18 เม.ย.57 ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย
แถลงสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 17 เม.ย.57 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์ “ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย สงกรานต์ทั่วไทยไร้อุบัติเหตุ” เกิดอุบัติเหตุ 238 ครั้ง (ปี 2556 เกิด 247 ครั้ง) ลดลง 9 ครั้ง ร้อยละ 3.64 ผู้เสียชีวิต 43 ราย (ปี 2556 เสียชีวิต 37 ราย) เพิ่มขึ้น 6 ราย ร้อยละ 16.22 ผู้บาดเจ็บ 299 คน (ปี 2556 บาดเจ็บ 257 คน) เพิ่มขึ้น 42 คน ร้อยละ 16.34
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 25.21 เมาแล้วขับ ร้อยละ 21.43
ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 80.40 รถปิคอัพ ร้อยละ 8.40 พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 21.64 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 60.08 บนถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 42.86 ถนนอบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 39.92 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 12.01 - 16.00 น. ร้อยละ 26.05 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน (อายุ 20 – 49 ปี) ร้อยละ 44.44 ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,275 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 67,002 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 597,820 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดีรวม 90,182 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช ตรัง และราชบุรี (จังหวัดละ 12 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 4 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ กาญจนบุรี 30 คน
"สรุปอุบัติเหตุทางถนนเมื่อรวม 7 วัน (วันที่ 11 - 17 เมษายน 2557) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,992 ครั้ง (ปี 2556 เกิด 2,828 ครั้ง) เพิ่มขึ้น 164 ครั้ง ร้อยละ 5.80 ผู้เสียชีวิตรวม 322 ราย (ปี 2556 เสียชีวิต 323 ราย) ลดลง 1 ราย ร้อยละ 0.31 ผู้บาดเจ็บรวม 3,225 คน (ปี 2556 บาดเจ็บ 3,040 คน ) เพิ่มขึ้น 185 คน ร้อยละ 6.09 สาเหตุ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาแล้วขับ ร้อยละ 36.76 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 24.47 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 79.14 รถปิคอัพ ร้อยละ 11.39 พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 21.99 ส่วนใหญ่เกิด ในเส้นทางตรง ร้อยละ 62.60 ถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 38.74 บนถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 36.83
ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 - 20.00 น. ร้อยละ 32.95 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 52.13
ทั้งนี้ จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 116 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 14 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 144 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท เพชรบุรี อ่างทอง พังงา และยะลา อำเภอที่ไม่มีผู้เสียชีวิต จำนวน 664 อำเภอ พื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 44 เขต จังหวัดที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงในช่วงเทศกาลสงกรานต์เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรหนึ่งแสนคน ได้แก่ อุทัยธานี 2.13 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคน สมุทรสงคราม 1.55 คนต่อประชากรหนี่งแสนคน" รมว.มหาดไทย กล่าว