เปิดสำนวน ป.ป.ช. จะๆ ทำไม “เจ๊แดง” หลุดคดีร่ำรวยผิดปกติ

นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์


ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เว็บไซต์คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ


 ได้เผยแพร่คำวินิจฉัยป.ป.ช.เรื่องกล่าวหานางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  มีพฤติการณ์ร่ารวยผิดปกติ และจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ

 

ตามที่นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้กล่าวหาต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่า นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2544 – 2549) มีพฤติการณ์ร่ำรวย ผิดปกติ รวม 3 กรณี และมิได้แสดงรายการทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกตินี้ไว้ในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน จึงเป็นการจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ นั้น

 

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงตามที่มีการกล่าวหานี้แล้ว โดยมีศาสตราจารย์ เมธี ครองแก้ว กรรมการป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการ ปรากฏผลการไต่สวนข้อเท็จจริง ดังนี้

 

ข้อกล่าวหาที่ 1 มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ 3 กรณี

 

กรณีที่ 1 กล่าวหาว่าถือหุ้นในโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ และซื้อโครงการ จากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เนื่องจากในการเปิดตัวโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ (ชื่อบุตรสาวของผู้ถูกกล่าวหา) ของบริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2546 ผู้ถูกกล่าวหาและสามีเป็นผู้ให้การต้อนรับและส่งแขก รวมทั้งร่วมรับกระเช้าแสดงความยินดี แสดงตนว่าเป็นเจ้าของโดยเปิดเผย มิใช่เป็นลูกค้าคนหนึ่งตามกล่าวอ้าง และกล่าวหาว่ากลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ซื้อโครงการนี้ของบริษัท การ์เด้นท์ ซิตี้ ลากูน คลับ จำกัด จาก บสท. เมื่อปี 2546 อย่างมีเงื่อนงำในราคา 800 ล้านบาท และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด โดยมีผู้ถือหุ้นคือบริษัท ทีเอสบี โฮลดิ้งส์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 60 และบริษัท สินมหัต จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 40 จำนวน 18 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าหุ้น 180 ล้านบาท แต่บริษัท สินมหัต จำกัด มีทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท แล้วนำเงิน จากที่ใดมาซื้อหุ้นบริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด

               

จากการไต่สวนข้อเท็จจริงปรากฏว่า โครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ เดิมคือโครงกำรทรอปิคานา พาราไดส์ ไอส์แลนด์ มีบริษัท การ์เด้น ซิตี้ ลากูน คลับ จำกัด เป็นผู้ดำเนินกิจการจัดสรรบ้านและที่ดิน แต่ในปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และมีปัญหาขัดแย้งภายในบริษัท ทำให้บริษัทขาดสภาพคล่องทางการเงิน เป็นหนี้ NPL จนต้องหยุดกิจการ กลุ่มเจ้าหนี้ได้โอนขายหนี้สิน 546 ล้านบาท ให้กับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย และกองทุนรวม วี แคปปิตอล ไป

               

ต่อมาปี 2546 นายบุญฤทธิ์ สันติกุล ผู้ถือหุ้นเดิมและผู้ค้ำประกันหนี้เงินกู้ของบริษัท การ์เด้น ซิตี้ ลากูน คลับ จำกัด ต้องการทำโครงการทรอปิคานา พาราไดส์ ไอส์แลนด์ นี้ใหม่ จึงได้ชักชวน บริษัท ทีเอสบี โฮลดิ้งส์ จำกัด มำร่วมลงทุน และได้ติดต่อนายเฉลิมชัย จีนะวิจารณะ ให้มาทำหน้าที่ เจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ทั้ง 2 ราย

               

ในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับ บสท. ตกลงชำระหนี้ได้ที่ราคา 250 ล้านบาท ส่วนเจ้าหนี้อีกราย คือ กองทุนรวม วี แคปปิตอล ตกลงชำระหนี้ที่ราคา 438 ล้านบาทเศษ รวมชำระให้ เจ้าหนี้ทั้ง 2 ราย เป็นเงิน 688 ล้านบาทเศษ

               

หลังจากนั้น นายเฉลิมชัย จีนะวิจารณะ และทีมงาน ได้ไปติดต่อหาแหล่งเงินกู้ เพื่อนำมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ทั้งสองรายและใช้ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่อไป โดยได้ติดต่อขอกู้เงินจากธนาคาร นครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน 1,010,000, 000 บาท โดย 600,000,000 บาท เป็น Refinance นำไปชำระหนี้สินที่มีกับ บสท. และกองทุนรวม วี แคปปิตอล แต่การกู้เงินดังกล่าวนี้ ธนาคาร นครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ได้วางเงื่อนไขให้มีการเพิ่มทุนในบริษัท การ์เด้น ซิตี้ ลากูน คลับ จำกัด อีกจำนวน 150 ล้านบาท บริษัท ทีเอสบี โฮลดิ้งส์ จำกัด จึงเพิ่มทุนของตนเอง แล้วนำเงินไปซื้อหุ้น เพิ่มทุนของบริษัท การ์เด้น ซิตี้ ลำกูน คลับ จำกัด โดยในการเพิ่มทุนของตนเองได้กู้ยืมเงินมาจาก 3 แหล่งเงินกู้ ในจำนวนนี้ได้กู้เงินจากนางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ บุตรสาวของผู้ถูกกล่าวหา 75 ล้านบาท โดยบุตรสาวของผู้ถูกกล่าวหาได้ขายหุ้นและรับเงินปันผลจากบริษัท เอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จึงได้นำเงินดังกล่าวมาให้บริษัท ทีเอสบี โฮลดิ้งส์ จำกัด กู้ยืม โดยบริษัท ทีเอสบีฯ ได้จำนองที่ดินของบริษัทฯ เป็นหลักประกัน

