แม้ว กลับลำ 180 องศา ยังไม่คิดฟ้องโลก แค่ขอคำปรึกษา ตราช้างเรียกพี่

"แม้ว" กลับลำ 180 องศา ยังไม่คิดฟ้องโลก แค่ขอคำปรึกษา ตราช้างเรียกพี่ บอกทั่วโลกยอมรับ "นอมินี" มิวายด่าศาลอ่านคำพิพากษาตามสคริปต์ "อภิสิทธิ์"


งัดมาตรา 157 บีบรัฐมนตรีเร่งสางคดีทักษิณ ชี้หากไม่ทำสุดท้ายก็มาลงที่ตนเองคนเดียว "อัยการ-ป.ป.ช." ฟิตปั๋งเดินหน้าสางโกง รอเพียงคำพิพากษาฉบับสมบูรณ์ "คลัง" ให้


เวลา 60 วันลุยหาความผิดด้านละเมิด "ห้อย" มาแปลก เผยเงินอายัดขาด 3 พันล้าน

"ทุกหน่วยงานต้องไปศึกษาคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อจะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (


ครม.) มีมติขอให้อัยการช่วยสรุปประเด็นต่างๆ มาอีกทางหนึ่ง ฉะนั้นตรงนี้เป็นเรื่องที่มีการปรารภในที่ประชุม ครม. ซึ่งหน่วยงานต่างๆ รับไปปฏิบัติ" คำกล่าวของนาย


อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันอังคาร ในการดำเนินคดีแพ่งและอาญากับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ต้องคำพิพากษาจำคุก 2 ปี และยึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านตกเป็น


ของแผ่นดิน

นายอภิสิทธิ์ยังบอกว่า ไม่ได้กำหนดกรอบเวลา เพราะแต่ละหน่วยงานมีความซับซ้อนของเรื่องต่างกัน แต่ได้ย้ำว่าเป็นเรื่องการรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน และคนมา


ดำรงตำแหน่งตรงนี้มีหน้าที่ปกป้องประโยชน์ตรงนี้ ไม่สามารถไปละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้ ต้องดำเนินการทั้งทางแพ่งและอาญา ตามข้อเท็จจริงที่เป็นข้อยุติตามคำวินิจฉัย


และข้อกฎหมาย

"คดีที่ตัดสินไปเป็นเพียงคดีเรื่องการยึดทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งการวินิจฉัยว่าตกเป็นของแผ่นดินเท่าไร ศาลก็ชี้ว่าทรัพย์สินนั้นได้มาโดยชอบหรือไม่ ซึ่งเป็นคนละ


เรื่องกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐ จะเห็นว่าวันนั้นศาลแจกแจงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐสูงกว่าการวินิจฉัยให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ฉะนั้นเป็นคนละประเด็นกัน


ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐ หน่วยงานของรัฐต้องเป็นผู้ติดตาม" นายอภิสิทธิ์ตอบเรื่องคำพิพากษาจะเป็นบรรทัดฐานในการฟ้องเรื่องอื่นๆ หรือไม่

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ได้เชื่อมโยงข้อมูล 2 ประเด็นให้ ครม.ทราบคือ 1.การขยายผลจากคำพิพากษายึดทรัพ

ย์ 4.6 หมื่นล้านบาท ว่าให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อ เพราะชัดเจนแล้วว่าหน่วยงานใดเกี่ยวข้องบ้าง และหากไม่ดำเนินการก็จะเข้าข่ายความผิดมาตรา 157 ฐาน


ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และ 2.เรื่องสถานการณ์ภายหลังคำพิพากษา โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้รายงานว่าได้เตรียมรับ


สถานการณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว แต่นายอภิสิทธิ์ก็ได้กำชับหน่วยงานต่างๆ ต้องดูแลสถานที่ของตัวเองด้วย เพื่อลดภาระเจ้าหน้าที่

นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเรื่องเดียวกันว่า รัฐบาลไม่ได้มีจุดประสงค์ดำเนินคดีกับใคร


หรือกลุ่มใดเป็นเฉพาะ และไม่ต้องการกดดันกลุ่มใด แต่เป็นการดำเนินการตามกฎหมายและปฏิบัติอย่างเท่าเทียม เพื่อไม่ให้ถูกฟ้องร้องหรือถูกกล่าวหาได้ว่าละเว้นการ


ปฏิบัติหน้าที่ โดย ครม.มีมติใน 2 ประเด็น คือ 1.ให้หน่วยงานไปพิจารณาว่ามีความเสียหายอย่างไร และให้ทำรายงานส่งมา 2.การร้องขอให้อัยการเสนอความเห็นต่อการ


