นายกฯเชิญสื่อ-องค์กรต่างๆดูสลายม็อบโปร่งใส

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี แถลงจากจ.เชียงใหม่ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีในค่ำวันนี้ ว่าวันนี้ตนได้ถือโอกาสเชิญผู้บริหารระดับหัวหน้าส่วนของทุกกระทรวง อธิบดี และตำแหน่งเทียบเท่าปลัด และได้เชิญผู้ว่าราชการทุกจังหวัดมาร่วมฟังด้วย เพราะมีความสำคัญในฐานะคลุกคลีกับพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ และการพูดคุยกันนั้น ได้เชิญคนจำนวนมากฟัง ขออนุญาตใช้เป็นวิดีโอคอนเฟอเร้นท์ มาที่กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีที่กว้างขวาง ได้พูดกันทั่วประเทศ
"ที่พูดกันเป็นเรื่องทำความเข้าใจการทำงาน ผมบังเอิญเป็นข้าราชการมากว่า30ปี เมื่อมาทำงานการเมืองก็เป็นอีกมิติที่ต้องทำความเข้าใจกันในภาวะวิกฤตการณ์บ้านเมืองขณะนี้อยากให้ทุกท่านทำงานตามปกติ และร่วมกันคลี่คลายปัญหากันไป อย่าให้ประชาชนทั่วประเทศต้องวิตก หรือมีการทำร้าน ทำลายกันจนเดือดร้อนไปทั่ว "นายสมชาย กล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ปลัดกระทรวงคมนาคมบอกว่า มีหลายเที่ยวบินที่ไม่สามารถลงจอดที่ดอนเมืองและ สุวรรณภูมิได้ ก็ไปลงที่สนามบินอู่ตะเภาราว70 เที่ยว พร้อมทั้งให้ประสานงานเครื่องชาร์ตเตอร์ไฟล์ทไปลงสนามบินภูเก็ต เชียงใหม่ เชียงราย เพราะส่วนใหญ่สายการบินปกติมาไม่ได้ ซึ่งก็ขนส่งนักท่องเที่ยวและคนมากรุงเทพฯ หรือจังหวัดใกล้เคียงที่ต้องการจะไป ช่วยรับส่งรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่าย
นายสมชายกล่าวอีกว่า ทางผู้ว่าฯชลบุรี บอกว่า ปัญหานักท่องเที่ยวตกค้างที่พัทยามีจำนวนมาก ผู้ที่ตกค้างการเงินร่อยหรอลงไป ทางจังหวัดจึงประสานกับโรงแรมและร้านอาหาร ให้เก็บค่าใช้จ่ายเพียง 30% ค่าอาหารกับค่าโรงแรมคิดวันละไม่เกิน 1 พันบาท คือไม่เกิน 30% ช่วยบรรเทาไปได้มาก ซึ่งทางจังหวัดก้ได้ใช้เงินกองทุนกลางของจังหวัดมาช่วยเหลือนักท่องเที่ยว
"ผมได้ตั้งให้คุณวีระศักดิ์ โค้วสุรัตน์ รมว.ท่องเที่ยวฯ เป็นประธานกรรมการเยียวยาให้ผู้ไม่สามารถใช้สนามบินได้ โดยต้องตัดใจในการจ่ายเงินจ่ายทองไป แต่ต้องรักษาตลาดการท่องเที่ยวไว้ ซึ่งไม่ใช่ความผิดของเขา แต่เป็นความผิดของประเทศชาติ ความผิดของรัฐบาลที่ไม่สามารถดำเนินการแก้ปัญหาจากคนที่มายึดสนามบิน แต่ขอยืนยันว่าเจ้าหน้าที่จะใช้วิธีละมุนละม่อม ไม่ให้บาดเจ็บ ใช้วิธีเจรจาดำเนินการให้เหมาะสม" นายสมชายระบุ
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ตนได้รับหนังสือจากนายเสน่ห์ จามริก ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แสดงความเป็นห่วงปัญหาทางการเมือง จึงขอตอบตรงนี้และไม่อยากให้เรียกว่าเป็นปัญหาการเมือง แต่เป็นคนกลุ่มหนึ่งเข้ามายึดสถานที่สาธารณะ สถานที่ราชการ แต่ตนไม่อยากให้ใช้ความรุนแรงเพื่อปราบปราม เพราะจะสร้างความเสียหายมากมายตามมา จึงให้เจ้าหน้าที่เข้าไปปฏิบัติการตามหลักสากล อยากเรียนเชิญ คณะกรรมการสิทธิ์ สื่อมวลชนเข้าไปดูไปถ่ายทำ เพื่อได้เห็นชัดเจนว่าตนได้ให้นโยบายไปแล้ว โปร่งใส ปราศจากอคติความชิงชังทั้งสิ้น
"มีเรื่องของผู้ว่าฯยะลา รายงานสถานการณ์ใน3จังหวัดชายแดนใต้ดูแล้วก็ไม่รุนแรง เรียกว่าภาคใต้ 3 จังหวัด ที่มีเบี้ยยังชีพให้จากเดิม 1,000 บาทเป็น 2,500 บาทต่อเดือน บอกว่าเงินยังไม่ได้รับ ก็จะดำเนินการให้ต่อไป ขอให้เข้าใจและมั่นใจรัฐบาลนี้ที่มีตนเป็นหัวหน้าว่าจะดูแลประชาชน ข้าราชการอย่างดี ให้มีศักยภาพ มีความสุขในทั่วทุกภาค

