ร่างปรองดองเฉลิมนิรโทษฯแม้วด้วย

ร่างปรองดองเฉลิมนิรโทษฯแม้วด้วย

เปิดร่างพ.ร.บ.ปรองดองของ'เฉลิม' นิรโทษกรรมให้ทุกคน ทุกคดี รวมทั้งทักษิณ


สำหรับร่างพระราชบัญญัติปรองดอง ฉบับของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในส่วนของเหตุผลในการเสนอร่าง พรบ.ฉบับนี้ ระบุว่า ที่ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา ได้มีเหตุการณ์ประชาชนชุมนุมกีนในทางการเมืองเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยประชาชนได้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันจนเกิดการแบ่งฝ่าย ซึ่งมีผลกระทบเป็นอย่างยิ่งต่อความสามัคคีของคนในชาติ การบริหารราชการแผ่นดินไม่อาจดำเนินการเพื่อเกิดผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนได้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันจนเกิดการแบ่งฝ่าย

ซึ่งมีผลกระทบเป็นอย่างยิ่งต่อความสามัคคีของคนในชาติ การบริหารราชการแผ่นดินไม่อาจดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนได้ ในการชุมนุมของประชาชนหลายครั้งได้ลุกลามจนมีการกระทำที่เป็นความผิดและเกิดอันตรายต่อชีวิตและร่างกายของบุคคล ทั้งยังเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและประโยชน์ของประเทศรวมทั้งมีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมีการยึดอำนาจการปกครองจากระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและมีการใช้อำนาจที่ไม่เป็นไปตามระบบกฎหมายปกติ

จนมีประชาชนจำนวนมากเรียกร้องให้มีการปฏิบัติด้วยความเป็นธรรม เหตุการณ์เหล่านี้ก่อให้เกิดความร้าวฉานในหมู่ประชาชน

ซึ่งหากปล่อยให้ระยะเวลายาวนานต่อไปโดยไม่มีการแก้ไขย่อมจะเกิดอันตรายต่อประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง
"เมื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความไม่พอใจในการบริหารราชการแผ่นดินในบางช่วงเวลา แต่ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายต่างก็เป็นคนไทยด้วยกันทั้งสิ้น สมควรที่จะยุติความรู้สึกที่บาดหมางกันและเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชาติขึ้นใหม่ เพื่อร่วมกันเริ่มต้นการพัฒนาประเทศและกรดูแลทุกข์สุขของคนในชาติอีกครั้งหนึ่ง ตามวิถีทางประชาธิปไตยอย่างสมานฉันท์ สมควรยกเลิกการกระทำต่างๆที่เป็นความผิด

เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าว รวมทั้งการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตยและเกิดผลร้ายแก่บุคคลในช่วงเวลานั้น เพื่อให้บุคคลทุกคนรวมทั้งญาติพี่น้องและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับผลจากเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นได้ร่วมกันยุติเหตุการณ์ร้ายในอดีต และสร้างความปรองดองสมัครสมานสามัคคีร่วมกันทำประโยชน์ และช่วยจรรโลงประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป"

เหตุผลของการเสนอร่าง พรบ.ระบุไว้
สำหรับร่างพระราชบัญญัติปรองดอง ของ ร.ต.อ.เฉลิม มีทั้งหมด 6 มาตรา โดยเนื้อหาสำคัญอยู่ที่มาตรา 3 และ 4 ดังนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า “พระราชบัญญัติการปรองดองแห่งชาติ พ.ศ.”


มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองหรือการกระทำใดที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวในระหว่าง พ.ศ.2549 จนถึงวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากมีการกระทำใดเป็นความผิดตามกฎหมาย ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้กระทำรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ ไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง


ในกรณีที่ผู้กระทำการตามวรรคหนึ่งอยู่ในระหว่างการสอบสวน ให้ผู้มีอำนาจสอบสวนระงับการสอบสวนนั้น ถ้าอยู่ในระหว่างการฟ้องร้อง ให้พนักงานอัยการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้อง

ถ้าอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุด
ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับกับการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐและบุคคลใดๆ อันเกี่ยวเนื่องจากการป้องกันระงับ หรือปราบปราม ในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองการแสดงความเห็นทางการเมือง หรือการกระทำใดที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม


เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ การชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง หมายความว่า การกระทำหรือการแสดงความคิดเห็นเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้อง และให้หมายความรวมถึงการยึดหรือปิดสถานที่เพื่อประท้วง การต่อสู้ขัดขืนในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการประทุษร้ายต่อร่างกายและทรัพย์สิน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง


มาตรา 4 บรรดาการกล่าวหาการกระทำความผิดบุคคลใดๆ ที่เกิดจากคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 หรือจากคณะบุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเป็นการกล่าวหาจากหน่วยงานอื่นใด อันเป็นผลสืบเนื่องจากการดำเนินการของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ไม่ว่าเป็นการกล่าวหาในข้อหาใด ให้ถือว่าเป็นการกล่าวหาในความผิดทางการเมือง และให้การกล่าวหาการกระทำความผิดนั้นเป็นอันระงับไป โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และให้นำความในมาตรา 3 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม


มาตรา 5 ในกรณีที่มีผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองหรือการกระทำใดที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวตนมมาตรา 3 วรรคหนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด


มาตรา 6 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้ การนิรโทษกรรมตาม พรบ.ฉบับนี้ จะนิรโทษกรรมให้กับทุกคดีที่เกี่ยวเนื่องกับทางการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2549 จนถึงวันที่กฎหมายนี้บังคับใช้ ซึ่งต่างจาก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของ ส.ส.เพื่อไทยคนอื่นที่เสนอเข้าสู่สภาแล้วที่จะนิรโทษให้จนถึงวันที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภาในเดือน พ.ค.2554 เท่านั้น และที่สำคัญการนิรโทษกรรมนี้จะรวมไปถึงคดีความต่างๆที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองในรัฐบาลของพ.ต.ท.ทักษิณโดนด้วยหลังจากมีการปฏิวัติในปี 2549 ด้วย


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์