ดำเนินการเชิงกฎหมายต่อไป และจะประสานหน่วยงานเพื่อดำเนินการต่อไป อาทิ กฎหมายภาษี กฎหมายหลักทรัพย์ ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินการและเป็นไปตาม


กฎเกณฑ์กติกา

แหล่งข่าวในที่ประชุม ครม.กล่าวว่า นายกฯ ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาคำพิพากษาอย่างละเอียด โดยให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (


ไอซีที) ไปดูเรื่องการดำเนินธุรกิจโทรคมนาคม และให้กระทรวงการคลังดูเรื่องมาตรการทางภาษี และขอให้อัยการเป็นตัวตั้งหลักในการพิจารณารายงานตามคำพิพากษาของ


ศาล

"ถ้าทำไม่ได้ ที่สุดแล้วก็ต้องมาลงที่ผมคนเดียว เดี๋ยวเขาจะหาว่าผมละเว้นต่อการปฏิบัติหน้าที่" แหล่งข่าวอ้างคำพูดนายอภิสิทธิ์ และว่า ขอให้รัฐมนตรีทุกกระทรวงชี้แจง


ให้ประชาชนรับทราบว่ารัฐบาลไม่ได้เป็นคู่กรณีกับใคร รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการตามคำตัดสินของศาลเท่านั้น

นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายงาน 3 ด้าน เพื่อดำเนินการตามคำพิพากษา


คือ 1.ให้กรมบัญชีกลางยึดทรัพย์ตามคำพิพากษา รวมถึงตรวจสอบฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งกับเจ้าหน้าที่ที่ทำให้รัฐเสียหาย 2.ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐ


วิสาหกิจ (สคร.) ไปศึกษาว่ามีรัฐวิสาหกิจไหนที่ได้รับความเสียหาย และเสนอเรื่องรายงานขึ้นมาให้รับทราบเพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป และ 3.เก็บภาษีของนายพาน


ทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาทต่อไป

ด้านนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า ในฐานะมีหน้าที่ตามกฎหมายความรับผิดทางละเมิด กรมจะศึกษาว่ามีหน่วยงานไหนที่ได้รับความเสียหาย ซึ่ง


เป็นหน้าที่ของหัวหน้าส่วนราชการนั้นต้องตรวจภายใน 60 วัน และส่งมาให้คณะกรรมการรับผิดทางแพ่งของกรมชี้ขาดและฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อไป

ด้านนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ได้แสดงความเห็นในเรื่องการยึดทรัพย์ ในฐานะเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ว่า เงินที่ต้องเก็บเข้าคลัง


ตามที่ศาลมีคำสั่ง ยังขาดอีก 3,000 ล้านบาท เพราะเงินในบัญชีที่ถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) อายัดไว้มีแค่ 43,000 ล้านบาท


ซึ่งไม่รู้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะมีเงินเหลืออีกเท่าใด เพราะไม่ได้ชื่อทักษิณ แต่ชื่อเนวิน และเมื่อนำเงินที่ศาลสั่งอายัดเข้าคลังได้แล้ว นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.การคลัง คงใช้


โอกาสในการอภิปรายร่างงบประมาณปี 2554 อ้างว่ารัฐบาลมีการเก็บรายได้เพิ่มขึ้น เพราะแม้เป็นเงินในคดี แต่การแจ้งบัญชีจะตีเป็นเงินรายได้ทั้งหมด

วันเดียวกัน ที่ห้องประชุมชั้น 11 สำนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) ได้ประชุมคณะทำงานพิจารณาสำนวนคดีที่ดำเนินการโดย คตส. และ


สำนวนคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการต่อจาก คตส. โดยใช้เวลากว่า 30 นาที

นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ และโฆษก อสส. กล่าวว่า ได้หารือคดีอาญา 5 เรื่อง ซึ่งอัยการและ คตส.ยื่นฟ้องไปแล้ว 2 คดีคือ คดีแปลงสัมปทาน


เป็นภาษีสรรพสามิต และคดีอนุมัติปล่อยสินเชื่อให้รัฐบาลพม่า ซึ่งทั้ง 2 คดีศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว เนื่องจากยังไม่ได้ตัว พ.ต.ท.ทักษิณมาดำเนินคดี ส่วนที่ยังไม่


ได้ยื่นฟ้องอีก 3 คดีนั้น คือการแก้สัญญาให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบเครือข่ายโรมมิ่ง การแก้ไขลดส่วนแบ่งระบบบัตรโทรศัพท์เติมเงินล่วงหน้า และการ


แก้ไขสัญญาส่งดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งคดีอยู่ในชั้นไต่สวนของ ป.ป.ช.

