ทึ่งญี่ปุ่น ตามหาช้าง´ฮานาโกะ

ภาพประกอบข่าวทางอินเทอร์เน็ตภาพประกอบข่าวทางอินเทอร์เน็ต


นักเขียนชาวญี่ปุ่นตามหาต้นกำเนิดช้างไทยในญี่ปุ่น


ครั้งนี้ถูกเปิดเผยขึ้นเมื่อวันที่ 2 ม.ค. ผู้สื่อข่าวประจำกองปราบปราม ได้รับการติดต่อจาก นายโคอิชิ คาซาโน อายุ 53 ปี นักเขียนอิสระของหนังสือพิมพ์ไทยเคไซ หนังสือพิมพ์ภาษาญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ให้ช่วยประชาสัมพันธ์หาตัวบุคคลที่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับช้างไทยเชือกแรก ที่ถูกส่งไปยังประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

โดยนายโคอิชิ กล่าวว่า ตนได้รับการติดต่อจากนายโนโซมิ นารุเสะ อายุ 22 ปี นักศึกษาในกรุงโตเกียว ว่าต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับช้างไทย เพศเมีย เชือกแรกที่ถูกส่งไปประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชื่อ ฮานาโกะ เพื่อต้องการนำรายละเอียดไปสร้างเป็นสารคดีเผยแพร่ให้ชาวญี่ปุ่นรับทราบ เนื่องจากมีความประทับใจและเฉลิม ฉลองที่ช้างฮานาโกะจะมีอายุครบ 60 ปีในปีนี้

นายโคอิชิ กล่าวต่อว่า


นายโนโซมิได้พบเห็นช้างฮานาโกะ เมื่อครั้งไปเที่ยวที่สวนสัตว์อิโนกาชิระ ชานเมืองโตเกียว โดยขณะนี้ช้างฮานาโกะ มีอายุ 59 ปีแล้ว ซึ่งถือว่าแก่มาก และตอนนี้ก็ไม่มีฟันต้องกินอาหารอ่อน ๆ และเมื่อนายโนโซมิ ทราบประวัติคร่าว ๆ ของช้างฮานาโกะแล้วก็เกิดความประทับใจ และเป็นแรงบันดาลใจให้ทำภาพยนตร์สารคดี

และเท่าที่ตนทราบประวัติของช้างฮานาโกะนั้นพบว่าก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นมีช้าง 1 เชือก ชื่อฮานาโกะ ซึ่งเป็นขวัญใจและเพื่อนเล่นกับเด็ก ๆ ชาวญี่ปุ่น แต่ต่อมาช้างได้เสียชีวิตลง ทำให้เด็ก ๆ ในญี่ปุ่นเขียนจดหมายถึงรัฐบาลญี่ปุ่นในสมัยนั้นให้สวนสัตว์มีช้างเหมือนเดิม


ตอนนั้นกระแสเรียกร้องมาก รัฐบาลจึงนำเรื่องมาหารือกันและมีการติดต่อเจ้าของช้างในประเทศไทยและพ่อค้าช้างชาวอินเดีย โดยช้างจากไทยไปถึงญี่ปุ่นก่อนเป็นเชือกแรก โดยข้อมูลที่มีอยู่รู้เพียงว่าช้างเชือกนี้เป็นของพระสารสาสน์พลขันธ์ และลูกชายซึ่งเป็นนายทหารยศพันโทชื่อคุณสมหวัง

ส่วนจะมีการติดต่อกันอย่างไรและส่งช้างไปกี่เชือกนั้นผมยังไม่มีข้อมูล รู้แต่ว่าหนึ่งในนั้นคือช้างฮานาโกะตัวนี้ ซึ่งตอนที่ถูกส่งไปมีอายุ 2 ปี ออกเดินทางจากท่าน้ำแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2492 ถึงท่าเรือโกเบ วันที่ 2 ก.ย. ปีเดียวกันนายโคอิชิ กล่าว

ทึ่งญี่ปุ่น ตามหาช้าง´ฮานาโกะ


นักเขียนอิสระชาวญี่ปุ่น กล่าวต่อว่า


ตอนนั้นที่ญี่ปุ่นมีการจัดการต้อนรับใหญ่โตจนเป็นข่าวใหญ่ในประเทศเพราะทำให้เด็ก ๆ ในญี่ปุ่นสมหวัง และเมื่อมีการประชาสัมพันธ์ให้เด็ก ๆ ช่วยกันตั้งชื่อแล้วต่างก็พร้อมใจกันให้ลูกช้างเชือกนี้ชื่อ ฮานาโกะ ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับช้างที่จากไปก่อนหน้านี้ โดยคำว่าฮานาโกะนั้น หมายถึง ดอกไม้ หรือสัญลักษณ์แทนผู้หญิง เหมือนกับประเทศไทยที่ใช้คำว่าสมหญิง จากวันนั้นเป็นต้นมาลูกช้างไทยเพศเมียเชือกนี้จึงมีชื่อว่าฮานาโกะและเป็นหนึ่งในสัตว์ประจำสวนสัตว์ที่เป็นขวัญใจของเด็ก ๆ

นายโคอิชิ เผยอีกว่า ตนจึงต้องการประสานขอข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับช้างเชือกนี้ไปให้นายโนโซมิ ใช้เป็นข้อมูลในการทำสารคดีในโอกาสที่ช้างฮานาโกะจะมีอายุครบ 60 ปี เพราะเรื่องนี้เป็นสิ่งดีและมีประโยชน์ทางประวัติศาสตร์โดยเฉพาะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยและญี่ปุ่น อีกทั้งในปีนี้ก็จะครบรอบ 120 ปีแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ.


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์