รหัสลับ IRIE ระเบิดต่อมฮาตำรวจไทย

ตำรวจทำงานหนักหลังมีการแจ้งพบอักษรคล้ายที่พล.ต.อ.อชิรวิทย์ชี้ว่าเป็นรหัสของกลุ่มวางระเบิดทั่วไปตำรวจทำงานหนักหลังมีการแจ้งพบอักษรคล้ายที่พล.ต.อ.อชิรวิทย์ชี้ว่าเป็นรหัสของกลุ่มวางระเบิดทั่วไป


เหตุการณ์ระเบิดต้อนรับปีใหม่


ของผู้ไม่หวังดีทั้ง 8 จุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในค่ำคืนรอยต่อระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และวันที่ 1 มกราคม 2550 ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายสิบคน ก่อตัวเป็นความอึมครึมต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสุขภาพจิตของสังคมโดยรวม

ประชาชนชาวกรุงอยู่ในอาการหวาดระแวง สถิติจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ระบุว่าตั้งวันเกิดเหตุกระทั่งถึงวันที่ 2 มกราคม มีประชาชนโทรเข้าไปแจ้งเบาะแสพบสิ่งผิดปกติและวัตถุต้องสงสัยรวม 54 ครั้ง ห้างสรรพสินค้าต่างสูญรายได้กันไปเป็นระนาว

แต่ในความตื่นตระหนกกลับมีเรื่องโอละพ่อแทรกเข้ามา


จะอะไรเสียอีก ก็ตัวอักษรเจ้าปัญหา IRK ที่มีผู้พบเห็นบริเวณที่มีการวางระเบิด แถมยังเป็นข้อสังเกตที่ออกจากปาก พล.ต.อ.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช รอง ผบ.ตร.และโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หลายคนจึงคิดกันไปว่าคงเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่บ้างก็ไปไกลถึงขนาดคิดว่าเป็นผู้ก่อการร้ายสากล

พอมีประชาชนโทร.ไปแจ้งว่าพบเครื่องหมาย IRK บริเวณตู้โทรศัพท์สาธารณะ หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ก็ทำเอาเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องขนกำลังไปตรวจสอบก็พบว่าไม่มีอะไรในกอไผ่ และเมื่อความจริงเปิดเผย เรื่องกลับกลายเป็นความเข้าใจผิด เมื่อ IRK เป็นแค่ลายเซ็นของวัยรุ่นผู้ชื่นชอบงานศิลปะแบบกราฟฟิตี้ และจริงๆ แล้วมันก็ไม่ใช่ IRK แต่เป็น IRIE ต่างหาก

IRIE อักษรเจ้าปัญหาซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปในพื้นที่กรุงเทพฯIRIE อักษรเจ้าปัญหาซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปในพื้นที่กรุงเทพฯ


เป็นอุทาหรณ์ว่า รัฐกับประชาชนวัยรุ่นของเรามีช่องว่างที่เหินห่างจนต่อกันไม่ติด


เมื่อไปค้นดูในอินเทอร์เน็ตจึงได้รู้ว่า IRIE เป็นภาษาจาเมกา อ่านออกเสียงว่า ´ไอรี่´ ในเว็บ wiktionary ให้ความหมายไว้ว่า ´เจ๋ง, ดี, ยอดเยี่ยม´ ส่วนในเว็บ irietime แปลคำนี้ว่า ´ทรงพลังและน่าพอใจ, ยอดเยี่ยม, สูงสุด, ภาวะความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่´ ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับขบวนการก่อการร้าย ถ้าจะเกี่ยวก็คงเป็นขบวนการก่อการรัก (ดนตรี) เสียมากกว่าเพราะคำว่า IRIE มักถูกใช้ในบริบทที่เกี่ยวพันกับดนตรี และวัฒนธรรมแบบจาเมกา

