เอดีบีชี้เศรษฐกิจโลก-การเมืองกดจีดีพีไทยหดตัวร้อยละ 3.2


ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) คาดเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะเติบโตร้อยละ 3 ส่วนปีนี้คาดการณ์เศรษฐกิจจะหดตัวร้อยละ 3.2 ซึ่งเป็นการหดตัวรุนแรงกว่าเดิมที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 2.0 ระบุเศรษฐกิจจะเป็นไปตามคาดการณ์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัญหาการเมืองว่าจะส่งผลต่อการเดินหน้าโครงการไทยเข้มแข็งได้ตามแผนหรือไม่นายฌอง ปิแอร์ เวอร์บีสท์ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนเอดีบี ประจำประเทศไทย แถลงว่า เอดีบีคาดการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยรอบใหม่  โดยคาดว่าจีดีพีปีนี้จะติดลบร้อยละ 3.2 จากเดิมคาดการณ์ไว้เดือน เม.ย.ติดลบร้อยละ 2.0 ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกที่กระทบต่อการส่งออกและปัญหาการเมืองในเมืองไทยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจมากกว่าคาดการณ์เดิม อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าในปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 3 ซึ่งจะเป็นลักษณะ V เชฟ เหมือนประเทศในเอเชีย แต่ประเทศไทยจะเติบโตค่อนข้างช้า ซึ่งการคาดการณ์อยู่บนสมมติฐานไม่มีการสะดุด หยุดชะงักของรัฐบาล ทำให้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจเดินหน้าตามแผน โดยเฉพาะโครงการไทยเข้มแข็งที่มีวงเงินลงทุนภาครัฐ 1.43  ล้านล้านบาท ในช่วงงบประมาณ 2553-2555  โดยจะเริ่มในเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งแผนดังกล่าวคิดเป็นมูลค่าร้อยละ 5 ของจีดีพีแต่ละปี  โดยรัฐบาลคาดการณ์ว่า โครงการทั้งหมดจะก่อให้เกิดการจ้างงาน  1.5  ล้านอัตรา  ช่วยกระตุ้นการบริโภค  การลงทุน  และก่อให้เกิดการฟื้นตัวในภาคอุตสาหกรรม เช่น เหล็ก ปูนซีเมนต์ และวัสดุก่อสร้างสำหรับการคาดการณ์เศรษฐกิจปีหน้าที่จะเติบโตร้อยละ 3 นั้น แผนไทยเข้มแข็งมีส่วนกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน  บริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะดีขึ้นจากการจ้างงานที่ดีขึ้นและราคาสินค้าเกษตรที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจโลกดีขึ้น  คาดว่าจะส่งผลทำให้การส่งออกของไทยดีขึ้น เช่น  ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าภาคการเกษตร จากการที่ส่งออกจะหดร้อยละ 18  ในปี 2552 ก็คาดว่าจะกลับมาขยายตัวร้อยละ 15  ในปี  2553  ขณะที่การนำเข้าจะขยายตัวเช่นกัน  โดยคาดว่าปี 2553 จะขยายตัวถึงร้อยละ 28  ขณะที่การบริการคาดการณ์ว่าการท่องเที่ยวจะปรับตัวดีขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโลกและการป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009  โดยปีนี้คาดว่าไตรมาส เศรษฐกิจไทยจะกลับมาเป็นบวก และทั้งปีอัตราเงินเฟ้อของไทยจะเฉลี่ยติดลบร้อยละ 0.5 ส่วนปีหน้าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2 ซึ่งมีสมมติฐานบนการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้ออาจต่ำกว่านี้หากรัฐบาลขยายมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพออกไปอีกในปีหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งสุดท้ายเมื่อเดือน เม.