วิบากกรรมชายชราชื่อสมัคร..

นายสมัคร เมื่อมิได้เป็นนายกฯแล้ว

ก็มีสภาพเป็นเพียงชายชราคนหนึ่งที่จู้จี้ขี้บ่น จุกจิกขี้โมโห ต้องผจญกับวิบากกรรมที่ตัวเองก่อไว้อีกหลายเรื่องคือ คดีหมิ่นประมาท นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ และคดีทุจริตการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง กทม.มูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท

การเลื่อนประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อเช้าวันที่ 12 กันยายน ออกไปเป็นเช้าวันพุธที่ 17 กันยายน 2551 เนื่องจาก ส.ส.พรรคพลังประชาชน(พปช.)บางกลุ่ม และพรรคร่วมรัฐบาลไม่เข้าร่วมประชุมทำให้องค์ประชุมไม่ครบนั้น มีข้อน่าสังเกตบางประการดังนี้

หนึ่ง เป็นการสอนบทเรียนแก่นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีและ ส.ส.กลุ่มเพื่อเนวิน

ซึ่งดื้อด้านเต็มไปด้วยมิจฉาทิฐิจะเสนอนายสมัครเป็นนายกฯอีกครั้งหนึ่งโดยไม่ฟังเสียงต่อต้านคัดค้านจากประชาชน นักวิชาการ นักธุรกิจและกลุ่มองค์กรต่างๆอย่างกว้างขวาง

 
กลุ่มที่คัดค้านเกรงว่า ถ้านายสมัครกลับมาเป็นนายกฯอีกจะสร้างความแตกแยกขัดแย้งทางสังคมอย่างรุนแรงและนำความหายนะมาสู่ระบบเศรษฐกิจและการเมืองได้
 
สอง เห็นธาตุแท้ของนักการเมืองบางกลุ่มบางพรรคโดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์และพรรคชาติไทย


โดยพรรคประชาธิปัตย์ฉวยโอกาสเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ แม้จะรู้ว่าไม่มีทางได้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง(236 เสียงขึ้นไป) แต่ก็เพื่อฟลุ๊คว่า ถ้าภายใน 30 วันยังไม่สามารถลงมติเลือกบุคคลอื่นเป็นนายกฯได้ด้วยเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง นายอภิสิทธิ์ก็จะได้เป็นนายกฯทันที(รัฐธรรมนูญมาตรา 173)
 
ทั้งที่ๆก่อนหน้านี้ พรรคชาติไทยได้ตกลงกับแกนนำประชาธิปัตย์บางคนว่า จะไม่เข้าร่วมประชุมสภาเพื่อเพื่อสกัดมิให้นายสมัครกลับมาเป็นนายกฯอีก ทั้งๆที่พรรคชาติไทยอ้างว่า มีมติหนุนพปช.
 
แต่พรรคประชาธิปัตย์เปลี่ยนท่าทีในนาทีสุดท้าย โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาเป็นผู้ลงชื่อเข้าร่วมประชุมคนแรกๆของพรรค
 
การกระทำของประชาธิปัตย์ทำให้พรรคชาติไทยมองว่า ประชาธิปัตย์หักหลัง
 
"ส่วนอีกพรรคหนึ่งไม่ต้องพูด ถึงคิดว่าหวานคอแร้ง มั่นใจว่าจะได้เป็นนายกฯ แน่ เกมต่อเกมก็ต้องแก้เกมกัน แต่ตอนนี้มันก็จบแล้ว"เป็นหนึ่งในวลีของนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยที่กล่าวถึงประชาธิปัตย์แสดงให้เห็นความรู้สึกได้เป็นอย่างดี
 
อย่างไรก็ตามแกนนำประชาธิปัตย์อ้างว่า  ทำตามกติกาและหน้าที่และเสนอชื่อนายกฯตามสิทธิของพรรคฝ่ายค้าน
 
