แฉพิรุธบินมาเลย์ มือดีปิดสัญญาณ

แฉพิรุธบินมาเลย์ มือดีปิดสัญญาณ

ปัดสายการบิน “มาเลเซีย แอร์ไลน์ส” ไม่ได้บึ้มกลางอากาศ ขณะที่การค้นหาเศษซากยังไร้ผล ผู้เชี่ยวชาญชี้อาจมีคนแฝงตัวปิดระบบส่งสัญญาณ

ปัดสายการบิน “มาเลเซีย แอร์ไลน์ส” ไม่ได้บึ้มกลางอากาศ ขณะที่การค้นหาเศษซากยังไร้ผล ผู้เชี่ยวชาญชี้อาจมีคนแฝงตัวปิดระบบส่งสัญญาณ ทำให้หายไปจากจอเรดาร์ หวั่นชนวนเหตุนำไปสู่การก่อการร้าย  

จากกรณี เครื่องบินโดยสารแบบโบอิ้ง 777-200 เที่ยวบินเอ็มเอช 370 ของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ส

พร้อมผู้โดยสารและ  ลูกเรือรวม 239 ชีวิต ออกเดินทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มุ่งหน้าสู่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้หายไปจากจอเรดาร์อย่างลึกลับ บริเวณนอกชายฝั่งประเทศเวียดนาม ช่วงเช้าวันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ยังค้นหาไม่พบนั้น ความคืบหน้า เมื่อวันที่ 13 มี.ค. สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียว่า นายดาดุ๊ก อาซารุดดิน เราะห์มาน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันภัยพลเรือนมาเลเซีย แถลงเกี่ยวกับผลการส่งเครื่องบินไปตรวจสอบน่านน้ำในทะเล  จีนใต้ บริเวณที่ดาวเทียมจีนสามารถบันทึกภาพชิ้นส่วนปริศนา 3 ชิ้น ซึ่งอาจเป็นเบาะแสนำไปสู่การค้นพบเครื่องบินโดยสารของมาเลเซีย แอร์ไลน์ส เที่ยวบินเอ็มเอช 370 ที่หายไป พร้อมผู้โดยสารและลูกเรือนั้นว่า ทีมงานตรวจสอบทะเลบริเวณนั้นโดยละเอียดแล้ว แต่ไม่พบสิ่งใด

เช่น เดียวกับรัฐบาลเวียดนาม ที่ส่งเครื่องบิน อานโตนอฟ อาน-26 จำนวน 2 ลำ เข้าไปร่วมค้นหาในเวลาไล่เลี่ยกับทางการมาเลเซีย แต่ยังไม่พบวัตถุต้องสงสัยทั้ง 3 ชิ้นตามภาพจากดาวเทียมของจีน ที่ระบุพิกัดเอาไว้ที่บริเวณเกาะกอนด่าว ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเวียดนาม

ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพเรือสหรัฐ ที่ร่วมในปฏิบัติการค้นหาเครื่องบิน ยืนยันไม่ได้รับรายงานการระเบิดกลางอากาศของวัตถุ

จากดาวเทียมสอดแนมทุกดวงของสหรัฐ ซึ่งหากดาวเทียมดวงใดตรวจพบคลื่นความร้อนที่มีความรุนแรงมหาศาล และสามารถ ระบุพิกัดที่แน่นอนได้ เรือรบและเครื่องบินของกองทัพจะมุ่งหน้าไปตรวจสอบทันที แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใด

ด้าน สายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส ออกแถลงการณ์เปลี่ยนรหัสเที่ยวบินในเส้นทางไปกลับระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์ กับกรุงปักกิ่ง

โดยเที่ยวบินขาออกจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ สู่กรุงปักกิ่งจะใช้รหัสเอ็มเอช 318 แทนเอ็มเอช 370 และเที่ยวบินขาออกจากกรุงปักกิ่งสู่กรุงกัวลาลัมเปอร์ จะใช้รหัสเอ็มเอช 319 แทนเอ็มเอช 371 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค.  เป็นต้นไป ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญที่ทำให้สายการบินตัดสินใจเปลี่ยนรหัสเที่ยวบินในเส้นทางดัง กล่าว คือเพื่อแสดงความเป็นเกียรติและส่งกำลังใจให้กับผู้โดยสาร 227 คน และลูกเรือ 12 คน ของเที่ยวบินเอ็มเอช 370

