สั่งออกฏหมายแก้มลิง เช่าพื้นที่เกษตรกรไว้รองรับน้ำจากรุงเทพฯ

"ทำช่องระบายน้ำสู่แก้มลิง"


นายสามารถ โชคณาพิทักษ์ อธิบดี กรมชลประทาน เปิดเผยที่หลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวง เกษตร ว่า ขณะนี้มีปริมาณเท่ากับปีพ.ศ.2538 ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะแต่ละพื้นที่ที่ได้มีการสร้างผนังกั้นน้ำของตัวเองทำให้มีน้ำปริมาณมากกว่าปีพ.ศ.2538 ซึ่งมีปริมาณน้ำมากถึง 5,000 ลบ.ม./วินาทีและไม่เคยสูงอย่างนี้มาก่อน ทำให้บริเวณ จ.นครสวรรค์ จนถึงกรุงเทพฯมีน้ำท่วมสูงอีก ทั้งนี้วันที่ 23-25 ต.ค.นี้ จะมีน้ำทะเลหนุนสูงสุดอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้จังหวัดที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างแน่นอน

ขณะเดียวกันได้ผันน้ำเข้าไปในพื้นที่ส่วนพระองค์ และทุ่งเสนาบ้างแล้ว คาดว่าจะช่วยพื้นที่กรุงเทพฯได้บ้าง นอกจากนี้นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรฯได้สั่งการให้ไปวางแผนระยะยาวในการหาพื้นที่รองรับน้ำ เพราะปัจจุบันมีพนังกั้นน้ำตลอดแนว ทำให้น้ำไม่สามารถไหลสู่พื้นที่แกมลิงได้ โดย1.ให้จังหวัดที่สร้างผนังกั้นน้ำ ทำช่องระบายน้ำเข้าสู่พื้นที่แก้มลิงในจังหวัดของตนเองเพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลเข้าสู่กรุงเทพฯ 2.ให้นายบรรพต หงษ์ทอง

"พิจารณาออก กม.เช่าที่นาเป็นที่รองรับน้ำ"


ปลัดกระทรวงเกษตรฯพิจารณาออกกฏหมายเช่าที่นาเพื่อไว้เป็นพื้นที่รับน้ำฝนและน้ำหลาก โดยออกเป็นกฏหมายบังคับชาวบ้าน เพื่อให้เพาะปลูกเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนที่ฤดูฝนมาถึงเพื่อจะกันพื้นที่ดังกล่าวไว้รับน้ำหรือเรียกว่ากฏหมายแก้มลิง โดยใช้พื้นที่ 1 ล้านไร่ บริเวณทุ่งท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ทุ่งมหาราช ทุ่งบางบาน ทุ่งเจ้าเจ็ด และทุ่งเสนา จ.อยุธยา โดยรับจะจ่ายค่าชดเชยให้เป็นค่าเช่าพร้อมติดตั้งสถานีสูบน้ำและสร้างผนังกั้นน้ำ อ่างเก็บน้ำ ให้มากขึ้นเพื่อเป็นโครงข่ายป้องกันทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง

ด้านนายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า กระทรวงได้สั่งตั้งศูนย์บริการด้านการเกษตรทุกอำเภอเพื่อเปิดรับเรื่องราวร้องทุกข์จากเกษตรกรเพื่อหลังน้ำลดจะได้ช่วยเหลือได้ทันท่วงทีซึ่งขณะนี้มีพื้นที่การเกษตรเสียหาย2.8 ล้านไร่ เจ้าหน้าที่จะต้องเร่งรีบเข้าไปช่วยเหลือเพราะชาวนาเสียสละ

"สั่งกรมปศุสัตว์ช่วยเหลืออาหารสัตว์"


เป็นพื้นที่รับน้ำให้กับกรุงเทพฯ แต่ยังไม่ทราบความเสียหายโดยจะใช้แผนที่ 1/4,000 เปรียบเทียบความเสียหายและมีคณะกรรมการที่มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานไปสำรวจความเสียหายพร้อมทั้งสั่งให้กรมปศุสัตว์ นำอาหารสัตว์ไปแจกให้เกษตรกรในพื้นที่ประสบอุทกภัยแล้ว

นายยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมได้เตรียมหญ้าที่ใช้เป็นอาหารสัตว์จำนวน 6 พันตันไปแจกจ่ายให้กับพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยทั้งหมดที่กำลังขาดแคลน รวมทั้งยาที่ใช้รักษาโรคระบาด ส่วนการจ่ายค่าชดเชยกับสัตว์ที่ตายจากปัญหาน้ำท่วม โดยกรมจะชดเชยไก่ เป็ด ครอบครัวละไม่เกิน 1,000 ตัว หมู ไม่เกิน 10 ตัว แพะ แกะ ไม่เกิน 10 ตัวและวัว ควาย ไม่เกิน 2 ตัว


แหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์