ย. 2552  ไปอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ซึ่งดอกเบี้ยที่ต่ำนี้ในเอเชียรวมถึงไทยต้องระมัดระวังการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งอาจจะสูงเกินไปจนอาจส่งผลกระทบจนเป็นการกลับมาของปัญหาฟองสบู่อีกครั้งเศรษฐกิจไทยจะเป็นไปตามแผนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการดำเนินการเรื่องของไทยเข้มแข็งว่าจะเดินหน้าไปตามแผนหรือไม่  หากการลงทุนไม่เป็นไปตามกำหนด  เนื่องจากเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยครั้ง  มีความตึงเครียดทางการเมือง หรือเกิดเหตุไม่สงบ ก็จะกระทบต่อความเชื่อมั่นทุกด้านและกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะต่ำกว่าคาดการณ์นายฌอง ปิแอร์ กล่าวนายฌอง ปิแอร์  เตือนว่า แม้การกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยจะทำให้อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มเป็นร้อยละ 58  ในปี  2555  จากร้อยละ 37.4  ในปี  2551 แต่ไม่น่าเป็นห่วง เพราะไทยยังมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ การกระจุกตัวของการใช้หนี้คืน  โดยเฉพาะการออกพันธบัตรเพื่อกู้ยืมเงิน ซึ่งหากมีระยะเวลาการคืนหนี้ใกล้เคียงกัน เช่น  5 หรือ 7 ปี ก็จะเกิดปัญหาต่อภาครัฐได้  ดังนั้น  เมื่อรัฐบาลจำเป็นต้องกู้ยืมเงินก็ควรจะมีการจัดสรรอันดับให้ดี ซึ่งน่าจะมีการประสมประสานทั้งการกู้เงินในประเทศและต่างประเทศ โดยในส่วนของธนาคารระหว่างประเทศก็พร้อมให้กู้แก่รัฐบาล ซึ่งขณะนี้มีการเจรจาในการกู้เพื่อนำไปใช้สำหรับโครงการที่จำเป็นต้องใช้สินค้าจากต่างประเทศ ไม่ว่าระบบสาธารณสุข หรือระบบรถไฟฟ้า โดยในส่วนของเอดีบีนั้นอยู่ระหว่างเจรจากับกระทรวงการคลังในการกู้ยืมเงิน เพื่อสนับสนุนงบประมาณในปี 2553  วงเงิน  500  ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ในขณะที่มีการเจรจาก่อนหน้านี้แล้วว่าจะมีการกู้ยืมเงิน  77.1  ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างเส้นทางของกรมทางหลวงที่จะมีการเชื่อมต่อระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนายฌอง ปิแอร์  กล่าวด้วยว่า เอดีบี ได้ปรับประมาณการคาดการณ์เศรษฐกิจในเอเชียที่กำลังพัฒนาจะขยายตัวร้อยละ 3.9  เพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์เดิมร้อยละ 3.4 ส่วนปีหน้าปรับประมาณการให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เป็นร้อยละ 6.4 เช่นกัน  โดยประเทศที่พึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลักจะมีการเติบโตของเศรษฐกิจที่ดี เช่น จีน คาดว่าจีดีพีจะขยายตัวร้อยละ 8.2 จากเดิมประมาณการไว้ร้อยละ 7.0  อินเดีย คาดว่าเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์เดิมร้อยละ 5.0 เป็นร้อยละ 6.0 ขณะที่ประเทศพึ่งพาการส่งออกและมีเศรษฐกิจขนาดเล็ก เช่น ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย จะได้รับผลกระทบหนัก ดังนั้น การปรับโครงสร้างที่ไม่ควรพึ่งพาการส่งออกมากเกินไปจึงเป็นสิ่งที่ประเทศในเอเชียควรดำเนินการ โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีการพึ่งพาการส่งออกร้อยละ 70 ก็ควรหันมาปรับระบบให้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีความโชคดีหลายด้านที่สามารถส่งออกสินค้าได้หลากหลาย และมีตลาดใหม่ในหลายประเทศ ประกอบกับมีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมโดยเฉพาะอยู่ระหว่างจีนและอินเดีย และมีประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกัน ดังนั้น ไทยจึงควรจะใช้ประโยชน์จากส่วนนี้ เพื่อนำมาพัฒนาเศรษฐกิจ 

เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์