“อภิสิทธิ์” โพสต์เฟซบุ๊ก ติงคสช. ปิดปากคนเห็นต่าง ระวังความสงบไม่จีรัง !

“อภิสิทธิ์” โพสต์เฟซบุ๊ก ติงคสช. ปิดปากคนเห็นต่าง ระวังความสงบไม่จีรัง !

“อภิสิทธิ์” โพสต์เฟซบุ๊ก ติงคสช. ปิดปากคนเห็นต่าง ระวังความสงบไม่จีรัง !

 เมื่อวันที่ 21 ก.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “Abhisit Vejjajiva”

 เรื่อง “สู่ระยะที่ ๒ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) : รัฐธรรมนูญชั่วคราวและการนิรโทษกรรม” ว่า ในวันที่ 22 ก.ค.จะครบ 2 เดือนที่คสช. เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการตามโรดแม็พในระยะที่ 2 แม้การทำงานในระยะที่ 1 คสช.จะประสบความสำเร็จในการนำบ้านเมืองกลับเข้าสู่ความสงบ โดยสังคมให้โอกาสและพอใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะพอใจให้คสช.ใช้อำนาจเช่นนี้ตลอดไป เพราะต้องยอมรับว่าการรัฐประหารทำให้ระบอบประชาธิปไตยสะดุดหยุดลง รวมถึงการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ แม้ว่าจะทำด้วยเจตนาให้เกิดความสงบ ทำให้ คสช. ต้องพบกับแรงกดดันทั้งจากในและต่างประเทศ และยังมีบางกลุ่มที่สูญเสียอำนาจ เคลื่อนไหวต่อต้านอย่างเปิดเผย

 นายอภิสิทธิ์ ระบุผ่านเฟซบุ๊กอีกว่า สิ่งที่สังคมไทยคาดหวังต่อไป คือการปฏิรูปประเทศ ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว

 และนำไปสู่การคืนอำนาจให้แก่ประชาชน มีความคาดหมายว่า เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการมีรัฐบาลและสภานิติบัญญัติ รวมทั้งสภาปฏิรูป คสช.จะผ่อนคลายการจำกัดสิทธิเสรีภาพต่างๆ และเปิดให้ประชาชนแสดงความเห็นได้โดยสุจริต แต่หากคสช.ต้องใช้อำนาจพิเศษก็น่าจะเป็นไปเพื่อการรักษาความสงบ และชำระสะสางความไม่ถูกต้องทั้งหลาย ตั้งแต่ระดับเล็กๆ เช่น ปัญหาอิทธิพลรถตู้ วินมอเตอร์ไซค์ จนถึงการทุจริตระดับชาติ สำหรับประเด็นการบริหารโดยทั่วไปควรให้สิทธิ์ให้ทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับคสช. ได้เสนอมุมมองอย่างตรงไปตรงมา โดยตนก็ตั้งใจที่จะทำหน้าที่นี้ ซึ่งขณะนี้มีหลายประเด็นที่น่าห่วงใย โดยเฉพาะการดำเนินการของ คสช. ที่อาจจะไม่เป็นไปตามความคาดหวังของประชาชน โดยตนจะทยอยนำเสนอเป็นประเด็นๆ ต่อไป โดยเฉพาะประกาศและคำสั่งที่ออกมานั้นมีสถานะเป็นกฎหมาย หากไม่มีการแก้ไข หลายกรณีจะต้องไปใช้สภานิติบัญญัติ หรือรัฐสภาในอนาคตเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเป็นเรื่องยุ่งยาก

“ผมมองว่าปัญหาพื้นฐานประการหนึ่งคือ คสช. ให้น้ำหนักกับประเด็นความแตกแยก ดังที่ประกาศไว้ในวันยึดอำนาจ โดยมองข้ามมิติปัญหาอื่นๆ จึงตกอยู่ในกับดักว่าจะไม่อนุญาตให้มีการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างเลย และหวังว่าสภาพการณ์แบบนี้ จะสามารถนำไปสู่ความสามัคคีปรองดองในทุกระดับได้ โดยไม่ต้องสนใจประเด็นความถูกผิดของการกระทำต่างๆ ที่นำบ้านเมืองมาสู่วิกฤต ความสงบที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะมีความยั่งยืนหรือไม่ ต้องพิสูจน์กันในภาวะที่ไม่มีการจำกัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและเคลื่อนไหว แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป หากสังคมเห็นว่าการไม่ชำระสะสางปัญหาระบบนิติรัฐนิติธรรมให้เกิดขึ้น หรือการทำงานของคสช.ต้องอยู่เหนือการวิพากษ์วิจารณ์โดยสิ้นเชิง ก็จะเกิดการสะสมแรงกดดันและสุดท้ายไม่อาจนำไปสู่ความสงบหรือความปรองดองสมานฉันท์ได้” เฟซบุ๊กนายอภิสิทธิ์ ระบุ

หัวหน้าพรรคประชาธิปัต ย์ ระบุอีกว่า สำหรับรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่จะออกมานั้น

 ตนไม่ได้คาดหวังอะไรมากนักเกี่ยวกับโครงสร้างครม. สภานิติบัญญัติ หรือสภาปฏิรูป เพราะทางเลือกของคสช.คงมีไม่มากนัก แต่สิ่งที่จะต้องจับตามอง คือในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรือกฎหมายที่จะออกต่อไป คงหนีไม่พ้นที่จะมีบทบัญญัตินิรโทษกรรมให้ คสช. เอง ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติโดยทั่วไปเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนอกรัฐธรรมนูญ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แต่เป็นสภาพความเป็นจริงที่สังคมไทยยอมรับมาโดยตลอด แต่หวังว่า การนิรโทษกรรมนี้จะไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไปถึงการกระทำในความผิดอื่น ซึ่งจำเป็นต้องชำระสะสางในกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมายต่อไป เพราะหากมีบทบัญญัติในลักษณะดังกล่าว ความยุ่งยากวุ่นวายในประเทศคงจะเริ่มต้นขึ้นอย่างแน่นอน เพราะต้องไม่ลืมว่าวิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้นครั้งหลังนี้มีจุดเริ่มต้นมาจาก การที่ประชาชนเกือบทั้งหมดของประเทศต่อต้านแนวความคิดการล้างผิดกับการกระทำ เช่น การทุจริตคอร์รัปชั่น หรือการใช้ความรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์