สรุปคำแถลงฮอร์ นัมฮง-3ทนายกัมพูชา เหตุยื่นศาลโลกตึความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ปี2505

ภาพจาก มติิชนภาพจาก มติิชน


เมื่อวันที่ 15เมษายน เวลา 15.00น.(ตามเวลาในประเทศไทย)สถานีโทรทัศน์ ช่อง 11กรมประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดสด การพิจารณาคดีปราสาทพระวิหาร จากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลน โดยนายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา แถลงด้วยวาจาระบุถึงสาเหตุกัมพูชาต้องยื่นให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือโลกตีความ คำพิพากษาเมื่อวันที่ 15มิถุุนายน 2505 


เนื่องจากกัมพูชาต้องการความชัดเจนในเรื่องของเขตแดน อธิปไตยและบูรณภาพ อีกทั้งเป็นที่ทราบกันดีว่า ศาลโลกตัดสินไปแล้วว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนของกัมพูชา

 

รองนายกฯกัมพูชา ระบุรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส่งกำลังทหารรุกรานประเทศกัมพูชา ในพื้นที่รอบๆปราสาทพระวิหาร ซึ่งกัมพูชาพยายามขอขื้นทะเบียนเป็นมรดกโลกขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก)

 

นายฮอร์ นัมฮง ยังอ้างถึงหลักฐานต่างๆที่แสดงให้เห็นว่า ระหว่างปี 2551,2552,2554 ฝ่ายไทยใช้กำลังอาวุธ บุกรุกดินแดนของกัมพูชา ทำให้ปราสาทพระวิหารได้รับความเสียหาย มีผู้เสียชีวิตและผู้อพยพพลัดถิ่นเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันศาลโลกมีคำสั่งมาตรการชั่วคราว เมื่อวันที่ 18กรกฎาคม 2554 ฝ่ายไทยและกัมพูชาถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่พิพาทหรือเขตปลอดทหาร

 

นายฮอร์ นัมฮงแถลงย้ำต่อศาลโลกว่า กัมพูชาต้องการให้ตีความคำพิพากษาปี 2505 เรื่องเขตแดนที่ชัดเจน แต่ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับการปักปันเขตแดน

 

ทางด้านสำนักข่าวเอเอฟพีอ้างคำแถลงของนายฮอร์ นัมฮง ระบุว่า ปราสาทพระวิหารเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติสุขที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา หากปราศจากการตีความคำพิพากษา 2505แล้ว อาจเกิดผลที่ไม่คาดหมายดังนั้นจึงควรป้องกันเพื่อให้สองประเทศอยู่ร่วมอย่างมิตร เกิดสันติสุขและความร่วมมือต่อกัน

 

เวลา 15.30น.นายฌอง มาร์ค ซอเรล ทนายความฝ่ายกัมพูชาชาวฝรั่งเศส แถลงต่อศาลโลกโดยหยิบยกหลักฐานคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ระบุศาลพิพากษาตามแผนที่ภาคผนวก1หรือแผนที่มาตราส่วน 1:200,000ระวางดงรัก ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหารและบริเวณใกล้เคียงปราสาท (Vicinity of the Temple) และไทยจะต้องถอนกำลังทหารออกจากเขตแดนรอบปราสาทพระวิหาร


นายซอเรลระบุว่า เส้นเขตแดนระหว่างไทยกัมพูชาจะต้องยึดตามแผนที่แนบท้าย ไม่ใช่ตีความเลื่อนลอยอย่างที่ไทยกล่าวอ้าง


เวลา 16.00น. เซอร์แฟรงคลิน เบอร์แมน ทนายความฝ่ายกัมพูชาคนที่สอง เป็นชาวอังกฤษแถลงต่อศาลโลกระบุไทยไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก เมื่อปี 2554ที่ให้ถอนทหารออกจากเขตพิพาทรอบปราสาทพระวิหาร ไทยถอนกำลังทหารออกไปเมื่อศาลโลกมีคำสั่งมาตรการชั่วคราว วันที่ 18กรกฎาคม 2554 แต่ส่งกำลังทหารกลับเข้าไปในพื้นที่พิพาทกับกัมพูชาอีกครั้งจึงอยากให้ศาลโลกตีความให้เป็นคำสั่งถาวรมิใช่เป็นเพียงคำสั่งชั่วคราวเท่านั้น

