แผนซ้อนแผน′ปราบยา′ รัฐบาล ติดเครื่อง สกัด′คำสั่ง′จากเรือนจำ

แผนซ้อนแผน′ปราบยา′ รัฐบาล ติดเครื่อง สกัด′คำสั่ง′จากเรือนจำ

ดูเหมือนว่า นโยบายปราบปรามยาเสพติด จะเดินหน้าเต็มสูบ หลัง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ประกาศเอาจริงเอาจัง

ด้วยการเดินสาย "กำชับ-จับกุม" อย่างต่อเนื่อง

หากแต่การทำงานของรัฐบาล เป็นการแก้ไขปัญหาที่ "ปลายเหตุ"

ด้วยมาตรการ "จับกุม"

แนวคิดในการดับปัญหาที่ "ต้นเหตุ" จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย

สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ การสร้างเครือข่ายยาเสพติดในเรือนจำ

จะสังเกตว่า การจับยาบ้า หรือยาเสพติดอื่นๆ ไม่ว่าจะล็อตใหญ่มูลค่าพันล้าน หรือล็อตเล็ก มูลค่าไม่กี่แสน กี่ล้าน

ล้วนมีขุมข่ายมาจาก "คนในเรือนจำ" ทั้งสิ้น

ดังนั้น สิ่งที่ ร.ต.อ.เฉลิมให้นโยบายมาถูก ทางแล้วก็คือ การสกัดการนำเข้าสารตั้งต้น และการลักลอบนำเข้ายาเสพติดจากประเทศเพื่อนบ้าน

ด้วยการตั้งด่านสกัดตามแนวชายแดนที่เกิดปัญหา

โดยเฉพาะชายแดนทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แต่สิ่งที่เป็นไอเดียสำคัญคือ การแยกผู้ต้องขังคดียาเสพติดออกจากคดีอาชญากรรมอื่นๆ ทั่วไป

หรือการเสนอให้นำนักโทษเหล่านี้ไปขังเอาไว้บนเกาะ

ตัดการสื่อสาร การใช้โทรศัพท์ด้วยการออกระเบียบพิเศษขึ้นมา เพื่อสกัดการแพร่ระบาด

พราะจากพฤติกรรม เป็นเหมือนการ "สร้างแชร์ลูกโซ่" เมื่อมีคนติดคุกได้รับอิสรภาพก็จะ ออกมาเป็น "คนส่งยา-รับยา" ไปกระจายหรือจำหน่ายตามแหล่งต่างๆ

พร้อมสร้างขุมข่ายในชุมชน แหล่งเสื่อมโทรม

ทำให้เครือข่ายค้ายาบ้าที่มีคนสั่งการจาก เรือนจำ ก็จะขยายสาขาไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ

นี่คือสิ่งที่รัฐบาลต้องทำ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะที่กำกับดูแลกรมราชทัณฑ์ เพราะในเรือนจำคือ ขบวนการกระจายยาเสพติดที่ใหญ่ที่สุด

ในอดีตเกาะตะรุเตา ผู้คนทั่วไปรู้จักในนาม ของ "คุกตะรุเตา" "เกาะมหานรก" หรือ "ดินแดนแห่งโจรสลัด"

เมื่อ 68 ปีที่แล้ว คือในปี 2479 รัฐบาลให้ กรมราชทัณฑ์สำรวจพื้นที่เพื่อจัดตั้งนิคมฝึกอาชีพ สำหรับกักกันและฝึกอาชีพให้นักโทษ

เกาะตะรุเตา ได้รับเลือกเพราะเป็นเกาะใหญ่อยู่กลางทะเลลึก มีคลื่นลมมรสุมรุนแรง มีจระเข้และฉลามชุกชุม เป็นปราการทางธรรมชาติที่สามารถป้องกันการหลบหนีของนักโทษได้อย่างดี

