โดยหลักเกณฑ์ที่ประกอบการสังเกต คือ
1.มีการวางแผนเตรียมการมาก่อน2.มีลักษณะอุกอาจ โหดร้ายทารุณ
3.ผลที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง หรือ เกิดความเสียหายแก่สังคมโดยรวม
4.กระทำโดยขาดความเห็นอกเห็นใจเหยื่อ
5.เคยมีประวัติการกระทำผิดในทำนองเดียวกันมาก่อน ไม่ว่าจะถูกจับกุมหรือไม่นอกจากนี้เมื่อสุขภาพร่างกาย แข็งแรงสมบูรณ์ และขณะกระทำความผิดมีระดับสติปัญญาไม่บกพร่อง คือ ไม่ต่ำกว่า 70 เมื่อทดสอบโดยใช้แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา รวมทั้งพิจารณาภาวะแห่งจิต และนิสัย โดยการตรวจสภาพจิตโดยจิตแพทย์ และผลการทดสอบทางจิตวิทยา พบว่าไม่มีอาการของโรคจิต (วิกลจริต) หรือ พยาธิสภาพทางสมอง แต่มีแนวโน้มว่าอาจมีปัญหาบุคลิกภาพในอนาคต เช่น ต่อต้านสังคม หรือมีความเป็นผู้ร้ายโดยสันดาน
โดยตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมาตรา 97 วรรคสองระบุว่า คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว ถ้าศาลเยาวชนและครอบครัว พิจารณาโดยคำนึงถึงร่างกาย สติปัญญา สุขภาพภาวะแห่งจิตและนิสัย แล้วเห็นว่าในขณะกระทำความผิด หรือ ในระหว่างการพิจารณาเด็กหรือเยาวชนที่ต้องหาว่า กระทำความผิดมีสภาพเช่นเดียวกับบุคคลที่มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์ขึ้นไป ก็ให้มีอำนาจสั่งให้โอนคดีไปพิจารณาในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้
ขณะที่ นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับการส่งตัวผู้ต้องหาในคดีดังกล่าว แต่กรมพินิจฯ ได้เตรียมความพร้อมไว้แล้วหากได้รับการประสานส่งตัวจะส่งต่อไปยังสถานพินิจ จ.ตรัง หรือ ศูนย์ฝึกอบรมเยาวชนชาย จ.สงขลา ซึ่งตามหลักกฎหมาย หากผู้กระทำผิดอายุต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์ จะถือว่ายังเป็นเยาวชน และตำรวจต้องส่งตัวให้กรมพินิจฯ ภายใน 24 ชม. เบื้องต้นหากได้รับตัวจะให้นักจิตวิทยาประเมินผลสภาพจิตเพื่อนำเสนอผลการประเมินสภาพจิตต่อศาลเพื่อให้ศาลเป็นผู้พิจารณาว่าจะต้องอยู่ในการดูแลแบบผู้ใหญ่หรือเด็ก