 

และต่อมาได้ขายที่ดินหลักประกันเพื่อนำเงินมา ชำระหนี้  ให้นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ จากนั้นได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก “บริษัท การ์เด้น ซิตี้ ลากูนคลับ จำกัด” เป็น “บริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด” แต่เมื่อกลุ่มนายเฉลิมชัย จีนะวิจารณะ ทวงถาม ค่าจ้างในการปรับโครงสร้างหนี้ บริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ไม่มีเงินจ่ายค่าจ้าง นายเฉลิมชัย จีนะวิจารณะ จึงได้ขอเป็นหุ้นในบริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด โดยใช้ชื่อบริษัท สินมหัต จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 40 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่ได้มีการเพิ่มทุนแล้ว คิดเป็นหุ้นทั้งสิ้น 18 ล้านหุ้น 180 ล้านบาท และขอเข้าไปบริหารงานในโครงการนี้ร่วมกับกลุ่มบริษัท ทีเอสบี โฮลดิ้งส์ จำกัด โดยให้ภรรยาของตน เป็นผู้จัดการ และได้เปลี่ยนชื่อโครงการจาก “ทรอปิคานา พาราไดส์ ไอส์แลนด์” เป็น “หมู่บ้านชินณิชา วิลล์”

               

เมื่อตรวจสอบรายการฝาก – ถอน ในบัญชีเงินฝากของผู้ถูกกล่าวหา / บุคคล ในครอบครัว / บริษัท สินมหัต จำกัด และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไม่ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหามีความเกี่ยวข้อง โดยตรงทางการเงิน หรือมีการโอนเงินไปมา และไม่ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหำโอนเงินผ่านบุตร บริษัท สินมหัต จำกัด หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องไปเข้าบริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด หรือมีการโอนเงิน หรือทรัพย์สินอื่นใดจากบุคคลดังกล่าวกลับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา

               

ส่วนวันเปิดตัวโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรสเป็นผู้ให้การ ต้อนรับและส่งแขก โดยเฉพาะคุณหญิง พจมาน ชินวัตร เนื่องมาจากบุตรของผู้ถูกกล่าวหาได้มาซื้อ ที่ดินและปลูกสร้างบ้านอยู่ในโครงการ ประกอบกับเป็นเครือญาติกับคุณหญิง พจมาน ชินวัตร และ แขกที่มาส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองสังกัดพรรคไทยรักไทย การที่ผู้ถูกกล่าวหามาให้การต้อนรับเพราะมี ความสัมพันธ์เป็นส่วนตัว ไม่ใช่ในฐานะเจ้าของโครงการ ผู้ลงทุนในโครงการนี้ คือ บริษัท ทีเอสบี โฮลดิ้งส์ จำกัด

 

ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาเป็นเจ้าของโครงการชินณิชา วิลล์ ตามที่ กล่าวหาแต่อย่างใด

กรณีที่ 2 กล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาซื้อที่ดิน 8 ไร่ มูลค่ำ 256 ล้านบาท ในโครงการ หมู่บ้านชินณิชา วิลล์ โดยใช้ชื่อบุตรสาวและบุตรชาย

 

บุตรของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งขณะนั้นบรรลุนิติภาวะแล้ว ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโครงการ หมู่บ้านชินณิชา วิลล์ ของบริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ดังนี้

               

1. นายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ซื้อที่ดิน 4 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน ราคา 28 ล้านบาทเศษ โดยกู้เงินจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 35 ล้านบาท โดยเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาลาดหญ้า แล้วโอนเงินจากบัญชีนี้ไปชำระเงินกู้เดือนละ 397,500 บาท ส่วนเงิน ที่ฝากเข้ามาในบัญชีเงินฝากนี้ เป็นการโอนเงินมาจากบัญชีเงินฝากของนางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ หลังจากนั้น ได้ขายที่ดิน 1 แปลงไป ได้รับเงินมา 10,500,000 บาท ก็ได้นำไปชำระให้กับธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ด้วย

 

2. นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ถือกรรมสิทธิ์ 7 แปลง เนื้อที่ 5 ไร่เศษ ราคา 59 ล้ำนบาทเศษ โดยกู้เงินจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 100 ล้านบาท ได้มีการชำระเงินกู้โดยเปิด บัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาลาดหญ้า แล้วโอนเงินจากบัญชีนี้ไปผ่อนชำระ เดือนละ 1 ล้าน 1 แสนบาทเศษ ส่วนเงินที่ฝากเข้ามาในบัญชีเงินฝากนี้ เป็นการโอนเงินมาจากบัญชี เงินฝากธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ของตนเอง ซึ่งมีเงินที่ได้จากการขายหุ้นและได้รับเงิน ปันผลบริษัท เอ็ม ลิงค์ฯ อยู่ก่อนแล้ว โดยบริษัท เอ็ม ลิ้งค์ฯ มีผลกำไรจากการประกอบการมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2545 - 2550 และได้จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นทุกรายในอัตราที่เท่ากัน มีเพียงปี 2546 ปีเดียว ที่บริษัทฯ ประสบผลขาดทุนและงดจ่ายเงินปันผล

 

ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ และนางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ดำเนินการ ซื้อที่ดิน / กู้ยืมเงิน / และผ่อนชำระหนี้ด้วยตนเอง ไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้เข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

 

กรณีที่ 3 กล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาใช้ชื่อบุตรและบุคคลใกล้ชิดถือหุ้น 4 บริษัท ไว้แทน เป็นมูลค่าจำนวนมากกว่า 1 พันล้านบาท ระหว่างเดือนมีนาคม – สิงหาคม 2547

 

เมื่อปี 2544 ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรสได้โอนหุ้นบริษัท เอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้แก่นายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ และนางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ จากนั้นบุตรก็ได้ดำเนิน ธุรกิจด้วยตนเอง โดยมีการขายหุ้นและรับเงินปันผลจากบริษัท เอ็ม ลิ้งค์ฯ แล้วนำไปให้บริษัท ทีเอสบี โฮลดิ้งส์ จำกัด กู้ยืม และลงทุนซื้อหุ้นในบริษัทต่าง ๆ รวมถึง 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท วินโคสท์ อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด (มหำชน) บริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหำชน) รวมมูลค่าหุ้นทั้งสิ้น 706 ล้านบาทเศษ

 

เมื่อตรวจสอบบัญชีเงินฝากและรายการเคลื่อนไหวทางการเงินของผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรสแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีการจ่ายเงินหรือโอนเงินมาจากบัญชีเงินฝากของผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรส ยกเว้นกรณีซื้อหุ้น บริษัท วินโคสท์ฯ ผู้ถูกกล่าวหาโอนเงินให้นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ 7,500,000 บาท ซึ่งเป็น จำนวนเงินไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่บุตรต้องจ่ายออกไป ประกอบกับการได้มาของหุ้น การซื้อขายและเปลี่ยนมือ รวมถึงการลงทุนและกำรบริหารงานในบริษัท วินโคสท์ฯ ไม่ได้เป็นการ ดำเนินการโดยผู้ถูกกล่าวหา

 

และกรณีซื้อหุ้นบริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) ปรากฏว่านางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ได้รับเงินจากบริษัทที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรรมการผู้จัดการ และเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็ค ที่สั่งจ่าย รวม 21,600,000 บาท พิจารณาเห็นว่าเป็นการดำเนินการในนามของบริษัท ไม่ใช่ในนาม ของผู้ถูกกล่าวหารับฟังไม่ได้ว่าเงินที่จ่ายดังกล่าวเป็นเงินของผู้ถูกกล่าวหา อีกทั้งไม่ปรากฏ พยานหลักฐานว่าได้มีการโอนเงินค่าขายหุ้นหรือเงินปันผลใด ๆ กลับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ส่วนกรณีมีบุคคลต้องสงสัยว่าถือหุ้นแทนผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 8 คน นั้น จากการ ตรวจสอบบัญชีเงินฝากรายการฝาก – ถอน และการซื้อขายหุ้นของบุคคลดังกล่าว ไม่ปรากฏว่า ผู้ถูกกล่าวหามีความเกี่ยวข้องทางการเงินหรือมีการโอนเงินกันไปมากับบุคคลดังกล่าวจึงรับฟังข้อเท็จจริง ได้ว่าผู้ต้องสงสัยทั้ง 8 ราย มิได้ดำเนินการแทนผู้ถูกกล่าวหำ หรือเป็นผู้ถือหุ้นแทนผู้ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด

 

ข้อกล่าวหาที่ 2 กล่าวหาว่าจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ข้อเท็จจริงที่ได้จากการไต่สวนที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้งสามกรณี ไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้ให้บุคคลอื่นถือทรัพย์สินแทน เมื่อไม่ได้มีการแจ้งทรัพย์สินดังกล่าวไว้ในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน จึงไม่เป็นการจงใจแจ้งเท็จหรือปกปิดรายการทรัพย์สินแต่อย่างใด

 

คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ข้อกล่าวหาตกไป


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์