หมักปราศรัยวันแรงงานยันปรับขึ้นค่าแรง

เมื่อเวลา 07.30 น. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม
 
กล่าวปราศรัยเนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติ ว่า จากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง  รัฐบาลพยายามออกมาตรการต่างๆเพื่อดูแลสภาพเศรษฐกิจให้สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และเกิดการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับมาตรการในการดูแลผู้ใช้แรงงานนั้น รัฐบาลได้กำหนดมาตรการสำคัญเพื่อดูแลค่าจ้างและค่าตอบแทนดังนี้

1.การปรับปรุงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2551 แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะปรับขึ้นอัตราเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม
 
2.ส่งเสริมสถานประกอบการให้ใช้แนวทางปรับอัตราค่าจ้างประจำปี 2551
ให้กับลูกจ้างที่ทำงานเกิน 1 ปีขึ้นไปตามมติครม.เมื่อวันที่ 18 มี.ค.2551
 
3.ส่งเสริมให้สถานประกอบการจัดทำโครงสร้างค่าจ้างในสถานประกอบการเพื่อให้ลูกจ้างได้รับการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้นตามผลงานที่แรงงานได้ทำเป็นประจำทุกปี
 
4.ส่งเสริมให้สถานประกอบการจ่ายอัตราค่าจ้างให้กับลูกจ้างในอัตราการจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานใน 30 สาขาอาชีพที่ได้ประกาศใช้แล้ว
 
นายสมัคร กล่าวอีกว่า สำหรับการช่วยเหลือแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ประกอบด้วย
 
1.การสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตกับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมจำนวน 9 ล้านคนในสถานประกอบการ 3.8 แสนกว่าแห่งให้ได้รับการดูแลจ่ายผลประโยชน์ทดแทนในเรื่องการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ การคลอดบุตร การเลี้ยงดูบุตร และค่าทำศพ  นอกจากนี้รัฐบาลยังได้พิจารณาปรับปรุงการให้บริการประกันสังคมให้เป็นประโยชน์มากขึ้น  โดยจัดตั้งคลีนิคโรคจากการทำงาน เพิ่มสิทธิประโยชน์ในเรื่องการคลอดบุตร การจ่ายค่ายา ผู้ป่วยโรคเอดส์ การจ่ายค่าทันตกรรม และการรักษาพยาบาลโรคสมอง การใช้เคมีบำบัดและรังสีรักษา และการเพิ่มสิทธิประโยชน์จากกรณีการชราภาพ นอกจากนี้ยังได้ขยายฐานประกันสังคมไปสู่แรงงานนอกระบบในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความพร้อม เช่น คนขับแท็กซี่

2. การส่งเสริมการมีงานทำ และคุ้มครองคนหางาน ได้มีการดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลตลาดแรงงานและจัดหางานให้มีประสิทธิภาพ เตลอดจนขยายตลาดแรงงานไทยสู่กลุ่มประเทศในแถบสหภาพยุโรป ในสาขาอาชีพด้านสุขภาพ การศึกษา และภาคบริการ

3.การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานได้ดำเนินการ พัฒนาแรงงานโดยร่วมมือกับภาคเอกชนยกระดับคุณภาพฝีมือแรงงาน ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น  นอกจากนั้นยังได้ดำเนินการฝึกอาชีพให้กับกลุ่มบุคคลพิเศษ ผู้ประสบสาธารณภัย คนพิการ ผู้ว่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้าง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเพิ่มโอกาสการมีงานทำมีรายได้มากขึ้น

4. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานได้ดูแลแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่
ดีขึ้น
โดยส่งเสริมให้มีการจัดสวัสดิการมากขึ้น มีความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มขึ้น

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์