โอ้!!!คตส. ฟันภาษี 546 ล. บรรณพจน์จ่อคิว ทักษิณ-คุณหญิงอ้อ อ่วม

>>>กรมสรรพากรให้เก็บภาษีและเงินเพิ่มจาก...พี่ชายคุณหญิงมาน??

คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ประเดิมดาบแรกเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 ส่งเรื่องถึงกรมสรรพากรให้เก็บภาษีและเงินเพิ่มจาก นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นเงิน 546 ล้านบาท จากกรณีได้รับหุ้นบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (ชินคอร์ป) มูลค่า 738 ล้านบาท จากคุณหญิงพจมาน โดยไม่ได้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


ซึ่งการซื้อขายครั้งนั้นต้องเสียค่าต้องเสียค่า.............

ปมอื้อฉาวดังกล่าวสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 นายบรรณพจน์ ประธานบริษัท ชินคอร์ป มีคำสั่งซื้อหุ้นบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด จำนวน 4.5 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 164 บาทผ่านโบรกเกอร์คือ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด โดยมี นางสาวดวงตา วงศ์ภักดี แม่บ้านของคุณหญิงพจมานเป็นผู้ขาย ซึ่งการซื้อขายครั้งนั้นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่โบรกเกอร์ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหุ้นที่ซื้อขาย ทำให้ต้องเสียค่าธรรมเนียมทั้งสองฝ่ายรวมร้อยละ 1 หรือเท่ากับ 7.38 ล้านบาท


ไม่ได้เป็นผู้ซื้อแต่คุณหญิง...เป็นคนแบ่งหุ้นให้ ...

นายบรรณพจน์ให้การไว้ในชั้นไต่สวนคดีซุกหุ้นของ ป.ป.ช. ว่า ไม่ได้เป็นผู้ซื้อหุ้น แต่คุณหญิงพจมานเป็นคนแบ่งหุ้นให้ สอดคล้องกับคำให้การของ นางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการคุณหญิงพจมานที่บอกว่า เป็นการซื้อขายผ่านระบบตลาดหลักทรัพย์โดยคุณหญิงพจมานเป็นผู้สั่งให้ดำเนินการขายหุ้นในชื่อของนางสาวดวงตาให้แก่นายบรรณพจน์ แต่คุณหญิงพจมานเป็นผู้จ่ายเงินค่าซื้อหุ้นแทนนายบรรณพจน์ทั้งหมด เมื่อโบรกเกอร์ได้รับเงินค่าหุ้นแล้วก็ออกเช็คสั่งจ่ายค่าหุ้นให้แก่นางสาวดวงตา เป็นเช็คขีดคร่อม A/C Payee Only แต่นำเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีคุณหญิงพจมานที่ธนาคารไทยพาณิชย์


เป็นพฤติกรรมอำพราง...


ครั้งนั้น ป.ป.ช. เห็นว่า ผู้รับโอนหุ้นต้องนำราคาหุ้นที่รับโอนมูลค่า 738 ล้านบาท มาคำนวณรวมเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี แต่การใช้วิธีการซื้อขายหุ้นผ่านระบบการของตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเสียค่าธรรมเนียมให้โบรกเกอร์ร้อยละ 1 ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้แทนการยกให้โดยเสน่หาอันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้ เป็นพฤติกรรมอำพราง


อนุกรรมการตรวจสอบเห็นว่า .......


เมื่อมาถึง คตส. อนุกรรมการตรวจสอบเห็นว่า การโอนหุ้นดังกล่าวเป็นเงินได้หรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ตามหลักการหลังจากนายบรรณพจน์ได้รับหุ้นในเดือนพฤศจิกายน 2540 แล้วก็จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในเดือนมีนาคม 2541 แต่จากการตรวจสอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.ง.ด.90) ของนายบรรณพจน์ ณ วันที่ 30 มีนาคม 2541 ไม่ปรากฏว่านายบรรณพจน์นำเงินค่าหุ้นมาเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี


>>>ถือว่าไม่มีเหตุผลตามขนบธรรมเนียมประเพณี


นายบรรณพจน์แต่งงานเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2539 มีบุตรเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2539 แต่การให้หุ้นเกิดขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งไม่ใช่การให้เนื่องในวันเกิดของลูก และไม่ใช่โอกาสครบรอบแต่งงาน และหุ้นที่ให้ก็มีมูลค่าสูงถึง 738 ล้านบาท ที่สำคัญมีคำพิพากษาของศาลฎีกาเกี่ยวกับการให้อุปการะอยู่ว่าเป็นเรื่องของพ่อแม่ที่จะให้แก่ลูก ดังนั้น จึงถือว่าไม่มีเหตุผลตามขนบธรรมเนียมประเพณี

เพราะฉะนั้น กรมสรรพากรจะต้องเรียกเก็บภาษีจากนายบรรณพจน์
คดีนี้ไม่ได้จบลงแค่การจ่ายภาษี นายบรรพจน์และคุณหญิงพจมานจะต้องถูกดำเนินคดีอาญาในข้อหาจงใจหลีกเลี่ยงภาษีอีกทางหนึ่งด้วย ถ้ามีความผิดจะต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท

ถือว่าสาหัสเอาการ...........