ด้าน หนังสือพิมพ์ เดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล ฉบับวันพฤหัสบดี สัมภาษณ์หน่วยงานเชี่ยวชาญด้านการสืบสวนอุบัติเหตุทางอากาศและเจ้าหน้าที่ ด้านความมั่นคง

พบความเป็นไปได้ที่เครื่องบินโบอิ้ง 777-200 อีอาร์ ของมาเลเซีย แอร์ไลน์ส อาจเคลื่อนที่ต่อไปอีกราว 4-5 ชั่วโมง หลังส่งสัญญาณติดต่อครั้งสุดท้ายกับหอบังคับการบิน โดยอาศัยหลักฐานจากสัญญาณจากเครื่องยนต์ของเครื่องบิน ซึ่งผลิตโดยบริษัทโรลสรอยซ์ ส่งอัตโนมัติตามเวลาจริงกลับมายังสถานีภาคพื้นดิน ที่เมืองเดอร์บี ทางตอนกลางของอังกฤษ หากข้อมูลดังกล่าวเป็นความจริง หมายความว่าเครื่องบินซึ่งออกเดินทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ มุ่งหน้าสู่กรุงปักกิ่งมีอันต้องเปลี่ยนเส้นทางด้วยเหตุผลบางประการ หลังส่งสัญญาณกลับมายังเจ้าหน้าที่ภาคพื้นเป็นครั้งสุดท้าย โดยมีการปิดระบบสื่อสารทุกอย่างเพื่อไม่ให้ถูกจับได้

รายงาน ดังกล่าวสอดคล้องกับถ้อย แถลงของนายจอห์น เบรนแนน ผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) ซึ่งกล่าวเมื่อวันอังคารว่า ซีไอเอติดตามข่าวและสืบ สวนกรณีการหายสาบสูญของเครื่องบินลำนี้ตลอดเวลา และยังไม่ตัดประเด็นการก่อการร้ายออกไป

ด้าน พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผบ. ทร. กล่าวถึงความคืบหน้า

ในการช่วยค้นหาเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 777-200 เที่ยวบินเอ็มเอช 370 ของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์สที่สูญหายว่า จากการลาดตระเวนทั้งในทะเลฝั่งอ่าวไทยและทะเลฝั่งอันดามันของกองทัพเรือ ขณะนี้ยังไม่พบสิ่งใดที่บอกเหตุว่าเครื่องบินจะตกลงบริเวณจุดใด แต่จะเดินหน้าค้นหาตามคำร้องขอของทางการมาเลเซีย และจะไม่ยกเลิกภารกิจดังกล่าว เพียงแต่ขณะนี้ยังไม่เจอสิ่งใดที่เชื่อมโยงกับเครื่องบินลำที่หายไป ส่วนสาเหตุการหายไปก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอุบัติ เหตุ ก่อการร้าย หรือสาเหตุใด เนื่องจากยังไม่มีสิ่งใดบอกเหตุที่แน่ชัด อีกทั้งไม่มีการสรุปว่าแท้จริงแล้วเครื่องบินหายไปในบริเวณใด

ส่วน กระทรวงการต่างประเทศ เผยแพร่ประกาศของกรมการกงสุล มีใจความว่า

จากกรณีปรากฏข่าวมีการปลอมแปลงในหนังสือ  เดินทาง (พาสปอร์ต) ของชาวต่างประเทศ ในประเทศไทย และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสูญหายของเครื่องบินของสายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส เที่ยวบิน เอ็มเอช 370 นั้น กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงว่า กรณีดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับการปลอมแปลงหนังสือเดินทางของชาวต่างประเทศใน ประเทศไทย ไม่ใช่การปลอมแปลงหนังสือเดินทางไทย

อีกทั้งกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ขอให้ความมั่นใจว่าหนังสือเดินทางไทย เป็นหนังสือ

เดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต) ที่มีมาตรฐานตามที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอซีเอโอ) กำหนดไว้ และมีคุณสมบัติป้องกันการปลอมแปลงสูงมากจนไม่สามารถปลอมแปลงได้ รวมทั้งมีการบรรจุข้อมูลชีวภาพของเจ้าของพาสปอร์ตไว้ในเล่มหนังสือเดินทาง เพื่อป้องกันการปลอมแปลง เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ 10 นิ้ว นอกจากนี้ ตั้งแต่เริ่มโครงการ อี-พาสปอร์ต เมื่อปี 48 ถึงปัจจุบัน ได้ผลิตหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ไปกว่า 10 ล้านเล่ม ยังไม่ปรากฏมีหนังสือเดินทางของไทยถูกปลอมแปลงได้.


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์