"ขุนคลังโต้ง" ยื่น 33 แบงก์ในประเทศเพื่อกู้เงิน 1.3 แสนล้านมาจ่าย ชาวนาโครงการจำนำข้าว โดยจะพิจารณาแบงก์ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำ แต่หนักใจหลายแห่งหวั่นม็อบกปปส.ประท้วง ขณะที่ชาวนาหลายจังหวัดยังปักหลักประท้วงเรียกร้องเงินค่าจำนำข้าว
เมื่อ วันที่ 26 ม.ค.ที่ลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร กลุ่มเครือข่ายชาวนาจังหวัดกำแพงเพชร จาก 11 อำเภอ
นำโดยนายดอกจิก แนวหาญ ผู้นำชาวนาจากอำเภอไทรงาม ในฐานะประธานเครือข่ายชาวนากำแพงเพชร และนายโสภา จันทร์ดวง ชาวนาจากอำเภอคลองลาน รองประธานเครือข่ายชาวนาจังหวัดกำแพงเพชร พร้อมชาวนาหลายร้อยคนจากอำเภอต่างๆ รวมตัวตั้งเต็นท์ลงทะเบียนเพื่อรวบรวมเอกสารต่างๆ เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ใบประทวน ใบรับรองเกษตรกร เพื่อส่งรวบรวมให้นายอดุลย์ หาญกำจัดภัย ประธานสภาทนายความจังหวัดกำแพงเพชร รับเรื่องฟ้องร้องให้กับเครือข่ายชาวนา กรณีรัฐบาล, ธ.ก.ส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผิดสัญญาชำระเงินรับจำนำข้าว โดยมีนายสุวัฒน์ วัฒนศิริ ประธาน กปปส.กำแพงเพชร นำมวลชนจำนวนหนึ่งมาให้บริการตั้งโต๊ะรับลงทะเบียนและเอกสารต่างๆ ของชาวนาในครั้งนี้
นายอดุลย์ หาญกำจัดภัย ประธานสภาทนายฯ จ.กำแพงเพชร กล่าวว่า
สภาทนายความจะรับดำเนินการให้กับชาวนาที่มาลงทะเบียนยื่นเอกสารในวันนี้ เพื่อร้องขอความช่วยเหลือในการฟ้องร้องรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 กรณี กรณีที่หนึ่งจะฟ้องร้องธ.ก.ส. ให้กับกลุ่มที่ถูกธ.ก.ส. ผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้จ่ายเงินต้น พร้อมดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 7 ส่วนการพิจารณาจ่ายค่าเสียหายเพิ่มเติมแล้วแต่ศาลจะใช้ดุลยพินิจ ซึ่งธ.ก.ส.เป็นจำเลยที่ 1, รัฐบาลเป็นจำเลยที่ 2 และพรรคการเมืองเป็นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบาย
การ ฟ้องร้องกรณี 2 คือ ผิดสัญญารับจำนำข้าว โดยธ.ก.ส.ปฏิเสธการรับใบประทวน โดยสามารถสั่งฟ้องธ.ก.ส.ให้รับจำนำ และกรณีที่ 3 คือ กรณีที่ชาวนานำเข้าโครงการรับจำนำกับโรงสี แต่ไม่ได้รับใบประทวน อาจจะพิจารณาว่าเข้าข่ายยักยอกหรือฉ้อโกงหรือไม่ โดยวันที่ 23 ม.ค.นี้จะตั้งคณะทำงานร่วม ระหว่างทนายส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อเร่งพิจารณาคดีของชาวนาแยกเป็นรายจังหวัด ตามสาขาที่ธ.ก.ส.ตั้งอยู่ในแต่ละพื้นที่ คาดว่าจะสามารถยื่นฟ้องได้ภายใน 2 เดือน
คลังกู้ 33แบงก์ จ่ายจำนำข้าว ใช้เงินในประเทศ ชาวนาขู่เข้ากรุง
วันเดียวกัน เวลา 11.00 น. กลุ่มชาวนาใน อ.ลำปลายมาศ และอำเภอใกล้เคียงใน จ.บุรี รัมย์ รวมตัวออกมาถือป้ายชุมนุมประท้วงหน้า
ที่ว่าการอำเภอลำปลายมาศ และหน้าหน่วยเลือกตั้งกลางในเขตจังหวัดของเขตเลือกตั้งที่ 4 เพื่อคัดค้านการเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้สูญเสียงบประมาณโดยใช่เหตุในภาวะที่บ้านเมืองอยู่ในความขัดแย้ง พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลนำเงินที่ใช้ในการจัดการเลือกตั้งมาจ่ายให้เกษตรกร ที่ยังไม่ได้รับเงินในโครงการรับจำนำข้าวดีกว่า เพราะหากเลือกตั้งไปแล้วอาจจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณซึ่งเป็นภาษีของ ประชาชนไม่เกิดประโยชน์ ทั้งนี้ ตัวแทนเกษตรกรยังได้มีการปราศรัยโจมตีรัฐบาลถึงความล้มเหลวในการบริหาร โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าวที่สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร ท่ามกลางการดูแลรักษาความปลอดภัยของตำรวจอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้เกษตรกรที่มาชุมนุมเข้าไปก่อความวุ่นวายยังหน่วยเลือกตั้ง
จาก นั้นเกษตรกรพากันเคลื่อนขบวนไปปิดถนนสาย 226 ที่สามแยกหนองพะองค์ ต.หนองกระทิง อ.ลำปลายมาศ เขตติดต่อกับ อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา
