ประสงค์ อยากไขก๊อก เครียดรัฐบาล-คมช.อ่อนหัด

ประสงค์ เครียด รัฐบาล-คมช อ่อนหัด


เปรยคนใกล้ชิด "อยากไขก๊อก" พ้นประธานกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ เผยปักหลัก เช็คข่าวม็อบหน้าเหลี่ยมวุ่น หวั่นเหตุการณ์บานปลาย

รายงานข่าวจากคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุว่า


สัปดาห์ที่ผ่านมา น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีความกังวลกับสถานการณ์ทางการเมืองของรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เป็นอย่างมาก โดยเห็นว่าทั้งรัฐบาลและ คมช.ยังแก้ปัญหาการเมืองไม่ถูกจุด รวมทั้งยังมีปัญหาความเป็นเอกภาพระหว่าง คมช.ด้วยกันเอง

ขณะที่รัฐมนตรีในรัฐบาลที่ยังคงเข้าเกียร์ว่างไม่ให้ความร่วมมือ


ในการจัดการกับระบอบทักษิณให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทำให้ตกเป็นฝ่ายรับขบวนการของกลุ่มอำนาจเก่าหลายครั้ง หากยังปล่อยให้กลุ่มอำนาจเก่ารุกใส่ศูนย์อำนาจอย่างต่อเนื่อง จะทำให้กระแสความนิยมของรัฐบาลเสื่อมลงและประชาชนเบื่อหน่ายรัฐบาลมากขึ้น จะมีผลกระทบโดยตรงต่อการร่างรัฐธรรมนูญและมีแนวโน้มที่ประชามติจะไม่ผ่าน

ข่าวแจ้งด้วยว่า


ในคืนที่กลุ่มสถานีโทรทัศน์พีที วีนำโดย นายวีระ มุสิกพงศ์ จัดชุมนุมเมื่อคืนวันศุกร์ที่ 23 มีนาคม ที่ท้องสนามหลวง น.ต.ประสงค์ โทรศัพท์เช็คความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด และห่วงว่าเหตุการณ์จะบานปลายจนกระทั่งปิดเวทีเวลาเกือบ 23.00 น. ทั้งที่ตามปกติเป็นที่รู้กันว่า น.ต.ประสงค์ จะเข้านอนเวลาไม่เกิน 21.00 น.เท่านั้น

แหล่งข่าวใกล้ชิด น.ต.ประสงค์ ยอมรับว่า


น.ต.ประสงค์ เคยเปรยให้ฟังว่าอยากจะออกจากการเป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะรู้สึกเหนื่อยที่ต้องร่างรัฐธรรมนูญท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่ไม่นิ่งเช่นนี้ ขณะที่รัฐบาลก็ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์บ้านเมืองให้อยู่ในความสงบได้ แต่ท่านก็เข้าใจว่าถ้าจะออกกลางคันเช่นนี้อาจจะเป็นการซ้ำเติมให้สถานการณ์เลวร้ายลง จึงต้องช่วยประคับประคองกันไปก่อน

แหล่งข่าว กล่าว


"น.ต.ประสงค์ มองว่า คมช.และรัฐบาลยังแก้ปัญหาการเมืองไม่ได้ ถ้าเหตุการณ์ยังเป็นอย่างนี้ถึงร่างให้ดีอย่างไรรัฐธรรมนูญก็มีสิทธิไม่ผ่านประชามติ ท่านเคยพูดทีเล่นทีจริงว่าอย่าลืมว่าผมเป็นทหารอากาศย่อมรู้ดีว่าจะกระโดดร่มจากเครื่องบินตอนไหน"

ขณะรัฐสภา น.ต.ประสงค์ พร้อมคณะ


อาทิ น.พ.ชูชัย ศุภวงศ์, นายวิชา มหาคุณ, นายประพันธ์ นัยโกวิท นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และนายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ร่วมกันตอบกระทู้ความคิดเห็นประชาชนในข้อเสนอการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก


โดยคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้แจกแบบฟอร์ม การตั้งกระทู้คำถามให้ประชาชนถามได้คนละ 2 ประเด็น พบว่า


มีประชาชนส่วนใหญ่วัยทำงานอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป จนถึงกลุ่มวัยเกษียณ รวมทั้งกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ในองค์กรต่างๆ ได้เดินทางมาร่วมประมาณ 500 คน


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์