สำหรับคดีแพ่งนั้นอยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าหน่วยงานรัฐ หรือหน่วยงานใดได้รับความเสียหายบ้าง เพื่อมอบหมายให้ อสส.พิจารณาฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อไป ส่วนจะ


ดำเนินคดีอาญาบุคคลอื่นนอกเหนือ พ.ต.ท.ทักษิณด้วยหรือไม่ เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช.ที่จะรวบรวมพยานหลักฐาน และคำกล่าวหาสรุปสำนวนพร้อมความเห็นส่งมาให้อัยการ


ผู้พิจารณา

"ปกติอัยการก็ปฏิบัติหน้าที่ไปตามปกติอยู่แล้ว ไม่รู้สึกหนักใจอะไร ตอนนี้กำลังรอเจ้าหน้าที่ศาลฎีกาฯ ส่งสำนวนคำพิพากษาอย่างละเอียดมาให้ ซึ่งยืนยันว่าจะรีบให้ทันที


ที่จบกระบวนการของศาลแล้ว"

ขณะเดียวกัน ป.ป.ช.ก็ได้มีการประชุมคณะกรรมการเช่นกัน โดยนายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวภายหลังว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเบื้องต้นถึงการดำเนินการตาม


คำพิพากษา ซึ่งเห็นว่ามี 4 ประเด็น ที่ ป.ป.ช.ได้ตั้งอนุกรรมการไต่สวนก่อนหน้านี้อยู่แล้ว จึงให้แต่ละคณะอนุกรรมการแยกกันศึกษา และเมื่อได้ข้อสรุปก็นำมาหารือในที่


ประชุมใหญ่อีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน เนื่องจากสามารถนำคำพิพากษาฉบับสมบูรณ์จากศาลฎีกาฯ มาประกอบการพิจารณาตรวจสอบได้

นายโสภณ ยาเอก กรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นหนังสือถึง ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีไอซีที เพื่อขอให้เร่ง


ดำเนินการตรวจสอบสัมปทานมือถือในหลายกรณี

ส่วน บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น และ บมจ.ไทยคม ก็ได้มีการแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องเกี่ยวกับคำพิพากษาที่มีการพาดพิงในทำนองเดียวกันว่า บริษัทและ


บริษัทในเครือไม่ได้เป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีดังกล่าวต่อศาลฎีกาฯ ดังนั้นคำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ได้มีผลต่อบริษัทและบริษัทในเครือ และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทและ


บริษัทในเครือได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายและข้อกำหนดในสัญญาร่วมการงาน และยึดถือหลักสุจริตและธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด

ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) อดีต คตส.ก็ได้นัดหารือประจำเดือน โดยนายนาม ยิ้มแย้ม อดีตประธาน คตส. กล่าวว่า รู้สึกพอใจผลคำตัดสินคดี แม้ส่วนตัวเห็น

ว่าน่าจะยึดทั้งหมดตามทฤษฎีวัวกินหญ้าของนายแก้วสรร อติโพธิ อดีต คตส. ซึ่ง คตส.ไม่ได้รับส่วนแบ่งจากการยึดทรัพย์ครั้งนี้แม้แต่แดงเดียว และไม่มีผู้แจ้งเบาะแสด้วย

"คตส.ไม่ได้ร้องขอกำลังรักษาความปลอดภัยจากฝ่ายความมั่นคง หลังพิพากษาคดี เพราะไม่ต้องการให้ถูกมองว่าขี้ขลาด แต่ก็ต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น" นายนามกล่าว

นายสัก กอแสงเรือง อดีต คตส. กล่าวว่า คตส.เห็นตรงกันแล้วในเรื่องการยุติบทบาท และไม่ได้มีการหารือเรื่องการถูกข่มขู่หรือการรักษาความปลอดภัยแต่อย่างใด

ส่วนนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดงและ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในสัปดาห์นี้จะขบวนประชาชนหลายส่วนจะร่วมแสดงตนเพื่อถอดถอนองค์คณะ


ผู้พิพากษาคดียึดทรัพย์ โดยใช้จำนวน 2 หมื่นรายชื่อ ข้อหากระทำผิดรัฐธรรมนูญ เพราะศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยพระราชกำหนดภาษีสรรพสามิตมาแล้ว แต่ศาลฎีกากลับ