นักโทษคดีอุกฉกรรจ์ชุดแรก 500 คน ถูกส่งลงมายังทัณฑสถานเกาะตะรุเตา ในปี 2481 และส่งทยอยลงมาเรื่อยๆ

จนเพิ่มขึ้นสูงถึง 3,000 คน ในปีเดียวกัน

ในปี 2482 รัฐบาลก็ส่งนักโทษการเมืองมายังเกาะตะรุเตาอีก 70 คน มากักบริเวณไว้ที่อ่าวตะโละอุดัง ส่วนใหญ่เป็นนักโทษคดีกบฏบวรเดช และกบฏนายสิบ

ทัณฑสถานก็ได้แยกสถานที่กักกัน

กล่าวคือ นักโทษการเมืองจะนำมากักไว้ที่อ่าวตะโละอุดัง

ส่วนนักโทษอื่นคุมขังที่อ่าวตะโละวาว

วันหนึ่ง นักโทษการเมือง 5 คน คือ พระยา ศราภัยพิพัฒน์ พระยาสุรพันธ์เสนี ขุนอัคนีรถการ นายหลุย คีรีวัติ และ นายแฉล้ม เลี่ยมเพ็ชรรัตน์ ได้หลบหนีออกจากเกาะโดยติดสินบนผู้คุมและจ้างเรือชาวบ้านหลบหนีไปขึ้นฝั่งที่เกาะลังกาวี และขอลี้ภัยทางการเมืองอยู่ในมาเลเซีย

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นในปี 2484 สภาพความแร้นแค้นที่แพร่กระจายไปทั่ว ไม่เว้นแม้แต่นิคมตะรุเตา เกิดความอดอยากหิวโหยและโรคภัย

โดยเฉพาะไข้ป่าที่คร่าชีวิตนักโทษไปเป็นจำนวนกว่า 700 ศพ

กลายเป็นสุสานที่มีหัวกะโหลกและโครงกระดูกกองเรียงราย ยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้

เมื่อนิคมเกิดความเร้นแค้นไม่มีอาหารจะกิน ในที่สุดผู้คุมและนักโทษบางส่วนก็ผันตัวเองมาเป็นโจรสลัด ออกปล้นสะดมเรือสินค้าที่แล่นผ่านเพื่อยังชีพในระยะแรก

เริ่มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นมีการยึดเรือและฆ่าเจ้าทรัพย์อย่างทารุณโหดร้าย เป็นที่หวาดกลัวของนักเดินเรือ

ที่สุดทหารอังกฤษจากมาเลเซียจึงอาสารัฐบาลไทย นำทหารจำนวน 300 นาย ยกพลขึ้นบกที่เกาะตะรุเตา เมื่อ 15 มีนาคม 2489 เข้าปราบปรามโจรสลัดจนราบคาบ

ตํานานต่างๆ แห่งเกาะตะรุเตา ปิดฉากลงเมื่อกรมราชทัณฑ์ประกาศยกเลิกนิคม ฝึกอาชีพตะรุเตาในปี พ.ศ.2491

ไม่ใช่เรื่องยากที่รัฐบาลจะหาสถานที่ แบบเกาะตะรุเตา และมีมาตรการที่เด็ดขาดกับขบวนการค้ายาเสพติด

แต่ทุกอย่างจะต้องอยู่บนพื้นฐานมนุษยธรรม อย่าใช้อำนาจในการปราบปรามที่ผิดศีลธรรม

คดียาเสพติดเป็นคดีทางสังคมที่รุนแรง และขยายตัวเป็นวงกว้างมากขึ้น นอกจากการปราบปรามอย่างเอาจริง ทั้งต้นเหตุและปลาย เหตุแล้ว

การให้ความรู้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ก็เป็นหน้า ที่ของรัฐบาลที่จะต้องเร่งดำเนินการควบคู่ไป ด้วย

และดูเหมือนว่า จะเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศให้การตอบรับมากที่สุด

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์