นอกจากนี้ ยังมีคดีที่คนตระกูลชินวัตรถูกกล่าวหาอีกอย่างน้อย 3 คดี ได้แก่ คดีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปของ นายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรสาว พ.ต.ท.ทักษิณ กับบริษัท เอมเพิลริช อินเวสต์เม้นท์ จำกัด ที่กรมสรรพากรหันกลับมาเรียกเก็บภาษีทั้งสองคนนับหมื่นล้านบาท และกรณี นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับโอนหุ้นชินคอร์ปจาก พ.ต.ท.ทักษิณ 2 ล้านหุ้น ในราคาต่ำกว่าราคาตลาด 140 บาทต่อหุ้น ซึ่งไม่เสียภาษี


ที่ส่อเข้าข่ายขัดต่อ พ.ร.บ.....


คดีซื้อขายที่ดิน 700 ล้านบาท ข้างศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ที่ส่อเข้าข่ายขัดต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 100 กรณีห้ามเจ้าหน้าที่รัฐเป็นคู่สัญญาต่อรัฐ มี นายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. เป็นประธานอนุกรรมการสอบสวน

และคดีการขายหวยบนดิน 3 ตัว และ 2 ตัว ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่ามติ ครม. เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 (เสมือนเป็นใบเบิกทางในการออกหวยบนดิน) ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 มี นายอุดม เฟื่องฟุ้ง กรรมการ คตส. เป็นประธานสอบสวน


สอบพยานถึง 50 ปาก .......


มีข้อมูลระบุว่า อนุกรรมการสอบพยานถึง 50 ปาก วางคิวกะแล้วเสร็จในราวกลางเดือนมกราคม 2550 พยานคนหนึ่งคือ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตเลขาธิการ ครม. ว่ากันว่าจะเอาให้ถึงตัว พ.ต.ท.ทักษิณเลยทีเดียว

ยังไม่นับรวมคดีที่อยู่ในมือ ป.ป.ช. ล่าสุด ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีการแปรรูป กฟผ. ซึ่งมี นายกล้านรงค์ จันทิก เป็นประธานอนุกรรมการ


>>> มีชื่อบริจาคเงินให้พรรคไทยรักไทยถึง 50 ล้านบาท

กล่าวสำหรับนายบรรณพจน์เป็นพี่บุญธรรมและเป็นกระเป๋าเงินของคุณหญิงพจมาน ในช่วงต้นปี 2549 มีชื่อบริจาคเงินให้พรรคไทยรักไทยถึง 50 ล้านบาท

ในทางธุรกิจเคยเป็นกรรมการหลายแห่ง เคยทำธุรกิจวิทยุ โทรทัศน์ ร่วมกับ นายสุวัฒน์ ดำรงชัยธรรม เครือญาติ นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม แห่งแกรมมี่ ในบริษัท โกลบอล มีเดีย เซอร์วิส

เป็นกรรมการร่วมกับ นายไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์ศานต์ นายสดาวุธ เตชะอุบล พลตำรวจตรีสุวรรณ สุวรรณเวโช (อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ) ในบริษัท เซฟตี้ ออเดอร์ ซิสเต็ม จำกัด แต่กิจการล้มละลายเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2540


>>>เป็นผลมาจากลมการเมืองเปลี่ยนทิศ ......


ปัจจุบันเป็นกรรมการ 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลพระรามเก้า บริษัท โอเอไอ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาวิทยาลัยชินวัตร) และ บริษัท ซี.บี.ดี. ที่ปรึกษากฎหมาย จำกัด ซึ่งเพิ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2549 ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท อยู่ในอาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ชั้น 34

หลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกโค่นอำนาจ 1 เดือนเศษ

การเช็คบิลคนในครอบครัวชินวัตรของ คตส. และ ป.ป.ช. ในครั้งนี้ เป็นผลมาจากลมการเมืองเปลี่ยนทิศ และวิบากกรรมเฉียบพลัน นั่นเอง


ที่มา:น.ส.พ.มติชน สุดสัปดาห์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์