ฉะนั้น ไปดูกันดีกว่าว่าศิลปะกราฟฟิตี้มันเป็นยังไง เผื่อครั้งหน้าเจอตัวอักษรแบบนี้อีก เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะได้ไม่ตกใจ และพลอยทำให้เราๆ ท่านๆ ตกใจไปด้วย

ก็แค่ศิลปะกราฟฟิตี้ ทำไมต้องตกใจ


ตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ กราฟฟิตี้ (Graffiti)ภาษาในวงการเขาเรียกว่า Bombing (ระเบิด) ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจาก เมืองฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia) เพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงยุค 60-70S หลังจากนั้นก็ได้มีการแพร่หลายไปถึงกรุงนิวยอร์กและลอนดอนจนกลายเป็นที่นิยมของกลุ่มวัยรุ่นในที่สุด

ตู้โทรศัพท์เป็นจุดหนึ่งที่เหล่ากราฟฟิตี้นิยมพ่น Tagตู้โทรศัพท์เป็นจุดหนึ่งที่เหล่ากราฟฟิตี้นิยมพ่น Tag


ถนอม ชาภักดี อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์


มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกกราฟฟิตี้เป็นการเขียนภาพที่ทำขึ้นโดยกลุ่มผู้ต่อต้านสงครามแบ่งแยกดินแดน และพวกเหยียดสีผิว เพื่อต้องการประท้วงสงคราม และแสดงออกซึ่งความคิดเห็นในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

นอกจากนั้น กราฟฟิตี้ยังเป็นเหมือนการแสวงหาพื้นที่แสดงออกทางผลงานของกลุ่มศิลปินที่ไม่สามารถนำผลงานของตนเองออกแสดงตามแกลลอรีหรือหอศิลป์ได้ โดยผู้นำทางด้านการสร้างสรรค์ผลงานกราฟฟิตี้ ที่โด่งดั่งด้วยงานในลักษณะนี้ คือ Keit Haring และ Jean-Micheal Basquial ซึ่งเขาเป็นศิลปินที่ยากจนคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ที่ย่านสลัมในกรุงนิวยอร์ก


"ลักษณะเฉพาะของกราฟฟิตี้ที่เห็นโดยทั่วไปจะเป็นการใช้สีสเปรย์พ่น หรืออาจจะใช้ปากกาเมจิก วาดหรือเซ็นชื่อออกมาตัวอักษรเหลี่ยมๆ ซึ่งกราฟฟิตี้แต่ละกลุ่มจะมีสไตล์ที่โด่นเด่นและมีลักษณะเฉพาะเป็นของตัวเองที่ชัดเจน บางครั้งมักพบว่าการพ่นกราฟฟิตี้แต่ละครั้งนั้นจะมีการพ่นทับกันต่อกันไปเรื่อยๆ จากคนหลายๆ กลุ่มจนออกมาเป็นภาพที่สวยงาม" ถนอมกล่าวถึงรูปแบบของกราฟฟิตี้

Tag แบบสติ๊กเกอร์กำลังได้รับความนิยมในหมู่กราฟฟิตี้Tag แบบสติ๊กเกอร์กำลังได้รับความนิยมในหมู่กราฟฟิตี้



สำหรับกราฟฟิตี้ในเมืองไทย เริ่มต้นนิยมกันมาได้สักพักหนึ่ง ประมาณ 4-5 ปีก่อนหน้านี้ ที่เริ่มมีกระแสการทำกราฟฟิตี้กันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้นในหมู่วัยรุ่นพวกฮิปฮอป

โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครซึ่งจะพบเห็นได้มากตามอาคาร หรือกำแพงที่ถูกทิ้งร้าง รวมไปถึงพื้นที่สาธารณะหรือแม้แต่อาคารที่ยังมีผู้อยู่อาศัย ส่วนใหญ่กราฟฟิตี้ในประเทศไทยนั้นจะเป็นการแสดงออกทางด้านศิลปะ และการประกาศศักดาของกลุ่มบุคคล ยังไม่มีการเสียดสีหรือล้อเลียนเรื่องราวต่างๆ ในสังคมเหมือนในต่างประเทศมากนัก

