“เต้น” เห็นด้วย “จรัล” และอีก 2 ตุลาการถอนตัวองค์คณะ

“เต้น” เห็นด้วย “จรัล” และอีก 2 ตุลาการถอนตัวองค์คณะ

วันที่ 6 ก.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตร แกนนำคนเสื้อแดง

ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายจรัล ภักดีธนากุล ถอนตัวจากการเป็นองค์คณะพิจารณาคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ ว่า เห็นด้วยกับการตัดสินใจถอนตัวของนายจรัล รวมทั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 2 คนในวันเดียวกันนี้ (6 ก.ค.) เพราะทั้ง 3 คนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงไม่น่าจะมีความชอบธรรมที่จะมาเป็นผู้พิจารณาเรื่องนี้ แม้ว่าการตัดสินใจจะล่าช้าไปบ้างก็ตาม อย่างไรก็ตามกรณีนี้ไม่ใช่แค่ว่าใครเคยแสดงความเห็น หรือใครเคยเกี่ยวข้องกับกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ประเด็นสำคัญที่สุดที่ต้องยืนยันอีกครั้งคือศาลรัฐธรรมนูญกำลังดำเนินการในสิ่งที่ไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งตุลาการทั้ง 9 คนควรจะพิจารณาประเด็นนี้เป็นสำคัญ หากยังยืนยันที่จะหยิบคำร้องตามมาตรา 68 มาพิจารณาก็จะมีผลให้ยุบอัยการสูงสุด (อสส.)ไปทันที เพราะ ออส.จะไม่มีความหมายอะไรเลย

“เพราะต่อไปข้างหน้าถ้าคนไปยื่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในมาตรานี้ แล้วตุลาการบอกว่าไม่มีมูล แล้ว อสส.ชี้ว่ามีมูล จะทำกันอย่างไร เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งทั้ง 9 ท่านควรจะพิจารณา เวลานี้คนเขาพูดกันว่าถ้าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นลบ อาจจะเลยเถิดไปถึงขั้นยุบพรรคเพื่อไทย ผมยังไม่คิดขนาดนั้น แต่คิดว่าสิ่งที่ทำอยู่มันมีผลให้ยุบ ออส.ไปจากมาตรานี้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นผลร้ายแรงในทางกระบวนการยุติธรรม” นายณัฐวุฒิ กล่าว

และว่าอยากให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ที่ระบุว่านายจรัลแสดงความเห็นในฐานะนักกฎหมายก่อนที่จะมาเป็นตุลาการ ตั้งสติให้ดี อย่าแสดงอาการหิวโหยจนขาดสติปัญญาในการแสดงความเห็นต่อสังคม เพราะการแสดงความเห็นทางกฎหมายทั้งก่อนและหลังมาเป็นตุลาการจะเปลี่ยนแปลงไปไม่ได้ ไม่เช่นนั้นบ้านเมืองจะพึ่งพากระบวนการยุติธรรมได้อย่างไร ตนไม่มีเจตนาจะไปทะเลาะหรือราวีด้วย แต่อยากขอร้องให้กระบวนการที่จ้องล้มรัฐบาลสงสารประเทศไทย แล้วเลือกใช้วิธีอื่นดีกว่า ดาบนี้ขอให้เก็บเอาไว้ ถ้าจะล้มรัฐบาลกันจริง ๆ ขอให้หาดาบเล่มใหม่ที่พอจะมีเหตุผลมากกว่านี้ดีกว่า

 นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า หลังจากที่ฟังการพิจารณาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในวันแรก ก็ค่อนข้างใจ

เพราะสิ่งที่พยานผู้ร้องเบิกความไม่ได้แตกต่างจากจุดยืนทางการเมืองที่ผ่านมา เนื้อหาสาระทั้งหมดที่ไต่สวนไป ไม่ได้เป็นประเด็นข้อกฎหมาย แต่ใช้ประเด็นทางการเมืองมาอธิบายกันในศาล ซึ่งตนไม่อยากให้องค์กรตุลาการหรือหน่วยงานที่มีชื่อนำหน้าว่าศาลมาแสดงออกแบบนี้ ดังนั้นรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยต้องแสดงความมั่นคงที่จะเดินหน้าต่อไป เพราะนี่ไม่ใช่การพยายามรักษาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการรักษาความสมดุลและหลักการถูกต้องของอำนาจอธิปไตย ถ้าฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารหวั่นไหว และให้ฝ่ายตุลาการแทรกแซงโดยไม่มีอำนาจแบบนี้ได้ ประชาชนจะขาดที่พึ่ง ระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถเดินหน้าได้

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์