ฟัน3พนักงานรฟท. กก.สรุปผิดฐานทำรถไฟตกรางที่"เขาเต่า" คนขับรถเจอไล่ออก ยอมรับวูบเพราะกินยาแก้แพ้-แก้หวัด ตัดเงินเดือนช่างเครื่อง-พนักงานรักษารถ15%10เดือน ให้หยุดทำงานทันที สหภาพฯได้ทีชุมนุมไล่ผู้ว่ารฟท. กล่าวหาประมาทเลินเล่อ ถูกสตง.ชี้มูลความผิด ทั้งนี้ นายภากร ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง "นายบวรรัตน์ เสือทิม พนักงานช่างเครื่อง มีความผิดคือ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของ รฟท.ในการช่วยดูแลสัญญาณประจำ และนายอุทัย รักษาเกตุ พนักงานรักษารถ มีความผิดในการไม่ช่วยดูแลขบวน เรื่องการหลีกขบวนรถ ตามที่ระเบียบได้ระบุไว้ มีโทษตัดเงินเดือน 15% เป็นเวลา 10 เดือน โดยโทษทั้งหมดจะมีผลก็ต่อเมื่อผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบวินัย ซึ่งจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวภายใน 1-2 วันนี้ และระหว่างนี้ พนักงานทั้ง 3 จะต้องพักการทำงานทันที"นายภากร กล่าว และว่า รฟท.ยืนยันว่าอุปกรณ์และอาณัติสัญญาณทุกอย่างปกติ
คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุขบวนรถไฟที่ 84 ตรัง-กรุงเทพฯ ตกรางบริเวณสถานีเขาเต่า ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย และบาดเจ็บจำนวนมาก เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา สรุปผลการสอบสวนว่า การตกรางเกิดจากตัวบุคคล และให้ลงโทษพนักงาน 3 คน โดยไล่ออกพนักงานขับรถ ส่วนช่างเครื่องและพนักงานรักษารถให้ตัดเงินเดือน 15 % เป็นเวลา 10 เดือน
แถลงเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ว่าจากการตรวจสอบสรุปได้ว่า สาเหตุที่รถไฟตกรางเกิดจากตัวบุคคล โดยสามารถสรุปผู้กระทำผิด 3 คน ประกอบด้วย นายเริงศักดิ์ พันธุ์เทพ พนักงานขับรถ(พขร.) มีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามระบียบข้อบังคับในการขับรถของ รฟท. ส่งผลให้เกิดความเสียหาย มีโทษไล่ออก
ไล่ออกพขร.วูบ ทำรถไฟตกรางที่เขาเต่า
นายภากร กล่าวว่า นายเริงศักดิ์ ยอมรับว่า วูบหลับระหว่างขับรถ เนื่องจากกินยาแก้แพ้และยาแก้ไข้หวัดยี่ห้อหนึ่ง ทำให้เกิดอาการวูบ
และจากการสอบพยานทั้งหมด 8 ปาก ได้ข้อสรุปว่า นายเริงศักดิ์ ได้ขับขบวนรถไฟดังกล่าวจากสถานีชุมพร ไปถึงสถานีบางสะพานใหญ่ และหลังจากนั้นไม่ได้มีการหยุดพักที่สถานีใด และมีการขับรถฝ่าสัญญาณไฟแดงที่สถานีวังก์พง จนกระทั่งพนักงานขับรถเกิดอาการง่วงซึมและวูบหลับไป จนเกิดอุบัติเหตุขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่า นายเริงศักดิ์มีโรคประจำตัวคือ ความดันโลหิตสูง แต่ไม่ได้มีการดื่มสุรา และเมื่อตรวจสอบวันทำงานย้อนหลังพบว่าตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมาจนถึงวันเกิดอุบัติเหตุ นายเริงศักดิ์ได้หยุดงานเพียง 1 วัน คือวันที่ 14 กันยายนเท่านั้น
นายภากร กล่าวว่า ส่วนนายบวรรัตน์ ให้การว่าเห็นนายเริงศักดิ์ หยิบยามารับประทาน ส่วนตนเองก็ไม่ได้ยินเสียงวิทยุ
เนื่องจากหูข้างขวามีปัญหา ขณะที่การตรวจสอบระบบวิทยุสื่อสารระหว่างสถานีบางสะพาน-สถานีเขาเต่า ไม่พบว่ามีปัญหา แต่พบว่าแบตเตอรี่ของวิทยุสื่อสารบนขบวนรถอยู่ในสภาพแบตเตอรี่อ่อน และมีไอเสียรั่วเข้าไปในห้องขับ ที่ปัดน้ำฝนใช้การไม่ได้ ดังนั้นจากคำให้การทั้งหมด คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง สรุปความเห็นว่า สาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้เกิดจากความประมาทของพนักงานเป็นหลัก
วันเดียวกัน เวลา 12.00 น. นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสากิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.)
พร้อมด้วยสมาชิกสหภาพฯ ประมาณ 100 คน เดินทางมาชุมนุมบริเวณหน้ากระทรวงคมนาคม พร้อมกับออกแถลงการณ์ฉบับที่ 7 เรียกร้องปลดนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯรฟท.ออกจากตำแหน่ง โดยระบุว่า สหภาพฯได้ยื่นเรื่องการขอให้ปลดนายยุทธนา ออกจากตำแหน่งมาแล้วต่อนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการการรถไฟ และประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม ส.ส.และส.ว.มาแล้ว แต่ยังคงเพิกเฉย เนื่องจากมีการบริหารงานที่ล้มเหลว ทั้งถูกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ชี้มูลความผิดโครงการตลาดนัดซันเดย์ การละเมิดข้อตกลงกับสหภาพฯ และของพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2552 ในการหยุดการเดินรถไฟของสหภาพฯ และการเกิดอุบัติเหตุรถด่วนขบวนที่ 84 ตกราง ถือว่ามีความประมาทเลิกเล่อ ส่งผลต่อชีวิตของประชาชนและภาพลักษณ์ของการรถไฟ
"น้อมรับการพิจารณาของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเหตุรถไฟตกราง แต่เห็นว่าการที่เกิดความผิดพลาดมาจากพนักงานเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น และพนักงานไม่ได้หยุดพักผ่อนเพียงพอ อีกทั้งฝ่ายบริหารไม่ได้แสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งเห็นว่าระบบของรถไฟและหัวรถจักรน่าจะมีส่วนต่ออุบัติเหตุครั้งนี้ ทั้งการที่ระบบไอเสียเข้าห้องขับรถ โดยเฉพาะระบบล็อกล้อที่ทำงาน แต่ระบบความปลอดภัยอื่นๆไม่ทำงาน"นายสาวิทย์ กล่าว