รูปแบบของ Tag มีทั้งแบบตัวอักษรและตัวการ์ตูนรูปแบบของ Tag มีทั้งแบบตัวอักษรและตัวการ์ตูน


IRIE ปริศนาแห่ง Tag


นี้ก็มาถึงตัวอักษรเจ้าปัญหา IRIE ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจกลายเป็นกระต่าย (ตื่นตูม) ไปชั่วขณะ เพราะสุดท้ายแล้วมันก็เป็นแค่ Tag หรือลายเซ็นของหนุ่ม ´จอ´ วัย 27 ปีคนหนึ่งเท่านั้น

เอาล่ะ มันอาจจะดูเลอะเทอะบ้าง อาจดูเป็นการประกาศศักดาของมนุษย์ฮิปฮอปบ้าง หรืออาจอยู่ผิดที่ผิดทางไปหน่อย แต่นายจอเขาก็ยืนยันหนักแน่นว่าไม่เกี่ยวกับระเบิดแม้แต่น้อย

ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจลองสำรวจเทรนด์ของวัยรุ่นตอนนี้จะรู้ว่า


การพ่น Tag กำลังเป็นที่นิยมของเหล่าจิ๊กโก๋ยิ่งนัก คือ วัฒนธรรมแฟชั่นยุคใหม่ที่เท่สุดยอด คือการพ่นลายเซ็นหรือนามแฝงของคนหรือกลุ่มคนที่ทำกราฟฟิตี้ ซึ่งนอกจากจะปรากฏอยู่บนภาพกราฟฟิตี้ซึ่งเป็นผลงานของเขาแล้ว ที่นิยมมากในบ้านเราตอนนี้คือ การ Tag ไว้ตามที่สาธารณะเพื่อแสดงสัญลักษณ์ของตัวเอง หรือต้องการสร้างอาณาเขต และกำหนดพื้นที่ของแก๊งตน

รูปแบบของ Tag มีทั้งแบบตัวอักษรและตัวการ์ตูนรูปแบบของ Tag มีทั้งแบบตัวอักษรและตัวการ์ตูน


นุ้ย NEF หนุ่มวัย 22 ปี


เปิดเผยว่า ตนเองเป็นบุคคลหนึ่งซึ่งอยู่ในแวดวงกราฟฟิตี้มานานพอสมควร จากเมื่อหลายปีก่อนที่หลงใหลในตัวอักษร จึงหัดพ่นเพื่อความสนุกสนานกับกลุ่มเพื่อน หลังจากนั้นเขาได้ฝึกหัดจนมีความเชี่ยวชาญ จนสามารถตั้งกลุ่มเพื่อหารายได้จากงานกราฟฟิตี้ที่เขาถนัด โดยการเสนองานไปตามสตูดิโอ และเปิดโรงเรียนสอน ซึ่งการพ่นกราฟฟิตี้ของเขาบางครั้งสร้างรายได้เป็นตัวเลขถึง 7 หลัก

นุ้ยเล่าให้ฟัง "การพ่นกราฟฟิตี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่มีแนวความคิดแบบศิลปิน ซึ่งกลุ่มนี้จะมีการบรรจงสร้างสรรค์งานอย่างประณีต และกลุ่มที่รับวัฒนธรรมของต่างชาติมาเต็มๆ งานจะออกมาในรูปแบบที่แสดงออกถึงความเป็นแก๊งๆ แนวๆ ต้องการพ่นเพื่อให้คนอื่นจดจำ ไม่สนใจเนื้องานว่าจะออกมาลักษณะใด ต้องการให้คนอื่นจำชื่อได้ การประกาศศักดา ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรไปจากช่างกล"

