นายโอลิวิเยร์ บลองชาร์ด หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟ
กล่าวว่าจุดอ่อนของประเทศ กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงในบางประเทศเท่านั้น อย่างไรก็ดี ยังคงมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่อาจชะลอตัวลงไปอีก ขณะที่เศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มดีขึ้น
ปัญหาทางการเงินที่เคยเกิดขึ้นในฤดูร้อนปีที่แล้วและในช่วงต้นปีนี้ ก็อาจจะเกิดขึ้นได้อีกครั้ง
โดยปัญหาดังกล่าว คือกระแสเงินลงทุนจำนวนมากที่ไหลออกจากประเทศตลาดเกิดใหม่ ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เตรียมที่จะปรับลดวงเงินในมาตรการเข้าซื้อ ตราสารหนี้ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
โดยก่อนหน้านี้ธนาคารโลกก็ได้มีการปรับลดประมาณการจีดีพีของไทยในปีนี้เหลือเพียง3.0% ด้วยเหตุผลสำคัญมาจากปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อ ทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถขับเคลื่อนได้เต็มที่
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง
กล่าวถึงแนวโน้มการส่งออกซึ่งถือเป็นตัวหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจว่าการส่งออกของไทยในปีนี้ยังพบกับปัญหาอยู่ เนื่องจากประเทศคู่ค้าของไทย เช่น สหรัฐฯ กลุ่มยุโรปไม่ได้ฟื้นตัวจริงทำให้ยังคงเป็นกังวลในเรื่องของการส่งออกที่ก่อนหน้านี้คาดว่าจะสามารถเป็นตัวหลักให้เศรษฐกิจขยายตัวได้
“จากการรายงานในที่ประชุมประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน(ASEAN Finance Ministers’ Meeting : AFMM) ณ กรุงเนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ พบว่า เศรษฐกิจโลกไม่ได้ฟื้นตัวจริง ประเทศคู่ค้าทั้งสหรัฐและกลุ่มยุโรป ก็ไม่ได้ดีอย่างที่คาดไว้ ทำให้การส่งออกของไทยยังมีปัญหาอยู่ และคงต้องหวังพึ่งจากการส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียนเพียงอย่างเดียว เพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถเดินหน้าต่อไปได้ก่อน” นายรังสรรค์กล่าว
นายรังสรรค์ กล่าวว่าระหว่างที่ปัญหาการมืองยืดเยื้อยังไม่มีรัฐบาลใหม่เข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทางกระทรวงการคลัง
ได้รวบรวมข้อมูลการเบิกจ่ายของหน่วยงานราชการต่างๆในปีงบประมาณ 2557 และจัดทำร่างแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2558 ส่งไปยังสำนักงบประมาณแล้ว เพื่อให้สำนักงบไปพิจารณาประกอบการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 โดยเป็นการเตรียมการเพื่อเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถจัดตั้งได้ในช่วงครึ่งปีนี้
อย่างไรก็ตามหากยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ก็จะส่งผลให้การจัดทำงบประมาณปี 2558
ล่าช้าออกไปซึ่งจะไม่มีเม็ดเงินเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจมากนัก เนื่องจากไม่สามารถมีโครงการจัดซื้อจัดจ้าง หรือโครงการลงทุนใหม่ๆได้แต่ทางหน่วยงานราชการยังใช้เม็ดเงินจากงบที่ได้จัดทำแผนก่อหนี้ผูกพันจากปีที่ผ่านมาไปก่อนได้ รวมถึงจากงบเหลื่อมปี หรือเงินกันที่ยังค้างอยู่ในระบบด้วยเช่นกัน
“ได้ส่งข้อมูลและแผนการทำงานในปีหน้าไปสำนักงบแล้วว่า ในแต่ละหน่วยงาน จะทำอะไรบ้าง เพื่อเป็นการเตรียมการก่อนที่จะมีรัฐบาลใหม่เข้ามา จะได้ไม่เป็นการเสียเวลา หลังจากในเวลานี้ได้ล่าช้ามามากแล้ว หากยังไม่สามารถมีรัฐบาลได้ ก็สามารถใช้เงินงบประมาณเดิมไปได้ก่อน” นายรังสรรค์ กล่าว