เว้นวรรคทักษิณ ไร้ความหมาย ถ้าไม่ปลดแอกสื่อของรัฐ

เงื่อนไขที่ต้องให้ ทักษิณ ชินวัตร ´เว้นวรรค´ ทางการเมือง

by สุทธิชัย หยุ่น



เงื่อนไขที่ต้องให้ ทักษิณ ชินวัตร ´เว้นวรรค´ ทางการเมือง เพื่อไม่ต้องเป็นนายกฯ รักษาการในช่วงการจัดให้มีการเลือกตั้งนั้น ไม่เพียงแต่เพื่อไม่ให้เขาและพรรคพวกเป็นผู้สามารถควบคุมกลไกของการหาเสียงและการนับคะแนนเท่านั้น
ที่สำคัญกว่านั้นคือ การที่ทักษิณและพวก จะต้องไม่สามารถควบคุมสื่อมวลชนของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์และวิทยุทั้งหลายทั้งปวงที่ได้กลายเป็น ´ตัวประกัน´ และ ´ทาสรับใช้´ ของระบอบทักษิณมาตลอดเวลา 5 ปีที่ผ่านมาอีกด้วย

การล้มล้าง ´ระบอบทักษิณ´ ไม่เพียงแต่หมายถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้กลไกของการตรวจสอบอำนาจรัฐ และสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังจะต้องทำให้ผู้นำประเทศและรัฐบาลไม่สามารถเข้าไปควบคุมทีวีและวิทยุของรัฐอย่างเป็นจริงในทางปฏิบัติอีกด้วย

ฉะนั้น การ ´เว้นวรรค´ สำหรับทักษิณยังไม่พอที่จะทำให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าสื่อของรัฐจะมีอิสระและเสรีในการทำหน้าที่ของตนเองอย่างรับผิดชอบต่อประชาชน แต่การ ´ปฏิรูปการเมืองรอบ 2´ ที่เป็นเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของการรณรงค์คราวนี้ จะต้องรวมถึงการวางมาตรการอย่างจริงจัง


ที่จะเอาสื่อทีวีและวิทยุออกจากการควบคุมของรัฐอย่างเด็ดขาดชัดเจน



นั่นย่อมหมายถึงการตั้งองค์กรอิสระที่สังคมทุกภาคส่วนจะมีบทบาทสำคัญยิ่งในการดูแลปกป้องและวางนโยบายการทำงานของสื่อทีวีและวิทยุอย่างมีประสิทธิภาพ, สามารถตรวจสอบและมีการรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ประจำปีต่อสาธารณชนอย่างมีระบบ

ตราบเท่าที่รัฐบาลยังสั่งการทีวีและวิทยุที่อยู่ใต้การกำกับดูแลของกรมประชาสัมพันธ์, อสมท, หน่วยราชการทั้งหลายทั้งปวงอย่างที่เป็นอยู่, การทำหน้าที่ของสื่ออย่างเป็นอิสระและตอบสนองความต้องการของประชาชน ก็มิอาจจะเกิดขึ้นได้

ระบอบทักษิณได้ใช้วิธีการควบคุม, คุกคาม, กดดัน และกำหนดทิศทางของสื่อของรัฐทุกวิถีทางตลอดเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม, ทั้งโดยวิถีทางการเมืองและการพาณิชย์, ทั้งด้วยอาศัยช่องว่างในระบบและอิทธิพลส่วนตัวเพื่อให้สื่อทั้งหลายต้องสยบอยู่ภายใต้อิทธิพลของอำนาจทางการเมืองอย่างน่ารังเกียจเสมอมา


ตอนหนึ่งของมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญ บอกอย่างจะแจ้งว่า



"คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และวิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ..."

แต่ทักษิณและพวกใช้ความถี่วิทยุและโทรทัศน์เสมือนเป็นทรัพยกรส่วนตนและครอบครัว, ไม่ได้ทำเพื่อ ´ประโยชน์สาธารณะ´

มาตรา 41 ระบุว่า

"พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์, วิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าว และแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ, รัฐวิสาหกิจหรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัดต่อจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพ

"ข้าราชการ, พนักงาน, หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจการวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนตามวรรคหนึ่ง"


แต่ที่ผ่านมา 5 ปี คนทำสื่อทุกสื่อของรัฐ ตกอยู่ภายใต้ความหวาดผวาของการข่มขู่และคุกคามของคนของทักษิณตลอดเวลา

แต่ที่ผ่านมา 5 ปี, ภายใต้ ´ระบอบทักษิณ´ นั้น คำว่า ´ไม่ตกอยู่ในอาณัติของหน่วยราชการ...´ ไร้ความหมาย เพราะคนทำสื่อทุกสื่อของรัฐ ตกอยู่ภายใต้ความหวาดผวาของการข่มขู่และคุกคามของคนของทักษิณตลอดเวลา


´เว้นวรรค´ เฉพาะกาลระหว่างการเลือกตั้งไม่พอ ต้องมีมาตรการทั้งระยะสั้น, กลางและยาว ที่จะต้อง ´ปลดแอก´ สื่อของรัฐให้รอดจากอิทธิพลมืด และมือสกปรกของอำนาจการเมืองอย่างชัดเจน


ดังนั้น เพียงแค่ทักษิณ ´เว้นวรรค´ เฉพาะกาลระหว่างการเลือกตั้งไม่พอ จะต้องมีมาตรการทั้งระยะสั้น, กลางและยาว ที่จะต้อง ´ปลดแอก´ สื่อของรัฐให้รอดจากอิทธิพลมืด และมือสกปรกของอำนาจการเมืองอย่างชัดเจน และมีผลทางปฏิบัติอีกด้วย


จะได้รู้ว่าที่ทักษิณประกาศกลางเวทีที่ท้องสนามหลวงเมื่อคืนวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา ว่า ´สื่อแทรกแซงผม´ นั้น เป็นเรื่องตอแหลและไร้จริยธรรมเพียงใด



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์