ของธนาคารกรุงเทพ เพื่อจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจและเสียความรู้สึกกับการใช้บริการ โดยเมื่อวันก่อนมีเจ้าหน้าที่ของธนาคารกรุงเทพ ได้เข้ามาตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ในการเข้าระบบ แต่ไม่ได้บอกว่าจะรู้ผลอย่างไรและเมื่อไหร่ เพียงแต่บอกว่า จะขอไปตรวจสอบข้อมูลก่อน และตอนนี้ตนได้สั่งปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมา เพราะเกรงว่าถ้ามีใครโอนเงินเข้ามาจะตกไปอยู่ในมือของพวกแก๊งมิจฉาชีพ
   
ด้าน พ.อ.ป๋อง คำอาจ สามีพ.อ. (หญิง)ขัตติยาพร กล่าวว่า ตนมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า การสูญเสียเงิน 7 แสนในครั้งนี้ว่า

หากทางธนาคารกรุงเทพตรวจสอบด้วยความรัดกุม จะสามารถจับกุมตัวผู้กระทำผิดได้แน่นอน และเชื่อด้วยว่าน่าจะมีคนของธนาคาร ซึ่งอาจจะเป็นอดีตพนักงานที่ออกไปแล้วหรือว่าพนักงานที่ติดการพนันลักลอบทำการดูดเอาข้อมูลไปขายให้กับแก๊งดูดเงินเหล่านั้น และน่าจะเป็นแก๊งดูดเงินระดับโลก
   
“เพราะฉะนั้นทางธนาคารจะต้องเป็นผู้ค้นหาความจริง และจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในครั้งนี้ ไม่ใช่บอกปัด และพูดว่าอาจจะโดนไวรัส แต่ถ้าทางธนาคารกรุงเทพ จะไม่ยอมรับผิดชอบกับเงินจำนวน 7 แสนบาทที่สูญหายไปจากบัญชีโดยไม่ทราบสาเหตุ ตนก็จะไม่ขอพูดมากไปกว่านี้ แต่ตนจะถอนเงินออกจากธนาคารกรุงเทพให้หมดแล้วทำการปิดบัญชีเลย” พ.อ.ป๋อง กล่าว


ด้าน ร.ต.ท.ณัฐพงศ์ จิรพฤฒิศิริ  พนักงานสอบสวน สภ.เมืองนครนายก เจ้า ของคดี กล่าวว่าจากการตรวจสอบในเบื้องต้น

ทราบว่าบัญชีหมายเลข 5500538706 นั้น เป็นชื่อของนายสมเกียรติ ตาสา ธนาคาร กรุงเทพ สาขาพระตำหนัก จ.ชลบุรี และได้เสียชีวิตแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2541 จึงทำให้ทางตำรวจ ไม่สามารถสืบสวนหาข้อเท็จจริงได้ เนื่องจากเจ้าของบัญชีไม่มีตัวตน วันเดียวกัน มีรายงานจากสมาคมธนาคารไทย แจ้งว่า การให้บริการทางอินเทอร์เน็ต แบงกิ้งของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งนั้น จะมีระบบป้องกันที่ปลอดภัย เพราะเป็นระบบที่ธนาคารพาณิชย์ลงทุนใช้งบประมาณในการพัฒนาเป็นจำนวนมาก และเป็นไปตามมาตรฐานสากล ส่วนการที่กลุ่มมิจฉาชีพจะแฮกข้อมูลไปนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ยกเว้นเกิดจากความประมาทของลูกค้าเอง เช่น ทำรหัสหาย หรือติดรหัสบัตรเอทีเอ็มไว้ที่หลังบัตร หรือถูกคนใกล้ชิดขโมยดูรหัส แล้วลักลอบไปทำธุรกรรมทางการเงินทำให้เจ้าของบัญชีเกิดความเสียหาย เป็นต้น 
   
ขณะที่ สมาคมธนาคารไทย ได้ขอให้ธนาคารพาณิชย์ แจ้งเตือนลูกค้าให้ระวังแก๊งต้มตุ๋นผ่านอินเทอร์เน็ต หรือหลอกลวงทางโทรศัพท์