จุดประสงค์หลักในการ Tag


ที่เราพบเห็นตามที่สาธารณะทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น บนกำแพง ป้ายรถเมล์ หรือตู้โทรศัพท์ ก็เพื่อเป็นการประกาศให้กราฟฟิตี้กลุ่มอื่นๆ รู้ว่าตัวเขาหรือพวกเขาได้ผ่านมาบริเวณนี้ หรือประกาศอาณาเขตว่าพื้นที่แถบนี้เป็นของกลุ่มเขา และที่เลือก Tag ตามย่านชุมชนที่คนผ่านไปผ่านมาจำนวนมาก ก็เพราะต้องการให้มีคนเห็นเยอะๆ ซึ่งนับเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่ง

นอกจากนั้น การได้ Tag ตามที่สาธารณะ โดยเฉพาะสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยงสูง เช่น ป้อมตำรวจ ป้ายจราจร หรือรั้วบ้านของข้าราชการระดับสูง ยังเป็นสิ่งท้าทายสำหรับเหล่ากราฟฟิตี้มือใหม่ ถือเป็นการแสดงความเก๋า เป็นการโชว์เพาเวอร์ในกลุ่มกราฟฟิตี้ด้วยกันเอง แต่หากมีกราฟฟิตี้กลุ่มอื่นมา Tag ในถิ่นของตน เจ้าของพื้นที่ก็จะยกพวกไป Tag ทับ ซึ่งเรียกกันในกลุ่มกราฟฟิตี้ว่าการ Bomb

การพ่น Tag มักเลือกจุดที่ผู้คนได้ง่าย เช่น ป้ายรถประจำทาง และป้ายบอกทางต่างๆการพ่น Tag มักเลือกจุดที่ผู้คนได้ง่าย เช่น ป้ายรถประจำทาง และป้ายบอกทางต่างๆ


กลุ่มกราฟฟิตี้ นิยมใช้การพ่นหรือเขียน Tag เพื่อหลบตำรวจ


เพราะกราฟฟิตี้ส่วนใหญ่จะเป็นการพ่น หรือเขียนภาพในพื้นที่สาธารณะโดยมีอุปกรณ์ที่ถือเป็นอาวุธของกลุ่มกราฟฟิตี้ คือสีสเปรย์ ปากกาเมจิก ที่ใช้สำหรับพ่นหรือเขียน นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการพัฒนาสร้างสรรค์การทำ Tag ขึ้นในรูปแบบของการนำสติกเกอร์เข้ามาใช้

ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำ Tag เนื่องจากการเขียน การพ่น หรือการแปะ Tag ส่วนใหญ่นิยมทำกันในที่สาธารณะซึ่งถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย จึงต้องใช้ความระมัดระวังและความรวดเร็วเพื่อไม่ให้ถูกจับได้

ตัวอักษรที่เป็น Tag ส่วนใหญ่จะเกิดจากการนำอักษรย่อของสมาชิกในกลุ่มมารวมกันตัวอักษรที่เป็น Tag ส่วนใหญ่จะเกิดจากการนำอักษรย่อของสมาชิกในกลุ่มมารวมกัน


อักษรย่อมาจากไหน


การ Tagใช้นามแฝง อักษรย่อ หรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ตัวการ์ตูนที่พวกเขาออกแบบขึ้นเอง และเนื่องจากเป็นกระแสทางวัฒนธรรมที่หลั่งไหลมาจากซีกโลกตะวันตก อักษรที่ใช้ส่วนใหญ่จึงเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบด้วยตัวอักษร 2-4 ตัว ขึ้นอยู่กับความพอใจหรือมติของกลุ่มซึ่งพวกเขามีศัพท์เฉพาะว่า Crew บางคนอาจเอาชื่อวงดนตรีที่ตัวเองชื่นชอบมาตั้งเป็น Tag บ้างก็เอาอักษรย่อจากนามแฝงของสมาชิกแต่ละคนใน Crew มารวมกัน เช่น MRK อาจมาจาก MAN, RON และ KEN

