จากเหตุการณ์สุดสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2553 กรณีสาวซีวิคพุ่งท้ายรถตู้โดยสาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต-จตุจักร ซึ่งกำลังวิ่งบนทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ จากรังสิต มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพมหานคร ทำให้เสียหลัก พุ่งชนกับเสาไฟฟ้าและขอบทาง เป็นเหตุให้ประตูรถตู้เปิดออก และผู้โดยสารที่อยู่ในรถถูกเหวี่ยงออกไปคนละทิศละทาง โดยเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 9 ศพ และมีผู้บาดเจ็บ 6 ราย
ย้อนรอย คดีสาวซีวิค สู่บทสรุปสุดท้าย ที่คนไทยจับตามอง!!!
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้มีกระแสวิพากษณ์วิจารณ์อย่างมากถึงความไม่เดือดเนื้อร้อนใจขณะที่มีคนเสียชีวิตและบาดเจ็บนับสิบ เพราะได้มีรูปภาพ หญิงสาว ที่ขับรถฮอนด้าซีวิคยืนเล่นโทรศัพท์ ข้างรถ
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเพียง 1 วัน เจ้าหน้าที่ได้มีการเรียกสอบสวนและดำเนินคดีดังกล่าวก็พบว่าเป็นลูกหลานผู้มีอิทธิผล ส่งผลให้ชาวออนไลน์ลุกฮือเรียกร้องให้มีการรับโทษเด็ดขาด!
17 กุมภาพันธ์ 2554 ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ ระบุว่า จะฟ้องผู้ปกครองเด็ก และผู้ให้ยืมรถในความผิดทางอาญาด้วยโดยใช้ทฤษฎีการกระทำผิดคู่ขนาน ผิดฐานประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายรวมถึงฐานที่พ่อแม่ไม่ดูแลบุตร ปล่อยให้ทำความผิดทางอาญา เป็นความผิดลหุโทษ ซึ่งเป็นความผิดสถานเบาพร้อมทั้งย้ำเตือนว่านี้เป็นตัวอย่างสังคม
ต่อมาวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 ทีมกฎหมายตัวแทนของครอบครัวของผู้ต้องหาได้ส่งแถลงการอ้างที่ผ่านมาข่าวคลาดเคลื่อนความจริงแล้วรถซีวิคไม่ได้ชนรถตู้ไม่เช่นนั้นคนขับคงตายแล้วเพราะรถเก๋งเล็กกว่ารถตู้และยังแสดงความเสียใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมฝากถึง "ทีมกฎหมายธรรมศาสตร์ " ให้พิจารณาคดีให้รอบคอบก่อนฟ้อง
ส่วนนางสาวยุวดี เยี่ยงยุกดิ์สากล อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ได้ออกมาชี้แจงเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2555 เนื่องจากเป็นพนักงานอัยการเป็นโจทย์ยื่นฟ้องในคดีนี้ กล่าวว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้มีข้อเสนอให้ทั้งสองฝ่ายใช้วิธีไกล่เกลี่ยเรื่องค่าสินไหมทดแทน ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวกลาง พ.ศ.2553 มาตรา 132 โดยจะนัดทั้ง 2 ฝ่ายมาไกล่เกลี่ยอีกครั้งในวันที่ 2 กรกฏาคม 2555 ซึ่งการนำ พ.ร.บ.ฉบับนี้มาใช้เนื่องจากเป็นการช่วยไกล่เกลี่ยและเยียวยาผู้เสียหายด้วย และหากการไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จจะมีการพิพากษาต่อไป
วันที่ 2 ก.ค.2555 ศาลนัดคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเพื่อเข้าพบนักจิตวิทยา ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการไกล่เกลี่ย แต่ยังวี่แววว่าสาวซีวิคจะออกมา ซึ่งทำให้การเจรจาครั้งนี้ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ทั้งนี้ได้มีข้อมูลเปิดเผยข้อมูลว่า สาวซีวิคไม่รับสารภาพ เนื่องจากเกรงว่าจะมีผลคดีแพ่งเรียก120ล้านบาท จนทำให้ไม่สามารถจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเยียวยาได้
ต่อมาวันที่ 31 สิงหาคม 2555 ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและทำให้ทรัพย์สินเสียหาย เป็นเวลา 3ปี คำให้การในชั้นพิจารณาเป็นประโยชน์ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกเป็นเวลา 2 ปี โทษจำคุก ให้รอลงอาญาเป็นเวลา 3 ปี โดยคุมประพฤติจำเลย 3 ปี และให้รายงานตัวทุกๆ 3 เดือน พร้อมให้ทำงานบริการสังคมโดยการดูแลผู้ป่วยจากอุบัติเหตุเป็นเวลา 48 ชั่วโมง รวมทั้งห้ามจำเลยขับรถยนต์จนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์ ส่วนข้อหาใช้โทรศัทพ์มือถือขณะขับรถ โจทก์ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าจำเลยกระทำการดังกล่าวจริง จึงพิพากษายกฟ้อง
จนเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2557ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาแก้ไขจากที่รอลงอาญา3 ปี ให้ระยะเวลารอลงอาญาเป็น 4 ปี และให้บำเพ็ญประโยชน์ 48 ชั่วโมงต่อปี เป็นเวลารวม 4 ปี ส่วนโทษอื่นให้คงตามศาลชั้นต้น ต่อมาจำเลยยื่นฎีกาต่อสู้คดี
และล่าสุด 11 พฤษภาคม 2558 ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้ว มีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย เนื่องจากคำร้องฎีกาไม่มีสาระสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งของศาลล่างที่ไม่รับฎีกา
"เหตุการณ์ดังกล่าวจะเป็นอุทาหรณ์ให้สังคมไทยกฎหมายไทย และเป็นบทเรียนให้ทุกฝ่ายต้องตระหนักถึงความปลอดภัยในชีวิตผู้คนหรือไม่ ประชาชนทุกคนต้องร่วมกันตระหนักสิ่งนี้เอง"