ครส.แถลงหยุดรัฐประหาร-ต้านสงครามประชาชน

มีกระแสข่าวว่ารัฐบาลจะใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ บช.น. และ ตร.ภูธร ภาค 1 เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรในคืนนี้ ตามกฎหมาย พรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน บริเวณพื้นที่ท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.) มีความกังวลว่า การเลือกใช้วิธีการสลายการชุมนุม จะเป็นการโหมไฟแห่งความรุนแรงเกินยากควบคุมสถานการณ์ได้และนำมาสู่ความสูญเสียไม่มีที่สิ้นสุดหากประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้านในพื้นที่ต่างๆ ตามทฤษฎีมวลชนที่ว่า “ตายสิบเกิดแสน” และอาจจะเป็นเงื่อนไขให้เกิดการรัฐประหารได้ และการรัฐประหารจะเอื้อประโยชน์ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มากที่สุด
ดังนั้น รัฐบาลมีทางเลือกที่จะเปิดการเจรจาทางการเมือง และเสนอทางออกโดยการเมืองได้หากไม่ต้องการให้เกิดการเสียเลือดเสียเนื้อของประชาชน เพื่อให้เกิด “ข้อตกลงสันติภาพ” (Peaceful Solution) ทั้งสองฝ่าย ขณะที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ใช้สิทธิการชุมนุมที่ก้าวล่วงขอบเขตของกฎหมายโดยการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งทำให้ละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่นอย่างกว้างขวาง แต่นี่เป็นปลายเหตุของปัญหาที่รัฐบาลปล่อยให้ยืดเยื้อยาวนานโดยไม่แก้ไขต้นเหตุแห่งความขัดแย้งมาโดยตลอด ซึ่งก็คือ ปัญหาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและพวกพ้องในอดีต ซึ่งรัฐบาลและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะต้องยอมรับและเปิดการเจรจาโดยใช้กระบวนการยุติธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติทั้งสองฝ่าย และรัฐบาลจะต้องไม่เข้าแทรกแซงเพื่อผลประโยชน์ของวงศ์วานว่านในเครือทุกกรณี
หากรัฐบาลตัดสินใจสลายการชุมนุม เท่ากับว่ารัฐบาลต้องการให้เกิดการนองเลือดและสร้างเงื่อนไขรัฐประหาร ตามที่สมาชิกรัฐบาลเสนอให้ระดมกำลังมวลชนเสื้อแดงเพื่อปะทะกลุ่มพันธมิตรนั้น รัฐบาลจะต้องออกมาชี้แจงว่าเป็นนโยบายหรือไม่ อย่าให้ประเทศไทยใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาซ้ำรอยบทเรียนจากกวางจู ของประเทศเกาหลีใต้ และสถานการณ์นองเลือดปัจจุบันในเมืองมุมใบ ประเทศอินเดียในขณะนี้ โดยการใช้กำลังอาวุธเข้าประหัตประหารกัน เราขอเรียกร้องให้ผู้นำกลุ่มพลังทางการเมืองทุกกลุ่มหยุดระดมมวลชนเพื่อปะทะและสร้างเงื่อนไขความรุนแรงทุกรูปแบบโดยเด็ดขาด หากมีการสลายการชุมนุม หรือปล่อยให้มีการใช้มวลชนเข้าปะทะกันเอง ผู้นำรัฐบาลจะต้องขึ้นศาลรับผิดชอบความผิดดังกล่าวในฐานะ “ทรราช” ดังเช่นกรณีบทเรียนจากกวางจู ของเกาหลีใต้
ทั้งนี้ ทุกฝ่ายรวมถึงกองทัพ ต้องร่วมเจรจาทุกฝ่ายเพื่อแสวงหาทางออกทางการเมืองตาม “วิถีทางประชาธิปไตย” คือ “อำนาจเป็นของประชาชน” ซึ่งรัฐบาลต้องฟังเสียงพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพันธมิตรต้องฟังเสียงประชาชน “เสื้อแดง” ด้วยเช่นกัน รัฐบาลต้องดูแลคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนทุกกลุ่ม ไม่สามารถเลือกอยู่ข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ หากรัฐบาลไม่สามารถทำหน้าที่ดังกล่าวเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งหรือบริหารราชการแผ่นดินได้ในฐานะรัฐบาลแล้ว ก็ควรพิจารณาตนเองในฐานะ “รัฐบาลที่ล้มเหลว” (Failed State) ซึ่งก็คือ ต้องคืนอำนาจให้ประชาชน โดยการยุบสภา หรือไม่ก็ลาออกเพื่อให้สมาชิกพรรคการเมืองในสภา เสนอนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่มีความสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้
การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไม่ว่ามากน้อยเพียงใดก็สะท้อนเสียงประชาชนที่ไม่ไว้วางใจรัฐบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรีในสังคมประชาธิปไตยควรเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ภายหลังการคืนอำนาจให้ประชาชน พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ควรตั้ง “พรรคการเมืองทางเลือก” สู้ในระบบรัฐสภา หลังการปฏิรูปรอบใหม่
นายเมธา มาสขาว
เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.)
28 พฤศจิกายน 2551

