เสนอให้แก้กฎกระทรวงกลาโหมเพื่อแก้ปัญหาสิทธิทางเพศ


หลายฝ่ายร่วมเสนอให้แก้กฎกระทรวงกลาโหม เพื่อแก้ปัญหาสิทธิทางเพศ ที่เกิดผลกระทบต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งการใช้ถ้อยคำที่จากแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย หรือบันทึกของเจ้าหน้าที่ใน สด.43ในเวทีเสวนาระดมความคิดเห็นเรื่อง สิทธิทางเพศ และสุขภาวะทางเพศ ของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ในประเด็นพิจารณาจากร่างแก้ไขกฎกระทรวงกลาโหมกรณีผลบันทึกผลการตรวจเลือกทหารกองเกิน (เอกสาร สด.43) มีบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศและได้รับผลกระทบดังกล่าวร่วมเสนอความเห็นพร้อมทั้งนักวิชาการ นักจิตวิทยา เข้าร่วมน.ส.นัยนา สุภาพึ่ง ผู้อำนวยการมูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร องค์กรทำงานด้านความเสมอภาคทางเพศ กล่าวว่า ผลจากการระดมความเห็นวันนี้ จะนำเสนอไปยังกระทรงกลาโหม คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อจัดทำแนวทางแก้ไขกฎกระทรวงต่อไปผศ.นพ.พนม เกตุมาน หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การตรวจคัดเลือกทหารตามหลักกองทัพ แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย หากพบว่าผู้มาคัดเลือกไม่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ซึ่งขั้นตอนจะให้จิตแพทย์ช่วยตรวจประเมินผล เพื่อยืนยันไปยังหน่วยงานเกณฑ์ทหารก่อนลงความเห็นว่าบุคคลดังกล่าวไม่ผ่านมาตรฐานเกณฑ์ทหารด้วยสาเหตุใด บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศมีหลายกลุ่ม กลุ่มใหญ่สุดเป็นกลุ่มโฮโมเซ็กชวล เป็นผู้มีพฤติกรรมไม่ตรงตามเพศ มีทั้งแบบแสดงออกและไม่แสดงออก หรือที่รู้จักว่าเป็นเกย์ (เกย์คิงส์ ควีนส์) ทอม ดี้ จะพบในผู้ชาย 1 ใน 10 ส่วนผู้หญิงจะพบ 3 ใน 100 คน กลุ่มนี้จะไม่ต้องการผ่าตัดแปลงเพศ และไม่จัดเป็นโรคทางจิตเวช แต่เป็นภาวะทางเพศ กลุ่มที่ 2 Tranxual กลุ่มนี้ต้องการจะผ่าตัดแปลงเพศ แต่งตัวไม่ตรงกับเพศตั้งแต่เด็ก  พบในผู้ชาย 1 ใน 30,000 คน ผู้หญิง พบ 1 ใน 100,000 คน กลุ่มนี้จัดเป็นโรคทางจิตเวช มีความผิดปกติเอกลักษณ์ทางเพศ  ส่วนกลุ่มอื่น ๆ เช่นจะมีความรู้สึกทางเพศเมื่อแต่งกายเป็นเพศตรงข้ามเท่านั้นซึ่งมีน้อยมากนพ.สุขกมล วิภาวีพลกุล จิตแพทย์ กล่าวว่า ปัญหาที่พบบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศกับการเกณฑ์ทหารคือ การใช้ถ้อยคำ การแปลศัพท์การแพทย์เป็นภาษาไทยคือ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 47 พ.ศ.2518 ที่ขอเพิ่มเติมข้อ 12 ความผิดปกติอื่น ๆ ของคนจำพวกที่ 2 ว่า ความผิดปกติในการรับรู้หรือการยอมรับเพศทางร่างกายของตน (Gender Identity Disorder) เมื่อแปลเป็นไทยจะเป็นถ้อยคำรุนแรง จึงต้องการให้ปรับเป็นคำไม่ให้มีผลกระทบทางสังคมและจิตใจ เช่น ปรับเป็นชื่อลั่นทมเป็นลีลาวดี ตายเป็น จากไปอย่างสงบ รักร่วมเพศเป็น รักเพศเดียวกัน เป็นต้น เชื่อว่าหากแปลคำนี้ดี ๆ จะไม่เกิดผลกระทบทางสังคมนายธนวัฒน์ บัวทอง หรือหนึ่ง สาวประเภทสองจากพัทยา กล่าวว่า ตนไม่ได้รับเกณฑ์ทหารเพราะกระดูกแขนผิดรูป เป็นเหตุผลที่ยอมรับได้แต่ตอนเกณฑ์ทหาร เจ้าหน้าที่ขอดูหน้าอกที่ผ่านการผ่าตัดเสริม ซึ่งเจ้าหน้าที่มาดูจำนวนมาก ส่วนเพื่อนประเภทเดียวกันถูกบันทึกว่าเป็นกระเทย ซึ่งรับไม่ได้กับคำอธิบายในสด.43 เช่นนั้น เพราะจะติดไปกับตัวเองตลอดไป ทั้งการสมัครงาน การเดินทางไปต่างประเทศ เสนอให้ใช้คำว่า ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก เพราะไม่พร้อมทางร่างกายจะดีกว่า 

เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์