เส้นทางของ ซัดดัม ฮุสเซน

ซัดดัม ฮุสเซน


ซัดดัม ฮุสเซน เกิดในครอบครัวชาวนาเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2480 ที่เมืองทิกริต (Tikrit) ทางตอนตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากแบกแดดเมืองหลวงประมาณ 100 ไมล์ เขานับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี พ่อตายจากไปตั้งแต่ยังเล็ก ส่วนแม่แต่งงานใหม่



ซัดดัมเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนอัล-คาร์คห์ แบกแดด แล้วไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยไคโร อียิปต์ สำเร็จวิชากฎหมายในปี 2505 ช่วงรับราชการทหาร ยังเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยอัล-มุสแตนเซรียาในกรุงแบกแดด จบวิชากกฎหมายเช่นกันในปี 2514

ในวัย 20 เข้าเป็นสมาชิกพรรคบาธ ซึ่งเป็นพรรคชาตินิยมอาหรับที่มีอิทธิพลอยู่ในรัฐอาหรับ ปีเดียวกันเขาแต่งงานกับญาติสาวชื่อ ซาจิดา ไคราลลา มีลูกชาย 2 ลูกสาว 3 คน



ซัดดัมรับราชการในกองทัพอิรักมาโดยตลอด และช่วงแห่งความรุ่งโรจน์ก็มาถึงเมื่อเข้าร่วมกับนายพลอับดุลการิม กัสเซม ปลงพระชนม์และโค่นล้มรัฐบาลกษัตริย์ จับกษัตริย์ไฟซาล มกุฎราชกุมาร (Faisal II) และนายกรัฐมนตรีนูรี เอล ซาอิด ประหารชีวิตหมดสิ้น นายพลอับดุลการิมสถาปนาอิรักเป็นสาธารณรัฐแล้วตั้งตนเป็นเผด็จการปกครองใน พ.ศ.2501



ซัดดัมศึกษาและมีอาชีพทางการเมืองพร้อมๆ ได้ตำแหน่งประธานผู้แทนรักษาการสภาบัญชานักปฏิวัติ พ.ศ.2511-2512, ผู้แทนประธานสภาปฏิวัติฯ พ.ศ.2512-2522, ประธานสภาฯ และเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของอิรักเมื่อ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2522 ทั้งยังเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และดำรงตำแหน่งประธานสภาปฏิวัติ


ซัดดัม ฮุสเซน


หลังครองอำนาจเบ็ดเสร็จ ซัดดัมก่อสงครามทันที เรียงตามลำดับดังนี้ พ.ศ. 2523-2531 สงครามระหว่างอิรัก-อิหร่าน พ.ศ.2533 บุกยึดคูเวต (สงครามอ่าวครั้งที่ 1) ทำให้ถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากสหประชาชาติ

ตลอดการครองอำนาจของฮุสเซน แม้จะมีกลุ่มการเมืองต่างๆ จ้องล้มล้าง เขาก็กลับมาได้ทุกครั้ง โดยเอาความเด็ดขาดมาฟาดฟันคู่แข่งทางการเมือง เพื่อบรรลุความทะเยอทะยานในการเป็นประมุขของประเทศ เขาจัดการศัตรูด้วยการการประหารชีวิต รวมถึงชนกลุ่มน้อยที่คิดจะต่อต้านด้วย


กระทั่งการปกครองในรูปแบบซัดดัมมีเสถียรภาพมั่นคงด้วยการมีตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้รับเลือกตั้งด้วยเสียงมากกว่า 2 ใน 3 ของ

สภาปฏิวัติ ส่วนระบบรัฐสภาของอิรักซึ่งเป็นระบบสภาเดียว (Unicameral) มีสมาชิก 250 คน จากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี 30 คน และจากการเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อ 220 คน มีวาระการ ดำรงตำแหน่ง 4 ปี

การเลือกตั้งครั้งหลังสุดมีขึ้นเมื่อ 27 มีนาคม 2543 อิรักมีพรรคการเมืองพรรคเดียวคือพรรคบาธ (Ba"th) ซึ่งจะเป็นผู้คัดเลือกรายชื่อผู้รับสมัครเลือกตั้ง โดยชาวอิรักทั้งชายและหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และไม่มีข้อบัญญัติของกฎหมายบังคับใช้ให้ประชาชนต้องไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง


ซัดดัม ฮุสเซน ถูกทหารสหรัฐจับกุมตัว


สถานการณ์ทางการเมืองภายในอิรัก ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซ็น กุมอำนาจไว้ได้อย่างเด็ดขาด ตราบจนกองทัพสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรเข้าบุกยึดในปฏิบัติการ 20 วัน อำนาจ ซัดดัม ฮุสเซน ถึงกาลอวสาน ท่ามกลางความสงสัยว่า "อดีตผู้นำ" ตอนนี้อยู่ที่ไหน?

ซัดดัม ฮุสเซน ประสบวิบากกรรมตอนแก่ ถูกทหารสหรัฐจับกุมตัวได้แล้วภายในหลุมที่หลบซ่อนตัว ชะตาชีวิตของเขาจะเป็นอย่างไรต้องติดตามกันต่อไป

ล่าสุดสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานวันที่ 30 ธ.ค.49 อ้างสถานีโทรทัศน์อัลอาราบิยา ของอาหรับว่า นายซัดดัม ฮุสเซน อดีตประธานาธิบดีอิรัก ถูกแขวนคอแล้ว

ขอขอบคุณ :


ข้อมูลที่มีประโยชน์
จากคุณชาติชาย
และภาพประกอบจาก
Web ต่างประเทศ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์