เปิดเผยตอนหนึ่งในการเปิดโครงการต้นแบบ”ห้องอุ่นใจ” ในสถานศึกษา เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.)กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ว่าเด็กและเยาวชนยังคงเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติด
การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนควบคู่กับการเฝ้าระวังและควบคุมปัญหาในหมู่บ้าน/ชุมชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้สามารถลดระดับความรุนแรงของปัญหายาเสพติดได้อย่างยั่งยืน
ที่จะเป็นสถานที่ทำงานร่วมกันและการจัดตั้งกองลูกเสือต้านภัยยาเสพติดเพื่อให้นักเรียนในบทบาทของลูกเสือต้านภัยยาเสพคิดเข้ามามีส่วนร่วมเป็นหูเป็นตา สอดส่องพฤติกรรมและเฝ้าระวังพื้นที่ภายในชุมชน โดยโครงการนี้ตนอยากจะให้มีการขยายไปยังเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ
พบว่ามีเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5-6 บางส่วนได้กลายเป็นเด็กเดินยาในชุมชนโดยได้ค่าจ้าง 30-50 บาทต่อครั้ง และจากการลงพื้นที่ได้ข้อมูลจากครูว่าเด็กถูกข่มขู่จากผู้ค้ายาว่าหากบอกข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้รับอันตรายถึงชีวิตจึง ทำให้เด็กกลุ่มนี้เมื่อจบการศึกษาไปแล้วก็ยังอยู่ในวังวนของยาเสพติดไม่สามารถหลุดออกมาได้
เพราะจากข้อมูลยังพบว่าเด็กเดินยาได้ขยายไปในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และในบางส่วนของภาคเหนือและภาคอีสาน ส่วนพื้นที่ภาคใต้ยังไม่มีข้อมูลแจ้งมา ยังได้รับข้อมูลจากครูว่าผู้ที่มีอิทธิพลในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องในวงจรยาเสพติดแต่ก็สงสัยว่าทำไมเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปราบปรามยาเสพติดจึงไม่ทราบข้อมูลเหล่านี้