ไขปริศนาสนธิ ลิ้มทองกุลเคยเป็น บุคคลล้มละลายต้องห้ามนั่งเก้าอี้หัวหน้าพรรคพันธมิตรฯหรือไม่

ถ้าเป็น"บุคคลล้มละลายโดยทุจริต" พ.ร.บ.ล้มละลายฯบัญญัติให้ขยายระยะเวลาเป็นบุคคลล้มละลายเป็น 10 ปี เมื่อนายสนธิ ถูกปลดพ้นจากบุคคลล้มลายเมื่อพ้นกำหนด 3 ปีนับแต่มีคำพิพากษา จึงมิใช่"บุคคลล้มละลายโดยทุจริต" ไม่เข้าเงื่อนไขการมีลักษณะต้องห้ามเป็นกรรมการบริหารพรรค

มีการตั้งคำถามว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.)ซึ่งเคยเป็น"บุคคลล้มละละลาย"จะเป็นหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.)ได้หรือไม่

ก่อนตอบคำถามดังกล่าว ต้องเปิดดู พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 กำหนด ลักษณะต้องห้ามของกรรมการบริหารพรรคการเมืองไว้ข้อหนึ่งว่า  "เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายโดยทุจริต"(มาตรา 11)

นายสนธิ ลิ้มทองกุล ถูกศาลล้มละลายกลาง พิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2543 (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 118 ตอนที่ 17 ง วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2544)
 
พ้นจากการเป็นบุคคลล้มลายตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2546 เนื่องจากครบกำหนด 3 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาให้ล้มละลาย จึงพ้นจากบุคคลล้มละลายตาม  พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 35(ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 120 ตอนที่ 111ง วันที่ 30 ธันวาคม 2546)

ดังนั้น นายสนธิ จึงผ่านเงื่อนไขแรกคือ ไม่ได้เป็นบุคคลล้มละลาย สามารถ เป็นกรรมการบริหารพรรคได้

แต่ยังมีเงื่อนไขที่สองคือ"เคยเป็นบุคคลล้มละลายโดยทุจริต"

ประเด็นนี้อต้องมาดูนิยมของคำว่า "บุคคลล้มละลายโดยทุจริต"ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯซึ่งให้ความหมายว่า บุคคลล้มละลายที่ถูกศาลพิพากษาว่า มีความผิดตามมาตรา 163 ถึง มาตรา 170  แห่ง พ.ร.บ.นี้หรือเป็นบุคคลล้มละลายอันเนื่องมากจากหรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานยักยอกหรือฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาหรือการกระทำความผิดอันมีลักษณะ เป็นการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน

การกระทำความผิดตามมาตรา 163-170 ตามนิยามดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ การยักย้าย ซุกซ่อน ทำลายทรัพย์สิน แจ้งเท็จหรือทำบัญชีเท็จ  รับสินเชื่อจากบุคคลอื่นด้วยอุบายหลอกลวง ฉ้อฉลหรือให้สินบนเจ้าหนี้เพื่อประนอมหนี้ฯลฯ

ตาม พ.ร.บ.ล้มลายละลายฯ"บุคคล(ธรรมดา)ล้มละลาย" จะพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายทันทีที่พ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย(มาตรา 81/1)

แต่ถ้าเป็น"บุคคลล้มละลายโดยทุจริต"  พ.ร.บ.ล้มละลายฯบัญญัติให้ขยายระยะเวลาเป็นบุคคลล้มละลายเป็น 10 ปี(มาตรา 81/1(2))

ดังนั้น เมื่อนายสนธิ ถูกปลดพ้นจากบุคคลล้มลายเมื่อพ้นกำหนด 3 ปีนับแต่มีคำพิพากษา(ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 120 ตอนที่ 111ง วันที่ 30 ธันวาคม 2546)

นายสนธิจึงมิใช่"บุคคลล้มละลายโดยทุจริต" ไม่เข้าเงื่อนไขการมีลักษณะต้องห้ามเป็นกรรมการบริหารพรรคตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550

นายสนธิ จึงเป็นหัวหน้าหรือกรรมการบริหารพรรคพันธมิตรฯได้

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์