โดยอ้างว่าเป็นหนี้บัตรเครดิตค้างชำระภาษีอากร หรือกลลวงในรูปแบบอื่น ๆ โดยขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ เพราะธนาคารพาณิชย์ไม่เคยติดต่อลูกค้าในลักษณะนี้ หรือหากสงสัยให้สอบถามกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารแต่ละแห่ง ส่วนความรับผิดชอบต่อลูกค้า นั้น หากลูกค้ายินยอมโอนเงินให้กับกลุ่มมิจฉาชีพ โดยไม่ได้เกิดจากความผิดของพนักงานธนาคาร ลูกค้าจะต้องเป็นคนรับผิดชอบเอง แต่ถ้าหากกลุ่มมิจฉาชีพแฮกข้อมูลของธนาคาร และทำให้เงินในบัญชีของลูกค้าถูกถอนออกไปธนาคารแห่งนั้นจะต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น
   
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) พล.ต.ต.ปัญญา มาเม่น รอง ผบช.ก.


กล่าวถึงการตรวจสอบข้อมูลอาจารย์โรงเรียนนายร้อยจปร. เงินในบัญชหายไปกว่า 7 แสนบาท ว่า ขณะนี้ได้ประสานสั่งการไปยังพ.ต.อ.พันธนะ นุชนารถ ผกก.3 บก.ทท. และ พ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา รอง ผบก.ปอท. ซึ่งเคยเป็นหัวหน้าชุดในการจับกุมแก๊งยุโรปตะวันออกแฮกข้อมูลโอนเงิน ที่มีพฤติกรรมเดียวกันไปรวบรวมข้อมูล ประวัติอาชญากรรมก่อนหน้านี้ไว้แล้ว ส่วนผู้เสียหายจะนัดมาให้ปากคำอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งในวันที่  9 ส.ค. หรือ 10 ส.ค. รวมถึงประสานไปยังสภ.นครนายก ที่ผู้เสียหายเข้าไปแจ้งความ แล้วนำข้อมูลมาประมวลรวมกัน เพื่อสรุปสาเหตุที่เงินสูญหายไป
   
พล.ต.ต.ปัญญา กล่าวต่อว่า ได้ติดตาม ข่าวจากสื่อมวลชน พบว่าพฤติกรรมของคนร้าย ที่ผู้เสียหายให้การนั้น ตรงกับแก๊งคนร้ายชาวยุโรปตะวันออก

ที่ทาง บช.ก. โดยบก.ทท. และปอศ. (ชื่อหน่วยงานในสมัยนั้น) เป็นผู้จับกุม และเคยก่อเหตุในพื้นที่สภ.พัทยา และส่งฟ้องศาลไปแล้ว ซึ่งคนร้ายต้องเป็นผู้มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ มีความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการปล่อยไวรัสเข้าไปแฮกข้อมูลของบุคคลได้เป็นอย่างดี และใช้วิธีแบบแก๊งคอลเซ็น เตอร์ในการปลดล็อกรหัสส่วนตัว อย่างไรก็ตาม จะต้องตรวจสอบข้อมูลในส่วนของผู้เสียหายรายนี้ว่า ผู้ก่อเหตุเป็นแก๊งเดียวกับที่เคยถูกจับหรือเป็นแก๊งใหม่
   
“ทั้งนี้การก่อเหตุลักษณะนี้ เช่น แฮก เกอร์ คอลเซ็นเตอร์ ปลอมบัตรเครดิต กลับมาก่อเหตุ และแพร่หลายในช่วงนี้ การเข้าไปแฮกข้อมูลของผู้เสียหาย จนสามารถโอนเงินจากบัญชีผู้เสียหายได้ขนาดนี้ไม่ใช่ความผิดของผู้ใช้ โดยที่ผ่านมาจะเกิดจากความผิดพลาดของธนาคารมากกว่า ที่ให้กลุ่มแก๊งคนร้ายเข้าถึงข้อมูลผู้เสียหายได้ แต่ผมไม่สามารถบอกได้ว่า ครั้งนี้เป็นกลุ่มไหน และเกิดจากสาเหตุใด จึงอยากได้พูดคุยและซักถามผู้เสียหายอีกครั้ง” พล.ต.ต.ปัญญา กล่าว.

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์