สาระสำคัญรธน.ฉบับชั่วคราว

เมื่อวันที่ 1 ต.ค.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) จนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่จะได้จัดทำร่างขึ้น และนำขึ้นทูลเกล้าฯ

สำหรับสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 ที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คปค.) นำขึ้นทูลเกล้าฯ และโปรดเกล้าฯประกาศใช้แล้วนั้น มีทั้งหมด 39 มาตรา กำหนดให้มีคณะบุคคลหรือสถาบันอันเป็นโครงสร้างทางการเมืองที่จัดความสัมพันธ์ทางการเมืองไว้ดังนี้

1.ให้มีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ


ที่แปรสภาพมาจากคณะปฏิรูปฯ มีอำนาจปลดนายกฯได้

2.ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่เกิน 250 คน ทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา แต่งตั้งมาจากภาคส่วนต่างๆไม่เว้นแม้ข้าราชการ

3.ให้มีนายกฯ 1 คน และคณะรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน

4.ให้มีสมัชชาแห่งชาติไม่เกิน 2,000 คน

5.ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ 100 คน มีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ
โดยประธานคณะมนตรีความมั่นคงคัดเลือกมาจาก 200 คน ที่สมัชชาแห่งชาติเป็นผู้เลือก
การร่างต้องจัดทำให้เสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ

6.คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน แบ่งเป็น 25 คน ให้มาจากการเลือกของสภาร่างรัฐธรรมนูญ และอีก 10 คน มาจากการเสนอของประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ห้ามลงสมัครส.ส. หรือส.ว. ภายใน 2 ปี

ทั้งนี้ในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น


เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จและผ่านความเห็นชอบจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้ต้องนำไปออกเสียงประชามติและเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนให้ความเห็นชอบ ถ้าไม่เห็นชอบให้สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง

และให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี พิจารณารัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งที่เคยประกาศมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบ และนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป

แหล่งที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์