หนุ่มจอ เขาจึงใช้คำว่า IRIE แทนตัวเอง เพราะนอกจากเขาจะเป็นผู้นิยมกราฟฟิตี้แล้ว เขายังเป็นสาวก บ็อบ มาเลย์ (Bob Maley) ศาสดาขบถผู้เป็นตำนานแห่งเร็กเก้อีกด้วย

เจ้าของฉายา ´เด็กแถวนี้´


หนึ่งในกลุ่มกราฟฟิตี้ บอกว่า "เราไม่ใช้ชื่อจริงกันหรอก เพราะมันเป็นเรื่องล่อแหลมไง คือไป Tag ตามที่สาธารณะมันก็เสี่ยง อาจจะถูกจับได้ ชื่อที่ใช้เป็น Tag จะเป็นนามแฝงที่รู้จักกันในกลุ่มมากกว่า แต่มันก็มีทั้ง Tag ที่เป็นตัวอักษรและ Tag ที่เป็นรูปต่างๆ ซึ่งสื่อถึงตัวเรา เช่น คนที่ใส่แว่นก็อาจใช้ตัวการ์ตูนหัวโตใส่แว่น บางที คนที่อยู่กลุ่มเดียวกันถึงจะรู้ว่าเป็น Tag ของใคร แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่เขามาแนะนำตัวในเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต เราไปเจอ Tag แบบเดียวกันที่ไหนก็รู้ว่าเป็นของคนนี้

ผมว่าคนทั่วไปที่ไม่คุ้นเคยกับแนวอินดี้ก็อาจแยกแยะไม่ออกว่าอักษรที่เห็นในตู้โทรศัพท์เป็นฝีมือของกลุ่มกวนเมืองที่สร้างสถานการณ์หรือเป็นผลงานของกลุ่มกราฟฟิตี้กันแน่ ก็ขอแยกแยะให้เข้าใจง่ายๆว่า Tag จะมีรูปแบบที่สื่อถึงความเป็นศิลปะ เช่น ตวัดหางอย่างมีลูกเล่น มีรูปดาวแทรกอยู่ในตัวอักษร"

เนื่องจากกราฟฟิตี้เป็นวัฒนธรรมที่มาจากซีกโลกตะวันตก Tag จึงนิยมใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเนื่องจากกราฟฟิตี้เป็นวัฒนธรรมที่มาจากซีกโลกตะวันตก Tag จึงนิยมใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ


เด็กแถวนี้ยังอธิบายถึงการเลือกทำเลในการ Tag ว่า

"การ Tag ต้องเลือกจุดที่คนสังเกตเห็นได้ง่าย กลุ่มอื่นผ่านมาจะได้รู้ ถ้าไป Tag แอบๆ ไว้ตามต้นไม้ก็ไม่มีใครเห็นใช่ไหมพี่ ยิ่ง Tag ตามป้อมตำรวจจะถือว่าเจ๋งสุด พวกที่ Tag ส่วนใหญ่จะเป็นกราฟฟิตี้มือใหม่ที่ร้อนวิชา คือเห็นที่ไหนว่างๆ ก็อยากจะพ่น แล้วก็รู้สึกว่าการไป Tag ไว้ตรงนั้นตรงนี้มันเป็นความเท่อย่างหนึ่ง แต่ถ้าเป็นพวกรุ่นใหญ่หรือโตขึ้นมาหน่อยเขาจะไม่นิยม Tag กัน เพราะรู้สึกว่ามันเลอะเทอะ ไม่น่าดู" เด็กแถวนี้อธิบาย และเสริมต่อว่า