สำหรับนายสมัคร เมื่อมิได้เป็นนายกฯแล้วก็มีสภาพเป็นเพียงชายชราคนหนึ่งที่จู้จี้ขี้บ่น จุกจิกขี้โมโห ต้องผจญกับวิบากกรรมที่ตัวเองก่อไว้อีกหลายเรื่องคือ คดีหมิ่นประมาท นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการ กทม. และการไต่สวนของป.ป.ช.คดีทุจริตการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง กทม.มูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาทสมัยที่นายสมัคร เป็นผู้ว่าราชการ กทม.แม้คดีหมิ่นประมาทเมื่อเทียบกับคดีทุจริตการจัดซื้อรถดับเพลิงฯแล้วเบากว่ามาก
 
แต่เป็นคดีที่นายสมัครต้องลุ้นตัวโก่งเพราะศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในวันที่ 25 กันยายนหรืออีกไม่ถึง 2 สัปดาห์
 
คดีดังกล่าว นายสมัครและนายดุสิต ศิริวรรณ  อดีต รมต.ประจำสำนักนายกฯ คู่หูตกเป็นจำเลยเพราะกล่าวหาว่า นายสามารถ มีพฤติการณ์ทุจริตในการก่อสร้างโครงการสะพานของ กทม. 16 โครงการ ซึ่งศาลอาญาพิพากษาเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2550 ให้จำคุกจำเลยทั้งสอง รวม 4 กระทง กระทงละ 6 เดือน รวมจำคุกคนละ 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา 
 
ก่อนหน้านี้ นายสมัครได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนอ่านคำพิพากษาโดย อ้างว่า ต้องเดินทางไปประชุมสหประชาชาติที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกาในวันที่ 21 กันายนในฐานะนายกฯ 


แต่เมื่อนายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่งนายกฯแล้ว  จึงไม่รู้ว่า ศาลอาญา จะยอมเลื่อนอ่านคำพิพากษาหรือไม่


ประเด็นที่น่าสนใจคือ ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกนายสมัคร 24 เดือน โอกาสที่นายสมัคร จะต้องถูกจำคุกมีอยู่สูง
 
แม้นายสมัครจะยืนยันว่า

สามารถอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยให้อัยการสูงสุดลงนามรับรองให้อุทธรณ์คดีต่อศาลฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้( ป.วิอาญา มาตรา 221บัญญัติว่า ในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้....อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่า มีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ก็ให้รับฎีกานั้นไว้พิจารณาต่อไป)

 
อย่างไรก็ตามคดีนี้ เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวที่นายสามารถฟ้องนายสมัครโดยตรง  พนักงานอัยการมิได้เกี่ยวข้อง ถ้านายชัยเกษม นิติศิริ อัยการสูงสุดยอมลงนามรับรองให้ จะทำให้เกิดข้อครหาว่า อัยการสูงสุดต้องการช่วยเหลือนายสมัครเป็นการส่วนตัว
 
นอกจากนั้นที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ออกระเบียบที่ประชุมใหญ่ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2551 ว่า
 
ให้ศาลฎีกาอาจไม่รับคดีที่อุทธรณ์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้ ถ้าเห็นว่า การอุทธร์ดังกล่าวไม่เป็นสาระอันควรแก่แก่การพิจารณาไว้ในการพิจารณาพิพากษา(ระเบียบที่ประชุมใหญ่ว่าด้วยการไม่รับคดีซึ่งข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่อุทธรณ์หรือฎีกาจะไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณาไว้พิจารณาพิพากษา พ.ศ.2551)

 
ดังนั้น ถ้าดูจากคดีหมิ่นประมาทของนายสมัครและนายดุสิตแล้วเห็นว่า ไม่มีความยุ่งยากซับซ้อนทั้งในเรื่องข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแต่อย่างใด รวมทั้งคำพิพากษามีมีเหตุมีผลชัดเจน
 
การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนถึง 2 ศาล อาจเข้าเงื่อนไขที่ศาลฎีกาอาจไไม่รับคดีไว้พิจารณาได้
 
ดังนั้น ถ้าศาลฎีกาไม่รับอุทธรณ์ ก็หมายความว่า นายสมัครต้องถูกจำคุกทันที ต้องหลุดจากตำแหน่ง ส.ส.ด้วย
 
นับเป็นกรรมของชายชราที่ชอบสาบถสาบานจนติดเป็นนิสัยและอาจเห็นผลของคำสาบานในบั้นปลายของชีวิต

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์