วิบากกรรม..แต่ปางก่อน

วิบากกรรมของพรรคไทยรักไทย


ยังไม่จบสิ้นโดยง่าย แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะสั่งยุบพรรคไปแล้วก็ตาม โดยว่ากันว่า การกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และบรรดาลูกสมุนแห่งพรรค ไทยรักไทยเมื่อครั้งในอดีต กลายเป็นตัวกำหนดอนาคต ต้องสูญพันธุ์สถานเดียว ถึงแม้ว่าคณะ รัฐมนตรี (ครม.) ภายใต้การนำของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จะมีมติแก้ประกาศคปค.ฉบับที่ 15 ข้อ 1 และกำลังยกร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคปค.ฉบับที่ 15 ข้อ 2 เพื่อเปิดทางให้พรรคการเมืองสามารถทำกิจกรรมทางการเมืองได้ก็ตามที แต่สำหรับพรรคไทยรักไทยแล้ว ยังคงติดบ่วงด้วยเงื่อนไขทางเทคนิคอีกหลายประเด็น

เมื่อทิศทางการเมืองออกมาเช่นนี้


จึงทำให้ นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ออกมาตีโพยตีพายว่า ภายหลังจากที่พรรคไทยรักไทยถูกสั่งให้ยุบพรรค รัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ก็ร่วมมือกันปลดล็อกเงื่อนไขทางการเมือง ด้วยการอนุญาตให้พรรคต่างๆ ดำเนินกิจกรรมทาง การเมืองได้

และแทนที่รัฐบาลจะเสนอร่าง พ.ร.บ.


แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคปค.ฉบับที่ 15 ได้เลย ก็มาทำแบบขยักไว้เป็นตอนๆ โดยส่วนหนึ่ง ส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) บรรจุเรื่อง เพื่อพิจารณาออกมาเป็นกฎหมาย และที่สำคัญ สมาชิกสนช.จะมีความเห็นอย่างไรต่อพ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีความล่าช้าของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการชำระ บัญชีพรรคการเมืองอีกด้วย

ดังนั้น ทิศทางการแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน


จึงไม่ได้แก้ปัญหาที่ คมช.ตั้งโจทย์ไว้เลย มีเฉพาะพรรคร่วมฝ่ายค้าน เดิมที่ทำกิจกรรมทางการเมืองและอาจลงเลือก ตั้งได้ หมายความว่า การดำเนินการทางการเมืองที่ผ่านมา เช่น การต่อต้านรัฐบาลไทยรักไทย และยึดอำนาจนั้น ไม่ได้เป็นไปตามข้ออ้าง ของคมช.ในการรัฐประหาร

แต่มันกลายเป็นว่า


ผู้ยึดอำนาจเป็นผู้กำหนดว่าอยากให้ใครเป็นรัฐบาล โดยเห็นได้ชัดเจนว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมจะเป็นแกนตั้ง รัฐบาล หากจำนวน ส.ส.ไม่พอก็จะดึงกลุ่มต่างๆ ไปร่วมรัฐบาล และก่อนหน้านี้มีความตั้งใจว่า จะทำให้พรรคไทยรักไทยเป็นฝ่ายค้าน ตอนนี้กลับกลายเป็นว่าไม่ให้กลุ่มไทยรักไทยลงสมัคร ตนคิดว่าต่อไปนี้รัฐบาลชุดหน้าจะเห็นดีเห็นงามกับการยึดอำนาจ และน่าจะประสานงานกับผู้ยึดอำนาจกันต่อไป

ในช่วงนี้กลุ่มไทยรักไทย


ได้จัดทำแบบฟอร์มการรับสมัครสมาชิกกลุ่ม เพื่อรวมตัวกันก่อตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้นมาใหม่ เพราะสิทธิการตั้งพรรคเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ตนไม่ได้พูดเพียง ว่าเป็นการอนุญาตให้ตั้งพรรคไทยรักไทย แต่ต้องรีบแก้กฎหมายให้ประชาชนทั่วไปมี สิทธิตั้งพรรคได้ ไม่ใช่ว่าการเลือกตั้งที่มีขึ้นนั้น จะมีเพียงพรรคในปัจจุบันลงสมัครเท่านั้น สิทธิประชาชนในการ มีส่วนร่วมและกำหนดความเป็น ไปของบ้านเมืองนั้น เป็นหลักสำคัญในระบอบประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม


ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองได้นั้นนางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า กกต.จะหารือเพื่อกำหนดกรอบการทำกิจกรรมทางการเมือง โดยเฉพาะการชุมนุมทางการเมืองให้อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยพรรคการเมืองต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการชุมนุมที่เป็นความขัดแย้ง หากพรรคการเมืองจะจัดการประชุมใหญ่ จะต้องแจ้งต่อ กกต. เพราะการประชุมใหญ่ถือเป็นกิจกรรมที่จัดโดยอาศัยเงินกองทุนสนับสนุนพรรคการเมือง

ทั้งนี้ กกต.