เพื่อกดดันรัฐบาลเร่งจ่ายเงินให้เกษตรกร แต่หากยังไม่ได้รับคำตอบจากทางจังหวัดเป็นที่น่าพอใจ เกษตรกรจะยกระดับการชุมนุม ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าขณะนี้เกษตรกรในบุรีรัมย์ยังไม่ได้รับเงินในโครงการรับจำนำ ข้าวกว่า 50,000 ราย เป็นเงินกว่า 4,000 ล้านบาท
ขณะที่ จ.อ่างทอง กลุ่มม็อบชาวนาและกลุ่มกปปส.อ่างทองรวมตัวเรียกร้องไม่เอาการเลือกตั้ง และทวงเงินจำนำข้าวที่หน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง
จากนั้นมีมติปิดถนนสายเอเชีย โดยมีชาวนาอ่างทองกว่า 200 คน ปิดถนนสายเอเชียขาเข้ากรุงเทพฯ บริเวณก.ม.ที่ 50-51 หมู่ที่ 4 ต.บ้านอิฐ อ.เมือง จ.อ่างทอง ส่งผลให้การจราจรขาเข้ากรุงเทพฯ ติดขัดอย่างหนักกว่า 10 ก.ม. เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องให้รถที่เดินทางจากภาคเหนือใช้ทางเลี่ยงไปขึ้นสะพานบาง แก้วชั่วคราว และไปออกแยกต่างระดับอ่างทองเพื่อเข้ากรุงเทพฯ
เวลา 11.30 น. นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าฯ อ่างทอง เดินทางมาเจรจากับแกนนํา
พร้อมยืนยันว่า ในวันที่ 31 ม.ค.นี้ชาวนาจะได้รับเงินจำนำข้าวอย่างแน่นอน สร้างความพอใจให้กับกลุ่มชาวนาเป็นอย่างมากก่อนแยกย้ายกันกลับ แต่หากวันที่ 31 ม.ค.ยังไม่ได้รับเงินตามที่ผู้ว่าฯ บอก วันที่ 1 ก.พ.จะปิดถนนอีกครั้ง วันเดียวกัน ที่กระทรวงการคลัง นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ซักซ้อมความเข้าใจการกู้เงินเพิ่มอีก 1.3 แสนล้านบาท เพื่อจ่ายค่าค้างจำนำข้าวกับชาวนา กับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) โดยคาดว่าจะเริ่มกู้ได้ทันทีภายในสัปดาห์นี้
สำหรับขั้นตอน การกู้นายกิตติรัตน์ยืนยันกับ สบน.ว่า ที่ผ่านมา ครม.เห็นชอบการปรับแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)
ที่งดการกู้เงินจากการออกพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ที่คาดว่าจะก่อหนี้ได้ 1.2 แสนล้านบาท และไปเพิ่มการค้ำประกันเงินกู้ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 1.3 แสนล้านบาท เพื่อไปจ่ายค่าจำนำข้าวให้กับชาวนาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เมื่อกฤษฎีการะบุว่าสามารถกู้เงินได้ กระทรวงการคลังสามารถค้ำประกันเงินกู้ให้กับธ.ก.ส.ได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องขอ ความเห็นชอบจาก ครม.อีกครั้ง
อย่างไรก็ตามสำหรับการกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาท ได้วางแผนที่จะกู้กับธนาคารโดยตรง เพราะดำเนินการได้รวดเร็วกว่าการออกพันธบัตร เนื่องจากรัฐบาลต้องรีบใช้เงินจ่ายชาวนาที่ค้างมาเป็นเวลาหลายเดือน โดยจะทำหนังสือไปถึงธนาคารทั้ง 33 แห่งในประเทศไทย เพื่อเสนอประมูลอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยคลังจะเลือกจากผู้ที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำสุดก่อน
นาย กิตติรัตน์กล่าวว่า อย่างไรก็ตามการกู้เงินรับจำนำข้าวจากธนาคารครั้งนี้อาจจะกู้ได้ยาก
เพราะหลายแบงก์ปฏิเสธปล่อยกู้ให้กับรัฐบาล ทั้งธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน เพราะมีผู้ชุมนุมประท้วงไปกดดันไม่ให้ปล่อยกู้ นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งกังวลว่าการปล่อยกู้จะไม่ถูกต้อง เพราะไม่แน่ใจว่าการดำเนินการของรัฐบาลจะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ในภายหลัง
"ต้อง ยอมรับว่าธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเป็นกังวลภาพลักษณ์ของธนาคารจะออกมาไม่ดี หากปล่อยกู้ให้กับโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล" นายกิตติรัตน์กล่าว
ด้าน นายสุวิชญ โรจนวานิช ที่ปรึกษา สบน. กล่าวว่า สบน.คิดว่ายังมีหลายแบงก์ต้องการปล่อยกู้ในโครงการรับจำนำข้าว
แม้ว่าโครงการจะมีปัญหา เพราะการปล่อยกู้ของแบงก์จะคิดถึงเรื่องความปลอดภัยในการกู้ และผลตอบแทนที่ได้รับเป็นสำคัญ ซึ่งการปล่อยกู้ให้กับธ.ก.ส.ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันถือว่ามีความปลอดภัย ร้อยเปอร์เซ็นต์ และการปล่อยกู้เป็นวงเงินที่สูง ทำให้ธนาคารไม่ต้องเหนื่อยไปหาลูกค้าสินเชื่อรายอื่น