นักวิทย์อินเดียเจ๋ง โคลนนิ่งแพะหิมาลัยพันธุ์หายาก คุยใช้เทคนิคถูกกว่า-เร็วกว่า

นักวิทย์อินเดียเจ๋ง โคลนนิ่งแพะหิมาลัยพันธุ์หายาก คุยใช้เทคนิคถูกกว่า-เร็วกว่า

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 16 มี.ค.ว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชอร์ อี แคชเมียร์ ของอินเดีย ประสบความสำเร็จในการโคลนนิ่ง"แพะ"แคชมี"แพะหิมาลัยพันธุ์หายากของแคว้น แคชเมียร์ เพิ่มความหวังที่จะเพิ่มจำนวนสัตว์ประเภทนี้ที่นิยมถูกนำไปทำเป็นเสื้อคลุม โดยแพะดังกล่าวเป็นเพศเมีย ถูกตั้งชื่อว่า"นูรี"แปลว่า แสงไฟ ในภาษาอารบิค

รายงานระบุว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เวลา 2 ปีในการโคลนนิ่งแพะพันธุ์หายากนี้ ด้วยการใช้เทคนิคพิเศษที่ไม่มีการเปิดเผย แต่ระบุว่าเป็นเทคนิคที่ทีมชำนาญ และกลุ่มจะใช้เวลาอีกครึ่งปีในการโคลนนิ่งลูกแพะหิมาลัยนี้เป็นตัวต่อไป และว่า ที่ผ่านมา กลุ่มได้เริ่มงานโคลนนิ่งหลายประเภท ซึ่งเป็นวิธีการที่ถูกกว่า ง่ายกว่า และใช้เวลาน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเทคนิคปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยีสูง และต้องพึ่งกระบวนการทางเคมี โดยกลุ่มจะเผยแพร่ความรู้การโคลนนิ่งดังกล่าวไปทั่วย่านหิมาลัยเพื่อให้นัก วิทยาศาสตร์รายอื่น ๆ สามารถโคลนนิ่งแพะสายพันธุ์อื่นๆได้

นอกจากนี้ กลุ่มยังหวังที่จะโคลนนิ่งสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์อื่น ๆ เช่น กวางเพศผู้แคชเมียร์ ด้วย

 ทั้งนี้ สำหรับแพะ"แคชมี" ถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญของชาวแคชเมียร์ สามารถสร้างรายได้ 80 ล้านต่อปี โดยแพะตัวหนึ่งสามารถขายได้เป็นเงิน 200 ดอลลาร์ หรือมากกว่าหากขายในต่างแดน และสร้างรายได้เฉลี่ยต่อปีให้แก่ชาวแคชเมียร์จำนวน 10.2 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าหัวละ 800 ดอลลาร์ (ราว 24,0000 บาท) ต่อปี

 


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์