ไม่ฟัง แต่ไปฟังคำสั่งคณะรัฐประหาร ซึ่งตนเองก็จะลงชื่อด้วย

เหมือนกับนายพิชา วิจิตรศิลป์ ประธานชมรมกฎหมายภิวัฒน์ ที่ได้มายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. เพื่อให้ดำเนินคดีกับองค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คนในคดียึดทรัพย์ ใน


ข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ยุติธรรม

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร


กล่าวว่า การประชุม กมธ.วันที่ 10 มี.ค. จะเชิญปลัดกระทรวงการคลังและอธิบดีกรมสรรพากรมาสอบถามกรณีการเก็บภาษี 12,000 ล้านบาทกับนายพานทองแท้ และ น.ส.


พินทองทา และห้ามหลบเลี่ยงเด็ดขาด เพราะอาจเข้าข่ายมาตรา 157

นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการล่ารายชื่อถอดถอนองค์คณะผู้พิพากษาว่า กลุ่มคนเสื้อแดงควรเอาความรู้สึกของคนทั้ง


ประเทศที่แสดงผ่านผลสำรวจต่างๆ ว่าอยากให้ พ.ต.ท.ทักษิณยอมรับในกระบวนการยุติธรรม และไม่อยากให้มีการล่าชื่อจากประชาชนคนธรรมดา แต่ทางที่ดี ส.ส.พรรคเพื่อ


ไทยทุกคนควรร่วมลงชื่อถอดถอนตุลาการ จะได้พิสูจน์ว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ ถ้าเป็นการละเมิดก็จะได้เห็น ส.ส.หลายคนต้องติดคุกหมดสมาชิกภาพไป

ในการประชุมพรรคเพื่อไทย ได้มีการหารือถึงคำพิพากษายึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย เสนอให้มีการแต่งชุดดำเข้าประชุม


สภาในวันที่ 3 มีนาคม ซึ่งส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย

เวลา 20.30 น. พ.ต.ท.ทักษิณได้กล่าวผ่าน
www.thaksinlive.com ในรายการ Talk Around The World ช่วงหนึ่งว่า ยังมีควันหลงคดีที่ศาลคณะปฏิวัติได้ตัดสิน ยิ่งดูยิ่ง


เห็นใจ เหมือนมีคนมาเขียนคำพิพากษากลางแล้วให้ชุดนี้อ่าน เหมือนเขียนโดยคนกลุ่มเดียวกัน เพราะดูมันขัดแย้งกัน ไม่ได้ดูข้อเท็จจริงอะไร เลยออกมาเป็นว่าคืนให้ก่อน


เป็นนายกฯ และหลังเป็นนายกฯ ก็ยึดให้หมด ตามโผ เป็นเรื่องที่ไม่รู้จะพูดยังไง บ้านเมืองหลักนิติธรรม กฎหมาย ไม่เหลือแล้ว ฟังคำสั่งอย่างเดียว หลักก็เลยโน้มไปตามผู้


สั่ง ยังไงต้องสู้ต่อไป สติปัญญาตนบอกไปว่า ใครสั่งใครวุ่นวาย

"คดีนี้ศาลไม่ปกติ คดีอาญามีหลักว่าต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย แต่คดีนี้ยกความสงสัยให้จำเลย ตรงข้ามเลย และผู้ต้องหาก่อนลงโทษมีคุณความดีอะไรบ้าง


แต่เรื่องนี้มองไม่เห็นเลย อ่านคำพิพากษาเหมือนการเมือง เอาคำพูดฝ่ายค้านมาอ่านเลย นี่เป็นประวัติศาสตร์ระบบยุติธรรมไทย รวมทั้งกระบวนการแทรกแซงที่ไม่อยู่ในคณะ


มาแทรกแซง" พ.ต.ท.ทักษิณระบุ

เขายังบอกว่า ทั่วโลกเขายอมรับระบบนอมินี เช่น ซิมบับเว บ้านเรามีทหารแต่ไม่มีนักการเมือง ทหารคือผู้รับคำสั่ง แต่นักการทหารจะมียุทธศาสตร์ แต่เรามีนักยุทธวิธี


หรือทหารมาก เหมือนมีนักกฎหมายมาก แต่นักนิติศาสตร์น้อย ที่เราเข้าใจผิดกัน ในวันนี้ยังไม่ได้

หมายความว่าจะขึ้นศาลโลก แต่ต้องการไปปรึกษาความคิดเห็นต่อเวทีโลกเท่านั้น.

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยโพส


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์