ปชป.แนะรัฐอย่าเลือกปฏิบัติพีทีวี

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์


กล่าววานนี้ (25 ก.พ.) ถึงกรณีการเตรียมเปิดสถานีโทรทัศน์พีทีวีของนายวีระ มุสิกพงศ์ และอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย ว่า รัฐบาลและ คมช.ต้องดำเนินการตามกฎหมายและไม่ เลือกปฏิบัติเพราะความเป็นรัฐบาลมีภาระต้องบริหารจัดการให้ความเป็นธรรมกับสังคมและประชาชน หากทำได้ก็จะไม่เกิดปัญหา เกมนี้ของพรรคไทยรักไทยอาจมองเป็นเรื่องการประกอบอาชีพปกติของความเป็นนัก

การเมืองที่อยากเป็นสื่อหรือเป็นการกระทำเพื่อมีจุดมุ่งหมายทางการเมือง

เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ ต่อข้อถามว่า การเดินเกมของพรรคไทยรักไทยเกิดขึ้นบ่อยเป็นเพราะพรรคไทยรักไทยเห็นว่ารัฐบาลและ คมช.อ่อนแอหรือไม่ นายองอาจตอบว่า ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมารัฐบาลและคมช.ยังไม่ทันเกมที่ถูกกำหนดขึ้นโดยผู้ไม่ปรารถนาดีต่อประเทศชาติ หลายกรณีถ้ารัฐบาลไม่ทันเกมแล้วก็ไม่สามารถต่อกรได้ ปัญหาก็จะขยายเพิ่มขึ้น

การแก้ปัญหาบางกรณีควรใช้ความเด็ดขาด

และบางกรณีควรใช้ความนุ่มนวลหรือบางกรณีอาจจะต้องใช้คู่กัน อย่างไรก็ตามกรณีของนายจาตุรนต์ ต้องใช้วิธีพูดคุยปัญหาก็จะไม่บาน ปลาย อย่าไปทำอะไรรุนแรง เพราะอาจตกหลุมที่ถูก วางเอาไว้

ด้านนายอดิศร เพียงเกษ รักษาการกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย กล่าวถึง


การจัดรายการ ยามเฝ้าแผ่นดิน ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ว่า ดอกบัวมี 4 ดอก รายการนี้เป็นรายการดอกบัวติดตมเท่านั้น เป็นรายการใต้ตม เป็นพฤกษาหารของเต่าและปลา ตนไม่ดูให้เสียเวลา ความเป็นสื่อจะต้องเป็นกลาง ไม่ใช่เอียงซ้ายแล้วซัดซ้าย

เมื่อถามถึงการจัดทำสถานีโทรทัศน์พีทีวีของอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยที่มีลักษณะเดียวกันกับเอเอสทีวี จะออกอากาศได้ หรือไม่

นายอดิศรตอบว่า เรื่องนี้ก็แล้วแต่จะคิด ส่วนตัวยืนยันกฎบัตรสหประชาชาติยืนยันว่า การแสดงความคิดเห็นของประชาชนทั่วโลกเป็นสิทธิขั้นมูลฐานของความเป็นมนุษย์ อย่าไปกลัวเงาเลย ไม่ได้มาจากชาวบ้านตื่นก็กลัว นอนก็กลัว เข้าห้องน้ำยังกลัว ดังนั้นขอให้เลิกกลัวพีทีวี

ขณะที่สวนดุสิตโพลได้


สำรวจความคิดเห็นประชาชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 1,378 คน เรื่องความคิดเห็นของประชาชน กรณีการเปิดตัวของพีทีวี พบว่า

ส่วนใหญ่ร้อยละ 42.69 รู้สึกเฉยๆ เพราะดูช่องไหนก็เหมือนกัน สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้

ขณะที่ร้อยละ 30.04 ไม่เห็นด้วย

ร้อยละ 27.27 เห็นด้วย ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างเอเอสทีวีกับพีทีวีพบว่า

ร้อยละ 31.15 เห็นว่าหากให้ 2 ช่องนำเสนอข่าวสารจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง แบ่งขั้วทางความคิดเป็น 2 กลุ่ม

โดยร้อยละ 48.83 ระบุว่าอยากดูทั้ง 2 ช่อง เพราะอยากรู้ข้อมูลและต้องการเปรียบเทียบข้อมูลทั้ง 2 ฝ่าย

ส่วนร้อยละ 37.11 ระบุว่า จะไม่ดูทั้ง 2 ช่อง เพราะไม่รู้ว่าข้อมูลที่นำเสนอจริงเท็จแค่ไหน

ส่วนการดำเนินการของรัฐบาลต่อกรณีที่เกิดขึ้น

ร้อยละ 25.74 เห็นว่าควรปิดทั้ง 2 ช่อง เพื่อลดความขัดแย้ง

นอกจากนี้ยังมีความเห็นว่ารัฐบาลควรดำเนินการอย่างเป็นกลาง

ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์


ได้เขียนบทความผ่านเว็บไซต์ www. abhisit.com ว่า ท่ามกลางการถกเถียงในเรื่องของการยกร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นต่างๆ เป็นที่น่าแปลกใจว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดที่เกาะเกี่ยวและทำลายระบอบประชาธิปไตยของไทยมาต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบ 30 ปี คือปัญหาเงินกับการเมือง หรือที่มีการพูดถึงในนาม ธุรกิจการเมือง ซึ่งกลับยังไม่มีข้อเสนอหรือคำตอบใดๆที่ชัดเจนนักว่า จะมีหนทางในการแก้ไขที่เป็นระบบชัดเจน


ทั้ง ๆ ที่ปัญหานี้ ถือได้ว่าเป็นมะเร็งร้ายในระบอบประชาธิปไตย


การพิจารณาเรื่องเหล่านี้มักเป็นการคิดถึงแนวทางการแก้ปัญหาเป็นจุด ๆ ไป เช่น จะมีระบบบัญชีรายชื่อหรือไม่ จะใช้เขตเลือกตั้งใหญ่หรือเล็ก จะนับคะแนนที่หน่วยหรือรวมกันนับ จะให้ อำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แค่ไหน จะปรับปรุงระบบตรวจสอบอย่างไร ฯลฯ ซึ่งแม้ว่าเรื่องเหล่านี้จะมีความสำคัญ


แต่การไล่แก้ไขบทบัญญัติต่างๆตามประเด็นเหล่านี้


เหมือนกับเป็นการมองข้ามปัญหาในภาพรวม เพราะข้อ เท็จจริงแล้วบทบาทของเงินในระบบการเมืองมีความซับซ้อนมาก แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วและมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมานาน ก็ต้องมีการคิดค้น ปรับปรุง กลไกต่างๆที่จะกำกับบทบาทของเงินในระบบการเมือง


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์