รุมจวกเสธ.หนั่น NGOต้าน เขื่อนแก่งเสื้อเต้น

เอ็นจีโอ จวก เสธ.หนั่น บิดเบือนข้อมูล หวังใช้อ้างความชอบธรรม เดินหน้าสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ยืนยัน ในพื้นที่ยังคงมีไร่ไม้สักทอง อุดมสมบูรณ์​ ...

นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการจัดการน้ำแบบบูรณาการ(ประเทศไทย) เปิดเผยว่า

หลังจาก พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีนั่งเฮลิคอปเตอร์ ไปตรวจสถานการณ์น้ำแล้ง จ.แพร่ และบอกว่า จำเป็นต้องมีเขื่อนแก่งเสือเต้น เพราะเวลานี้ไม่มีไม้สักทองอีกต่อไป เพราะที่ตัดต้นไม้ก็คือคนที่ค้านการสร้างเขื่อน นั้น เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างรุนแรง เพราะเวลานี้เป็นฤดูแล้ง ที่ไม้สักอยู่ระหว่างการผลัดใบ ไม่ใช่ยืนต้นตายอย่างที่ พล.ต.สนั่นเข้าใจ

“กรณีแก่งเสือเต้นมักจะถูกหยิบยกขึ้นมาอ้างเพื่อแก้ปัญหาทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้งทุกรัฐบาล ซึ่ง ครั้งนี้ก็เช่นกันได้ยกเอาสถานการณ์ภัยแล้งขึ้นมาเป็นข้ออ้าง โดยใช้เหตุผลเดิมๆ และกี่ปีๆที่ผ่านมาเหตุผลของทุกรัฐบาลที่นำมาอ้างเพื่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นก็ไม่เคยเปลี่ยน” นายหาญณรงค์ กล่าว

นายหาญณรงค์ กล่าวว่า กรณีที่ชาวบ้านอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาเข้าไปศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการแก่งเสือเต้น ก็ไม่ได้หมายความว่าชาวบ้านจะยอมรับ

ที่สำคัญคือโครงการแก่งเสือเต้นเป็นโครงการที่เข้าข่ายกิจกรรมรุนแรง ตามมาตรา 67 วรรคสอง ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เพราะจะทำให้ต้องสูญเสียต้นไม้ในอุทยานแห่งชาติแม่ยมไปกว่า 40,000 ไร่ มีพื้นที่น้ำท่วมประมาณ 100 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ชลประทานประมาณ 8,000 ไร่ เมื่อเข้าข่ายโครงการรุนแรงจะต้องทำรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ(เอชไอเอ) รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)

แหล่งข่าวจากกรมชลประทานกล่าวว่า มีการศึกษาตั้งแต่ปี 2550 เพื่อหาแนวทางจัดการลุ่มน้ำยม โดยบริษัทที่ปรึกษาเสนอว่า เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดกับชาวบ้าน จึงเสนอสร้าง 2 เขื่อน คือ เขื่อนแม่น้ำยม และเขื่อนแม่น้ำยมตอนบน

ทั้งสองเขื่อนจะมีการกักเก็บน้ำประมาณ 754 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยลดพื้นที่ผลกระทบเดิมจาก 41,570 เหลือ ประมาณ 3 หมื่นกว่าไร่เท่านั้น

และพื้นที่ที่อพยพโยกย้ายจะลดลง โดยเฉพาะที่แม่น้ำยมตอนบนที่จะมีผลกระทบ 23,400 เป็นพื้นที่การเกษตร 2,080 ไร่และพื้นที่ป่าประมาณ 17,900 โดยแบ่งเป็น ป่าสักหนาแน่นประมาณ 2,800 ไร่ ป่าเบญจพรรณ 21,000 ไร่ นอกจากนี้ เพื่อที่จะมีการพัฒนาแม่น้ำยมอย่างเป็นระบบ ยังมีการสร้างแหล่งน้ำขนาดกลางอีก 57 แห่ง ความจุ 572 ล้านลูกบาศก์เมตร การจัดการน้ำทั้งระบบของลุ่มน้ำยมจะมีประชากรประมาณ 1.7 ล้าน คนหรือประมาณ 4 แสน ครอบครัวได้รับประโยชน์

แต่การพัฒนาโครงการขนาดกลางของลุ่มน้ำยมต้องมีการเวนคืนพื้นที่ประมาณ 8 หมื่นไร่ จึงต้องทำความเข้าใจกับประชาชนอีกระยะหนึ่ง

ทั้งนี้การศึกษาความเป็นไปได้คาดว่าจะเสร็จประมาณต้นปี 2554 หลังจากนั้นจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติต่อไป หากการพิจารณาของคณะกรรมการชุดแรกผ่าน


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์