จะเข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมว่าเป็นการประชุมใหญ่จริงหรือไม่ นอกจากนี้ กกต.จะจัดประชุมร่วมพรรคการเมือง เพื่อเตรียมฐานข้อมูลสำหรับการเลือกตั้ง

ส่วนกรณีที่จะมีการขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่


คงต้องรอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ออกพ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคณะ ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 15 ก่อน แต่ในระหว่างวันที่ 11-30 มิ.ย. สภานิติบัญญัติฯ จะไม่มีการประชุม เพื่อเปิดโอกาสให้สภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ

สำหรับการตั้งชื่อพรรคการเมืองใหม่ สิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือ


ต้องตั้งชื่อไม่ให้ซ้ำกับพรรคการเมืองที่มีอยู่ ไม่ว่าจะใช้คำพ้องรูป หรือพ้องเสียง การตั้งชื่อที่สื่อไปในทางที่ไม่ดี และการใช้ชื่อพรรคตามราชวงศ์เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้

ในขณะที่ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย


กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ว่า ความจริงเราเรียกร้องให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 15 ข้อ 1 เพื่อให้พรรคการเมืองได้ประชุมปรึกษาหารือกัน เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญใกล้จะเสร็จแล้ว ส่วนข้อ 2 เรื่องจดทะเบียนพรรค การเมือง คงต้องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปยกร่างฯ จากนั้นนำเข้า ครม. เพื่อส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ซึ่งเชื่อว่าคงใช้เวลาไม่นาน

อย่างไรก็ตาม

ตนรู้สึกเป็นห่วงปัญหาที่จะเกิดขึ้นหลังการยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 15 ข้อ 1 ที่เปิดให้พรรคการเมืองต่างๆ ชุมนุมกันได้ โดยเกรงว่าหลายฝ่ายจะเกณฑ์คนเข้ามา โดยเฉพาะอดีต ส.ส.บางคนจะรวมตัวกันนำประชาชนในพื้นที่ 300-400 คน เข้ามาใน กทม. ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้

การเดินทางเข้ามา ผมอยากเรียนว่า

เขาไม่ได้เดินทางมาด้วยความสมัครใจ ต้องจ้างแน่นอน พรรคพวกของผมได้เงินค่าจ้างมา 1 พันบาท เมื่อวานนี้ได้ข่าวว่า บางโรงงานใน กทม. จ้างคนงานไปชุมนุม ให้คนละ 500 บาท แค่ชุมนุมแค่ 2 ชั่วโมง ก็ได้เงินแล้ว เขาก็ไป กัน ดังนั้น ถ้าใช้เงินให้มาชุมนุม ปัญหาก็เกิด ขึ้น มันจะบานปลาย ถ้ารัฐธรรมนูญออกมาไม่ได้จะทำอย่างไร จึงอยากวิงวอนน้องๆ ทั้งหลายสงบใจดูเหตุการณ์บ้านเมืองสักระยะ หนึ่งหุ้นก็ขึ้นแล้ว

สำหรับการดำเนินกิจกรรมของพรรคชาติไทย


จะทำตามกติกา โดยในวันที่ 12 มิ.ย.นี้ จะเรียกประชุมอดีต ส.ส. เพื่อปรึกษาหารือถึงแนวทางการเมืองในอนาคต ถ้าใครจะสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคฯก็ไม่ขัดข้อง แต่ขณะนี้ยังไม่มีใครติดต่อเข้ามา เพราะถูกท่อใหญ่ดูดอยู่ ทั้งนี้ หลักการคัดเลือกผู้สมัครลงเลือกตั้งจะพิจารณาคนเดิมก่อน และพรรคฯ พร้อมเดิน หน้าเลือกตั้งเต็มที่ ซึ่งได้เตรียมการไว้หลายเดือนแล้ว แต่ไม่เปิดเผย อย่างไรก็ดียังมั่นใจว่าการกำหนดวันเลือกตั้งยังเป็นเดือน ธ.ค. ไม่น่าผิดพลาดไปจากนี้

ในขณะที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และประธาน คมช. กล่าวว่า

เป็นธรรมดาอยู่แล้วที่มีข่าวลักษณะแบบนี้ แต่ขอยืนยันว่า คมช.ไม่มีแนวคิดที่จะตั้งพรรค การเมืองนอมินีขึ้นมาเพื่อสืบทอดอำนาจอย่างแน่นอน

อย่างที่บอกไว้ก่อนหน้านี้ว่า

แม้คดียุบพรรคการเมืองจะสิ้นสุดไปแล้ว แต่ก็จะทำ ให้กลุ่มคนที่สูญเสียผลประโยชน์ทางการเมือง ออกมาเคลื่อนไหว ดังนั้นจึงต้องจับตามองกันต่อไปว่า การเคลื่อนไหวเหล่านี้ ท้ายที่ สุดแล้วใครได้รับชัยชนะ และใครได้รับผลประโยชน์มากกว่ากัน

ส่วนความเคลื่อนไหวในซีกของ คมช.นั้น


พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวระบุว่า คมช. เตรียมจัดตั้งพรรคการเมืองว่าไม่มี แต่มีสื่อบางคนเอา ชื่อตนไปเขียนโดยปราศจากข้อมูลความเป็นจริง นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วง เพราะไม่ทราบว่าเอาข่าวมาจากไหน

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์