′พร้อมพงศ์′ ฝากคำถามถึง กกต. 6 ข้อ หากเลื่อนเลือกตั้งจะเกิดประโยชน์อะไร

′พร้อมพงศ์′ ฝากคำถามถึง กกต. 6 ข้อ หากเลื่อนเลือกตั้งจะเกิดประโยชน์อะไร


ที่พรรคเพื่อไทย (พท.)  เมื่อเวลา 10.15 น. วันที่ 26 มกราคม  นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพท. กล่าวถึงการหารือระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในวันที่ 28 มกราคมนี้ ว่า การที่  กกต.เสนอให้มีการเลื่อนเลือกตั้งออกไป อยากถามกกต.ไป 6 ข้อ เพื่อป้องกันข้อขัดแย้ง รวมถึงป้องกันการถูกฟ้องในภายหลัง ว่า 

1.การเลื่อนวันเลือกตั้งทั่วไป จากวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ออกไป โดยกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปใหม่ กกต.จะใช้เวลาที่เลื่อนไปเพื่อดำเนินการอย่างไรบ้าง จุดประสงค์และเหตุผลความจำเป็นมีความชัดเจนหรือยังเพื่อให้การจัดการเลือก ตั้ง ให้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม และมีคำถามต่อไปว่าหากเลื่อนออกไปแล้วกกต.ยืนยันได้หรือไม่ว่าปัญหาที่มี อยู่ในปัจจุบันจะไม่เกิดขึ้น หรือยุติลงก่อนการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นใหม่ เพราะขณะนี้กลุ่มกปปส.ที่ชุมนุมอยู่ประกาศว่าจะคัดค้านการเลือกตั้งทุกรูป แบบ ดังนั้น การเลื่อนวันเลือกตั้งทั่วไปออกไปจากเดิมจะเกิดประโยชน์อย่างไรในการบริหาร จัดการการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม

2.พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมที่จะทำขึ้นใหม่ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะแก้มาตรา 4 ของ พ.ร.ฎ.ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 เพื่อเลื่อนเฉพาะวันเลือกตั้งทั่วไปใช่หรือไม่ หรือพ.ร.ฎ.ที่จะแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพื่อให้พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) สามารถลงเลือกตั้งได้  และหากแก้ให้พรรคปชป.ลงเลือกตั้งได้โดยไม่มีผู้คัดค้าน  พรรคปชป.จะลงเลือกตั้งหรือไม่ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ชัดเจนในเรื่องพ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ว่าจะ แก้กี่ประเด็นอะไรบ้าง


 3.การเลื่อนวันเลือกตั้งทั่วไปกกต.มีข้อยุติหรือยังในฐานะผู้บริหาร การเลือกตั้งว่าจะใช้เวลาเท่าที่จำเป็นเท่าไหร่ในการเลื่อนวันเลือกตั้งทั่ว ไปออกไป และระยะเวลาที่เลื่อนออกไปนั้นจะเป็นระยะเวลาที่มากกว่า 60 วันตามพ.ร.ฎ.ยุบสภาหรือไม่ และถ้าเกินกว่า 60 วัน ระยะเวลาที่เลื่อนไปจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 หรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูณ มาตรา 108 ห้ามมิให้มีการเลือกตั้งเกินกว่า 60 วัน ใครจะเป็นผู้ให้ความกระจ่างในเรื่องระยะเวลาที่จะเลื่อนออกไปว่าเลื่อนระยะ เวลาออกไปเท่าใด เพราะทั้งนายกรัฐมนตรีและประธานกกต.ในฐานะผู้รักษาการพ.ร.ก.จะต้องไม่กระทำ ผิดกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมิได้วินิจฉัยไว้ หรือจะต้องไปสอบถามศาลรัฐธรรมนูญอีกหรือไม่ว่าสามารถจะเลื่อนได้อีกกี่วัน และหากทั้งสองฝ่ายเห็นว่ามีความจำเป็นต้องเลื่อน แต่ยังเห็นต่างกันในเวลาที่เลื่อนอีก เช่น นายกรัฐมนตรีเห็นควรเลื่อนไม่เกิน 60 วัน และ กกต. เห็นว่าเลื่อนไปมากกว่า 60 วัน ผู้ใดจะเป็นผู้ชี้ขาด ปัญหานี้ยังไม่สิ้นกระแสความ


นายพร้อมพงศ์ กล่าวต่อว่า 4. การเลื่อนวันเลือกตั้งทั่วไปที่กกต.ไปร้องต่อศาล และศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า สามารถเลื่อนการเลือกตั้งได้นั้น แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้วินิจฉัยว่า เลื่อนได้กี่วันมากน้อยเท่าใด และหากพรรคการเมืองอื่นที่ลงสมัคร ไม่ยอมให้เลื่อนวันเลือกตั้งโดยอ้างว่าเสียค่าใช้จ่ายไปแล้ว ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหาย และความรับผิดชอบตามกฎหมายฐานไม่รักษาการให้เป็นไปตาม พ.ร.ฎ.ยุบสภา 2556


5. รัฐธรรมนูญกำหนดหน้าที่ ให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องไปลงคะแนนในวันที่ 2 กุมภพันธ์ ถ้าประชาชนไม่ยอมและไปฟ้องต่อศาลใครจะรับผิดชอบในการเลื่อนวันเลือกตั้ง เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นเพียงให้คำแนะนำว่าเลื่อนได้เท่านั้น แต่การใช้ดุลพินิจว่ามีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนหรือไม่เป็นหน้าที่กกต. เพราะประชาชนในภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ รวมทั้งภาคใต้บางส่วนยังประสงค์ให้มีการเลือกตั้งอยู่ ตรงนี้กกต.จะบริหารอย่างไรไม่ให้คนที่รักประชาธิปไตยเกิดความรู้สึกที่ไม่ เป็นธรรม ว่า กกต .ไม่ละเมิดสิทธิของประชาชน


 และ 6. ค่าใช้จ่ายที่กกต. เสียไป สำหรับการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เป็นจำนวนเท่าใด ใช้ไปแล้วจำนวนเท่าใด ในกรณีใดบ้าง และหากเลื่อนการเลือกตั้งไป จะให้รัฐบาลหางบประมาณมาให้อีกหรือไม่  สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีหนังสือเตือนมาแล้ว กกต.จะปฏิบัติอย่างไรไม่ให้เกิดความรับผิดในทางกฎหมายหากพรรคการเมืองและผู้ สมัคร มาฟ้องต่อศาลเรียกค่าเสียหาย ที่ต้องเสียไปในการหาเสียง  กกต.จะชี้แจงและรับผิดชอบหรือไม่อย่างไร ตนเชื่อว่าถ้าหาก กกต. ตอบคำถามเหล่านี้ได้ชัดเจน ก็จะเป็นการป้องกันความขัดแย้งในการเลื่อนการเลือกตั้งได้


เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์