มาร์ค เบรก แนวคิดอธิการบดี ชี้แก้ปัญหาไม่ตรงจุด ซ้ำเติมวิกฤติ

มาร์ค เบรก แนวคิดอธิการบดี ชี้แก้ปัญหาไม่ตรงจุด ซ้ำเติมวิกฤติ

"มาร์ค" เบรก แนวคิดอธิการบดี ชี้แก้ปัญหาไม่ตรงจุด ซ้ำเติมวิกฤติ ทำฝ่ายค้านไร้อำนาจ!

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (4 ธ.ค. 2557) พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ปาฐกถาเปิดงาน “เศรษฐกิจดิจิทัล พลิกโฉมประเทศไทย”  โดยกล่าวว่า   ประเทศไทยมีความแตกต่างของรายได้มาก ความเป็นไปได้ที่จะผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็ว คือการผลักดันให้นำดิจิทัลมาใช้ในทุกภาคส่วน นอกจากการติดต่อสื่อสารแล้วยังต้องนำมาใช้ในการทำธุรกรรม ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เเกิดการประหยัดเวลา ประหยัดงบประมาณ และปฏิบัติงานได้เร็วขึ้น เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
 
ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ระบุถึงการเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมนั้นสนช.ไม่ขอเป็นเจ้าภาพ และต้องริเริ่มจากรัฐบาล นอกจากสนช. ได้รับฟังความเห็นที่ตกผลึกแล้ว ว่า ตนเห็นข่าวแล้วชอบใจที่นายพรเพชรบอกว่าไม่เอากฎหมายที่จะทำให้เกิดความขัดแย้ง   ถือเป็นหลักการที่ดี เพราะฉะนั้นถ้ายึดหลักนี้น่าจะสบายใจกันได้มากขึ้น และขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องความปรองดอง ก็คงให้คำตอบเรื่องเจ้าภาพไม่ได้ เพียงแต่มีความเห็นของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กรรมาธิการยกร่างฯก็บอกว่าที่จั่วหัวเรื่องหมวดปรองดองไว้อาจจะไปในเรื่องของตัวองค์กร กับกระบวนการมากกว่า ไม่ได้หมายความถึงกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งเรื่องนี้เราต้องติดตามกันต่อไป

นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องรูปแบบการเลือกตั้งแบบเยอรมันนั้น มองว่าหากเอามาใช้กับไทย ก็คงเป็นไทย

เพราะส่วนใหญ่เอามาใช้แล้วไม่ค่อยเหมือนเท่าไหร่ โดยแนวคิดเกี่ยวกับระบบเลือกตั้ง ถ้าตราบใดที่กติกาเป็นธรรม โปร่งใส ก็ไม่มีปัญหา เข้าใจว่าคนต้นแบบเยอรมันนี้ น่าจะมุ่งไปที่หลักการสำคัญใน 2 เรื่อง คือ 1. ทำอย่างไรไม่ให้คะแนนเสียงของประชาชนที่ไปลงคะแนนมันสูญเปล่าและ 2. คะแนนที่ไม่สูญเปล่านี้เป็นคะแนนที่เป็นคะแนนที่ให้ประชาชนไปเลือกพรรค แล้วจะให้ใครบริหารประเทศ เพราะฉะนั้น จำนวน ส.ส. ในสภา ควรจะสะท้อนคะแนนตรงนี้ ซึ่งความจริงคือวิธีการก็ไม่ต่างจากเดิม ทั้งนี้ตนไม่ทราบว่าที่ผู้เสนอแนวคิดนี้อ้างอิงจากต้นแบบเยอรมันนั้นจะเอามาหมดหรือหรือไม่

เมื่อถามว่า ที่ประชุมคณะอธิการบดีแห่งประเทศไทยเสนอให้มีการเลือกคณะรัฐมนตรีโดยตรง ส.ส. ไม่สังกัดพรรคการเมือง และห้ามส.ส.ทำหน้าที่ฝ่ายบริหารนั้น มองอย่างไร

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอยากให้รัฐธรรมนูญมีความยั่งยืน และมีการประชามติ และต้องก้าวหน้ากว่าฉบับเก่า เพราะฉะนั้นอะไรที่เป็นเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ประชาชน สิทธิชุมชน หรือการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่ควรจะลดน้อยลงกว่าเดิม ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะไปเกี่ยวข้องเรื่องการกระจายอำนาจ การปกครองท้องถิ่นด้วย ส่วนเลือกตั้งจะเป็นแบบไหนนั้น อยากให้วิเคราะห์ให้ชัดว่าปัญหาที่ผ่านมาคืออะไร และต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด

“ถ้าถามผมว่าแก้ปัญหาได้ตรงจุดหรือไม่ ก็บอกว่ามันไม่ตรง และอาจจะซ้ำเติมปัญหา เพราะ เมื่อเราได้ผู้บริหารที่มาจากประชาชนโดยตรงอาจดูมีความชอบธรรม แต่ที่ผ่านมาพวกเราไม่ได้มีปัญหาในแง่นี้ เพราะว่าประชาชนที่ไปเลือกตั้งแสดงเจตนารมณ์ผ่านการเลือกพรรคการเมือง จึงส่งหัวหน้าพรรคการเมืองนั้นไปเป็นผู้บริหาร แต่ถ้าเขาเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน หลักคือว่าสภาไปเอาเขาออกไม่ได้ อย่าลืมว่าในระบบแยกอำนาจแบบนี้ คือฝ่ายค้านแทบจะไม่มี ถ้ามีก็อยู่ในสภา แต่ว่าในปัจจุบัน เราก็เห็นมีปัญหาอยู่แล้วว่าตรวจสอบไม่ค่อยได้ ยิ่งถ้าสภาบอกไม่มีพรรคด้วย ผมว่าฝ่ายค้านยิ่งมีคนที่จะเสนอความเห็นที่ต่าง เป็นทางเลือก เป็นระบบ จะยิ่งลำบาก เพราะฉะนั้นผมยังรู้สึกว่ามันแก้ไม่ตรงจุด” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ตนอยากให้ข้อคิดเรื่องการแยกอำนาจ และพยายามลดอิทธิพลของพรรคการเมือง
 
เรากำลังไปยึดติดกับเรื่องตัวบุคคลกับตำแหน่ง สิ่งสำคัญที่สุดการมีพรรคการเมือง และระบบพรรคการเมืองคือ ประชาชนเลือกทิศทางและอนาคตของประเทศได้ แต่ระบบที่คณะอธิการบดีเสนอมานี้ไปเน้นเรื่องว่าประชาชนเลือกใคร ไม่ว่าจะเลือกนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมาผสมผสานกัน ประชาชนเลือกคนจริง แต่ประชาชนไม่รู้นโยบายในการทำงานบริหารประเทศ เพราะฉะนั้นเราจะต้องส่งเสริมให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง ไม่ต้องไปแยกอำนาจ แต่ทำอย่างไรให้ฝ่ายที่ได้เป็นผู้บริหาร ตระหนักว่าต้องรับผิดชอบ ห้ามใช้อำนาจเกินขอบเขต ให้ตระหนักว่าเข้าไปรับใช้ประชาชาไม่ใช่มาปกครองประเทศ ตรงนี้ต่างหากคือหัวใจที่เราจะต้องแก้ ดังนั้นตนจึงเสนอไปว่า ทำอย่างไรให้สภาตรวจสอบได้ดีขึ้น ทำอย่างไรให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือศาล ตรวจสอบได้ดีขึ้น


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์