อย่างผมเองเมื่อก่อนก็ชอบ Tag จะ Tag กันในซอยแถวๆ บ้านนั่นแหละ แต่พอโตขึ้นความคิดมันก็เปลี่ยนไป เริ่มมองว่าการที่เราไปพ่นตามรั้วบ้านของคนอื่นมันทำให้เขาเดือดร้อนรำคาญ สู้มาทำงานสวย ๆ เป็นชิ้นเป็นอันในที่ที่เขาจัดให้ไม่ได้ คือการทำกราฟฟิตี้มันมีทั้งทำกันในที่ที่เขาอนุญาต และลักลอบทำโดยที่เจ้าของพื้นที่ไม่รู้ ผมว่าถ้าทำในที่ซึ่งเขาอนุญาต อย่างรั้วของร้านค้าที่เขาชอบงานพวกนี้เรามีเวลาสร้างงานได้เต็มที่ ไม่ต้องคอยหลบๆ ซ่อนๆ"

ถ้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติกำลังจะมีการปรับโครงสร้างเพื่อพัฒนาการทำงาน Tag ของชาวกราฟฟิตี้ก็มีวิวัฒนาการในแบบของตัวเอง นอกจากจะใช้บอมบ์อย่างเดียว เดี๋ยวนี้มันยังถูกนำมาใช้แลกเปลี่ยนแทนนามบัตรด้วย หรือระยะหลังๆ ก็เริ่มมีการวาด Tag ลงบนแผ่นกระดาษหรือสติกเกอร์แล้วนำไปไว้แปะตามจุดต่างๆ แทนการพ่นสี เพื่อให้การสามารถทำได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ต่อมาจึงเริ่มมีการทำแผ่น Tag ไว้แจกเพื่อเป็นการแนะนำตัวในหมู่กราฟฟิตี้ด้วยกัน

วิธีสังเกตว่าเป็น Tag คือลักษณะของตัวอักษรจะเขียนอย่างมีลูกเล่นวิธีสังเกตว่าเป็น Tag คือลักษณะของตัวอักษรจะเขียนอย่างมีลูกเล่น



NUT กราฟฟิตี้สาวจากรั้วมหาวิทยาลัย


บอกว่า สติกเกอร์ Tag นิยมมากในช่วงที่มีการประกวดแข่งกราฟฟิตี้ เพราะเป็นโอกาสที่กราฟฟิตี้จากที่ต่างๆ จะได้ทำความรู้จักกัน โดยจะแจก Tag กันแทนการแจกนามบัตร และหากเห็นสัญลักษณ์เหล่านี้ที่ไหนจะได้รู้ว่าเป็นคนที่ชอบศิลปะแขนงนี้เหมือนกัน

"ตำรวจไทย ไม่น่าตื่นตูมกับตัวอักษร Tag"

อยากรู้มั้ยว่าวัยรุ่นเขาคิดยังไงกับเรื่องนี้ นุ้ย NEF แสดงความคิดเห็นไว้เจ็บๆ คันๆ ว่า "เอาจริงๆ แล้วตำรวจไทย ไม่น่าตื่นตูมกับตัวอักษร Tag ที่พบ เพราะทำให้กลายเป็นเรื่องตลกของต่างประเทศ หรือกลุ่มวัยรุ่นที่รู้จักการเขียน Tag และยังถือเป็นเรื่องน่าอับอายมาก เนื่องจากแสดงให้เห็นว่าตำรวจไทยขาดความรู้ หรือตามกระแสวัฒนธรรมของวัยรุ่นไม่ทัน

"ในวงการกราฟฟิตี้มีทั้งคนที่พยายามทำให้การทำกราฟฟิตี้สูงขึ้นและต่ำลงไปในเวลาเดียวกัน พวกที่พยายามทำให้สูงขึ้นก็มักจะจัดนิทรรศการขยับงานประเภทนี้ขึ้นมาอยู่ตามแกลลอรี เพื่อทำให้ผู้ใหญ่ยอมรับ และก็ยังมีหลายคนที่คอยทำให้เรื่องนี้ต่ำลง เช่นกลุ่มที่เดินเขียน Tag ก่อกวนไปเรื่อยในที่สาธารณะซึ่งมีการเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ว่า All City ผู้ใหญ่ก็จะเหมารวมทั้งหมดว่าเป็นพวกที่ทำให้บ้านเมืองสกปรก"

