ธีรภัทร์ย้ำชัดไม่ให้ช่อง 9 เป็นเครื่องมือชี้แจงคดียุบพรรค

วันนี้ (26 พ.ค.) นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์


รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานการสัมมนาเครือข่ายศิลปินเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ปี 2550 โดยมีศิลปินแห่งชาติ และศิลปินพื้นบ้านเข้าร่วมสัมมนาอาทิ นางขวัญจิต ศรีประจันต์ นายพยุง มุกดา นายประจวบ จำปาทอง คณะลิเกฮูลู ตัวแทนจากภาคใต้ คณะกลองยาวพื้นบ้าน ตัวแทนจากภาคกลาง เป็นต้น

ทั้งนี้
เพื่อรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มศิลปินในแต่ละสาขาอาชีพ ขอความร่วมมือให้กลุ่มศิลปินใช้ความรู้ความสามารถในการแสดงรณรงค์ให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญและการลงประชามติ

นายธีรภัทร์ ให้สัมภาษณ์กรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย


และกลุ่มพีทีวี เตรียมเคลื่อนไหวชุมนุมว่า ไม่ทราบความเคลื่อนไหวของทั้ง 2 กลุ่ม ทราบเพียงจะเคลื่อนไหวในวันที่ 30-31 พฤษภาคม รัฐบาลได้ประสานกับหน่วยงานด้านความมั่นคง และหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งเบื้องต้นทราบว่าจะมีการชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า

ทั้งนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบเปิดเผยกับรัฐบาลว่า อยู่ในขีดความสามารถดูแลได้

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า

อยากให้การชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบ เรามีพื้นฐานของสังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมาตลอด หลาย ๆ เรื่องประชาชนควรให้กระบวนการยุติธรรมเดินไปได้อย่างเป็นอิสระ

ไม่แทรกแซงการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาตัดสินคดียุบพรรค ก็ควรปล่อยให้วินิจฉัยบนพื้นฐานของความเป็นอิสระตามหลักนิติธรรม ขอให้ประชาชนมั่นใจในกระบวนการยุติธรรมและยอมรับคำวินิจฉัย สังคมจะได้เดินไปอย่างสงบสุข

ส่วนกรณีที่พรรคไทยรักไทยเตรียมขอเช่าเวลาโมเดิร์นไนน์ทีวี


เพื่อชี้เแจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นยุบพรรค นายธีรภัทร์ ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล อสมท กล่าวว่า อยู่บนพื้นฐานของหลักการ คือ

ควรปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัย

พรรคไทยรักไทยไม่ควรกดดันกระบวนการยุติธรรม ควรรอให้มีการตัดสินก่อน และควรดูความเหมาะสมด้วย ไม่ควรใช้ช่องทางหรือสื่อของรัฐในการชี้แจงก่อนที่จะมีคำวินิจฉัย

เมื่อถามย้ำว่า

หากพรรคไทยรักไทยจะขอเช่าเวลาหลังจากมีคำวินิจฉัยออกมาแล้ว จะอนุญาตหรือไม่ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่มีนโยบาย พรรคไทยรักไทยควรใช้ช่องทางเท่าที่มีอยู่ในการชี้แจง ขณะเดียวกัน สื่อต่าง ๆ ก็ควรใช้วิจารณญาณตามความเหมาะสมด้วย

ส่วนคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 30 พฤษภาคม


จะมีผลกระทบต่อความคิดเห็นของประชาชนในการลงประชามติหรือไม่ นายธีรภัทร์ กล่าวว่า รัฐบาลไม่วิตก เพราะมีกรอบแนวทางที่ชัดเจน สิ่งสำคัญคือรัฐบาลมีความจริงใจและจริงจังในการรับฟังความคิดห็นของทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่รัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์ และให้มีการเลือกตั้งภายในปี 2550


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย:

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์