 

เวลา 17.00น. เซอร์แฟรงคลิน เบอร์แมน ทนายความฝ่ายกัมพูชาคนที่สอง ชาวอังกฤษแถลงด้วยวาจาในคดีปราสาทพระวิหารต่อศาลโลกเพิ่มเติม โดยหยิบยกหลักฐานของฝ่ายไทยที่เป็นมติคณะรัฐมนตรี(มติครม.) เมื่อวันที่ 10กรกฎาคม 2505 เป็นหลักฐานหลังศาลโลกมีคำพิพากษาแล้ว

 

นายเบอร์แมนอ้างถึงมติครม.ดังกล่าวว่า ฝ่ายไทยกำหนดเส้นแบ่งเขตไทยกัมพูชาเอาเองและล้อมรั้วลวดหนาม อีกทั้งยังมีคำสั่งห้ามรุกล้ำเขตแดนถ้าใครละเมิดจะถูกยิง

 

"มติครม.ของไทยถือเป็นการตีความคำพิพากษาของศาลและเป็นการกระทำของไทยเพียงฝ่ายเดียว อีกทั้งเส้นเขตแดนขีดเส้นนั้นมีพื้นที่น้อยกว่าในแผนที่ภาคผนวกคำพิพากษากว่าครึ่งหนึ่ง"

 

นายเบอร์แมนเรียกร้องให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาเมื่อปี 2505ให้ชัดเจนเพื่อให้ไทยปฎิบัติตาม

 

เวลา 17.30น. นายร็อคแมน บุนดี ทนายความฝ่ายกัมพูชาคนที่สาม ชาวอเมริกันแถลงด้วยวาจาในคดีปราสาทพระวิหารต่อศาลโลกเพิ่มเติม โดยหยิบยกหลักฐานเขตแดนที่ล้อมด้วยรั้วลวดหนามซึ่งไทยเป็นฝ่ายทำขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10กรกฎาคม 2505โดยกัมพูชาถือว่าเป็นการกระทำของฝ่ายไทยเพียงฝ่ายเดียวและรัฐบาลไทยยังสั่งให้เจ้าหน้าที่ยิงคนที่รุกล้ำดินแดนอีกด้วย

 

นายบุนดี กล่าวว่า เมื่อสมเด็จนโรดม สีหนุ เสด็จฯเยือนปราสาทพระวิหารในปี 2506 ทรงไม่เห็นด้วยที่ไทยปักรั้วลวดหนาม แต่ทางไทยได้อ้างเองฝ่ายเดียวว่าสมเด็จสีหนุทรงพอใจ ทั้งนี้รัฐบาลกัมพูชาได้ร้องทักท้วงตลอด และยื่นประท้วงไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในปี 2509

 

นายบุนดีแถลงต่อศาลโลกอีกว่า เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ในปี 2533 - 2550 ไทยยอมรับ แผนที่ในภาคผนวกหนึ่ง (ฉบับแนบท้ายสัญญาของฝรั่งเศสที่ศาลโลกใช้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา) มาโดยตลอด กระทั่งเกิดรัฐประหารปี 2549 ไทยได้เผยแพร่แผนที่หมายเลข L7017 ลากเส้นแบ่งเขตแดนตาม มติครม.ของไทย ในปี 2505 เป็นครั้งแรก แผนที่ดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องอะไรกับคำตัดสินของศาลโลกในปี 2505

 

"กัมพูชาอ้างอิงจากแผนที่ในภาคผนวกหนึ่งมาโดยตลอด รัฐบาลไทยเคยยอมรับแผนที่ดังกล่าว แต่ไม่ใช่แผนที่ หมายเลข L7017 กำหนดโดยมติครม. ของไทยฝ่ายเดียว "นายบุนดีกล่าว


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์