เห็นหรือยังว่าสังคมเรามีกำแพงระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ที่แข็งแรง

และใหญ่โตขนาดไหน หากจะมองวิกฤตให้เป็นโอกาส จะดีกว่าไหมที่ผู้ใหญ่กับเด็กจะเรียนรู้ชีวิตของกันและกัน และเปิดพื้นที่ให้เด็กได้แสดงผลงานในแบบที่พวกเขาชื่นชอบ จะได้ไม่ต้องเกิดเรื่องหน้าแตกแบบนี้ขึ้นอีก

"มีเด็กรุ่นใหม่จำนวนมากที่กำลังให้ความสนใจในศิลปะประเภทนี้ แต่ถ้าเขารับรู้หรือเห็นพฤติกรรมการแสดงออกของการเขียน Tag ที่สกปรกไปทั่วทั้งเมือง เขาก็จะเอาแบบอย่าง เพราะรู้สึกว่านั้นเป็นสิ่งที่เจ๋ง และจากที่มันเยอะอยู่แล้วมันก็จะเพิ่มจำนวนเพิ่มมากขึ้นไปอีกเรื่อยๆ ทางที่ดีควรดำเนินการควบคุมดำเนินคดีอย่างจริงจังไปเลย

"ส่วนตัวผมคิดว่าการเขียนกราฟฟิตี้ตามท้องถนนก็เป็นสิ่งที่ดีเหมือนกัน แต่ต้องรู้จักสถานที่และต้องทำด้วยความสามารถและฝีมือ เนื่องจากทำออกมาแล้วดูสวยงามไม่เป็นมลพิษทางสายตาของใครๆ โดยส่วนใหญ่ผมจะสร้างงานโดยให้เวลากับมัน ไม่เร่งรีบ แล้วดำเนินการขอสถานที่ให้ทางเจ้าของกำแพงบ้านนั้นๆ อนุญาตเสียก่อน แล้วค่อยลงมือทำ ซึ่งผลตอบรับจากเจ้าของบ้านแต่ละหลังเขาก็ภูมิใจในผลงานของเรา"



หนึ่งในสไตล์การเขียน Tagหนึ่งในสไตล์การเขียน Tag



โปรดฟังอีกครั้งคุณตำรวจ IRIE ก็แค่งานกราฟฟิตี้ที่ไม่ใช่ ´ระเบิด


กราฟฟิตี้ แบ่งออกเป็น 5 ประภทใหญ่ๆ คือ

Tag เป็นการพ่นหรือเขียนในลักษณะที่เป็นลายเซ็นหรือนามแฝงที่มีรูปแบบเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล

Bubble รูปแบบหรือลักษณะที่มองผ่านๆ จะมีความคล้ายคลึงกับกราฟฟิตี้ประเภท Tag แต่จะมีมิติที่มากกว่าและจะใช้สีไม่เกิน 2 สี ในการสร้างสรรค์ผลงาน

Piece คือการพ่นหรือขีดเขียนโดยศิลปินหรือบุคคลเพียงคนเดียวในงานชิ้นนั้น

Character คือการพ่นหรือเขียนภาพเป็นรูปคน

Production คือการรวบรวมผลงานทั้ง 4 ประเภทเข้าไว้ด้วยกัน

มีแค่สีสเปรย์ก็สามารถทำ bombing ได้มีแค่สีสเปรย์ก็สามารถทำ bombing ได้



กราฟฟิตี้แบบต่างๆกราฟฟิตี้แบบต่างๆ


กราฟฟิตี้แบบต่างๆกราฟฟิตี้แบบต่างๆ


กราฟฟิตี้แบบต่างๆกราฟฟิตี้แบบต่างๆ


กราฟฟิตี้แบบต่างๆกราฟฟิตี้แบบต่างๆ



ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์