"ประสพสุข”นำทีม สว.แถลงวอนถอยคนละก้าว

ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 17.50 น.ภายหลังการประชุมวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภานำโดยนาย ประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช และ นส.ทัศนา บุญทอง รองประธานวุฒิสภา พร้อมด้วยส.ว.กว่า 30 คน ได้ร่วมกันแถลงจุดยืนของวุฒิสภาต่อสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้
นายประสพสุข กล่าวว่า สมาชิกวุฒิสภา เป็นห่วงสถานการณ์บ้านเมืองที่มีความขัดแย้งและน่าห่วงใยที่อาจเกิดความรุนแรงและเสียเลือดเนื้อ ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายถอยกันคนละก้าว รับฟังซึ่งกันและกัน หาข้อยุติที่พอจะรับกันได้ ไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลังสลายการชุมนุมและการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ เพราะจะเป็นชนวนของการก่อสงครามประชาชน ผู้ชุมนุมควรเห็นแก่ความเสียหายของประเทศชาติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และภาพพจน์ของประเทศ การรัฐประหารไม่ใช่ทางออกที่เหมาะสมวุฒิสภายังเห็นด้วยกับการเจรจาที่จะต้องดำเนินต่อไป ขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงใจ

พธม.ปลุกใจไม่หวั่นสลายชุมนุม มั่นใจรัฐไม่กล้ารุนแรง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าพิธีกรบนเวทีปราศรัยได้ชี้แจงกับผู้ชุมนุมว่า ในคืนนี้อาจมีการสลายการชุมนุม แต่ขอให้ผู้ชุมนุมอย่าหวั่นวิตกเพราะจะไม่มีการใช้ความรุนแรงเนื่องจากสนามบินมีมูลค่ามหาศาล หากการสลายการชุมนุมทำให้มีผู้บาดเจ็บและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย ผู้ที่ออกคำสั่งต้องรับผิดชอบ ในส่วนของด่านตำรวจที่ตั้งจุดปิดกั้นไม่ให้บุคคลภายนอกนำรถยนต์เข้าไปภายในสนามบินสุวรรณภูมิ ได้นำแผงกั้นจราจรเป็นคอนกรีตมาเสริมแนวกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีการขับรถฝ่าด่านของตำรวจเข้าไปร่วมชุมนุมภายในสนามบินสุวรรณภูมิ

ศาลแพ่งยกคำร้องพันธมิตรฯขอยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว

ตามที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่ให้ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง,นายสนธิ ลิ้มทองกุล,นายพิภพ ธงไชย,นายสุริยใส กตะศิลา,นายสมศักดิ์ โกศัยสุข,นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์,นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์,นายอมร อมรรัตนานนท์,นายนรัณยู หรือศรัณยู วงษ์กระจ่าง,นายสำราญ รอดเพชร,นายศิริชัย ไม้งาม,นางมาลีรัตน์ แก้วก่า และนายเทิดภูมิ ใจดี แกนนำและแนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำเลยที่ 1-13 นำกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมืองทันที ตามที่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. โดยนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผอ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รักษาการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทท่าอากาศยานฯ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเรื่องละเมิดและขับไล่ นั้น
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าการที่ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นกระบวนการยุติธรรมโดยใช้อำนาจทางตุลาการในการบังคับตามคำฟ้องและคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ ตาม ป.วิ แพ่ง ส่วนที่นายกรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามความแพ่ง พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 กับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีเหตุร้ายแรงในเขตท้องที่ดอนเมืองและเขาลาดกระบัง กทม. และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จ.สมุทรปราการนั้นเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ฉบับมีเจตนารมที่แตกต่างกันการบังคับให้เป็นไปตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เป็นอำนาจบุคคลที่นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้ง ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 301/51 ประกอบด้วย มาตรา 11 ของ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และการที่บุคคลซึ่งนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งให้เข้าดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินจะดำเนินการอย่างไรก็เป็นไปตามอำนาจฝ่ายบริหารนั้น มิใช่เป็นการบังคับตามคำสั่งศาลที่ให้เป็นการคุ้มครองชั่วคราว ประกอบกับตามคำร้องของจำเลยทั้ง 13 ไม่ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวแล้ว ข้อเท็จจริงแห่งคดีหรือพฤติการณ์การกระทำของจำเลยทั้ง 13 ตามที่ได้ไต่สวนและอาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในวิธีการคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ได้เปลี่ยนแปลงไปดังนั้นแม้จะไต่สวนได้ความตามคำร้องของจำเลยทั้ง 13 ก็ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง
ด้านนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯ กล่าวว่ายอมรับกับคำสั่งศาลแต่


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์