ผู้นำโสมแดงปลดอาตัวเองเพื่อรวบอำนาจ

ผู้นำโสมแดงปลดอาตัวเองเพื่อรวบอำนาจ

สื่อนอกเชื่อ 'คิม จอง-อิล' ผู้นำเกาหลีเหนือ เป็นคนสั่งปลดอาตัวเองจากตำแหน่งสำคัญ เพื่อรวบอำนาจมาไว้ในมือ

 4 ธ.ค. 56  สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า เชื่อว่า นายคิม จอง-อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ จะเป็นคนสั่งปลดนายชาง ซอง-แต็ก อาเขยของเขาออกจากอำนาจที่กำลังรุ่งโรจน์ เพื่อรวบอำนาจมาไว้ในมือตัวเอง ภายในวงที่แวดล้อมไปด้วยคนใกล้ชิดของเขาที่เป็นคนรุ่นใหม่


 นายชาง ถูกปลดออกจากตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการทหารแห่งชาติ และตำแหน่งสำคัญในพรรคกรรมกร // นักวิเคราะห์หลายคน
 
ที่จับตาโครงสร้างอำนาจของเกาหลีเหนือ ระบุว่า การปลดนายชาง ไม่มีทางเกิดขึ้นได้โดยปราศจากความเห็นชอบของนายคิม จอง-อึน และเชื่อว่า เป็นการพยายามทำให้ดุลแห่งอำนาจเอียงไปทางกลุ่มคนใกล้ชิดอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นฝ่ายที่กุมอำนาจกองทัพ ที่อาจเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของกองทัพที่มีกำลังพล 1.2 ล้านคน


โช เรียง แฮ ผู้อำนวยการคณะกรรมการกรมการเมืองแห่งกองทัพประชาชนเกาหลีเหนือ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุด ที่คอยติดตามนายคิมออกงาน และยังเป็นตัวแทนที่ทำให้ตระหนักถึงรากเหง้าทางการเมืองที่ฝังอยู่ในอำนาจกองทัพ


โคห์ ยู-ฮวาน จากมหาวิทยาลัยดองกุ๊ก ในกรุงโซล ที่เชี่ยวชาญด้านผู้นำเกาหลีเหนือ ให้ความเห็นว่า

นายจาง เป็นบุคคลที่นายคิมต้องตัดออก เพราะเขาพยายามสร้างโครงสร้างอำนาจของตัวเอง และเชื่อกลุ่มคนใกล้ชิดนายคิมที่เป็นคนรุ่นใหม่ ต้องการให้นายคิมปลดนายชาง ซึ่งหมายความว่า ต่อไปนายคิมจะบริหารประเทศโดยปราศจากผู้พิทักษ์


รัฐบาลสหรัฐ ได้พยายามหาข้อยืนยันรายงานที่สั่นคลอนกรุงเปียงยางในขณะนี้ // แหล่งข่าว ระบุว่า นายคิม

ซึ่งสถาปนาตัวเองเป็นผู้นำที่ไร้ความปรานีและไม่กลัวที่จะเปลี่ยนแปลงถ้าเห็นว่ามันเหมาะสมกับเขา // สิ่งที่จะเป็นปัญหาจากการปลดนายจางคือ อาจนำไปสู่หายนะทางเศรษฐกิจ


จอห์น สเวนสัน-ไรท์ นักวิชาการจากสถาบันคลังสมองสากล ชาธัม เฮาส์ ในลอนดอน ให้ความเห็นว่า ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้นำ นายชางดูแลด้านการปฏิรูปเศรษฐกิจ ดังนั้นการปลดเขาจึงเป็นการเสี่ยงเนื่องจากเป็นการปลดคนที่ใกล้ชิดโครงการนี้ไปด้วย


นอกจากปัญหาการเมืองในประเทศแล้ว เกาหลีเหนือยังมีปัญหาการเผชิญหน้ากับตะวันตก ในเรื่องโครงการอาวุธนิวเคลียร์อีกด้วย

ความตึงเครียดระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้เมื่อต้นปี ที่เกิดจากเกาหลีเหนือ มีปฏิกิริยาตอบโต้ที่สหประชาชาติ เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือให้เข้มงวดยิ่งขึ้นเพื่อตอบโต้ที่เกาหลีเหนือจัดการทดสอบนิวเคลียร์ แต่ได้ผ่อนคลายลง แต่ในทางเทคนิค สองเกาหลียังคงเป็นคู่สงครามกัน หลังสงครามเกาหลีระหว่างปี 2493-2496 สิ้นสุดลงด้วยข้อตกลงสงบศึกไม่ใช่การเจรจาสันติภาพ


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์