ต้านแรงกดดันไม่บรรจุพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ

เดลินิวส์

ที่รัฐสภา ได้มีการประชุมของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐ ธรรมนูญเพื่อปรับแก่ถ้อยคำแต่ละมาตราให้มีความสอดคล้องกัน โดย น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมถึงกรณีการชุมนุมของ องค์กรเครือข่ายชาวพุทธและพระสงฆ์ ที่เรียกร้องให้บรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำ ชาติในรัฐธรรมนูญ ว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าว เป็นความหวังดีของชาวพุทธ แต่รัฐธรรมนูญฉบับแรกจนถึงฉบับสุดท้าย ปี 2540 เนื้อหาของรัฐธรรมนูญก็ไม่เคยมีการแก้ไขในหมวด ของพระมหากษัตริย์ และศาสนาแต่อย่างใด ซึ่งก็ไม่เคยเป็นปัญหาก่อให้เกิดความยุ่งยาก แตกแยกในสังคมไทย ส่วนร่างรัฐธรรมนูญฉบับ2550 ก็ไม่ได้มีการปรับแก้เนื้อหาในหมวด ดังกล่าวเช่นกัน อย่างไรก็ตามข้อคิดเห็นต่างๆ สามารถนำไปแปรญัตติให้แก้ไขได้ หลังจาก การทำประชาพิจารณ์แล้วซึ่งกรรมาธิการจะพิจารณาถึงข้อดีข้อเสีย อีกครั้ง แม้การร่างรัฐ ธรรมนูญร่างแรกได้เสร็จสิ้นไปแล้วแต่การแก้ไขปรับปรุงนั้นจะต้องดี ขึ้นและต้องคำนึงถึง ประโยชน์ชาติบ้านเมือง

ผู้สื่อข่าวถามว่าการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองมีผลต่อการยกร่างรัฐ ธรรมนูญหรือไม่

น.ต.ประสงค์กล่าวว่า ตนมั่นใจว่าจะไม่มีผลกระทบต่อระยะเวลาที่กำหนด ไว้ ทุกอย่างเป็นไปตามกำหนดเดิม ส่วนเรื่องภายนอกเป็นสิทธิของประชาชนที่จะแสดง ความเห็นอะไรได้ ทั้งนี้หลังจากได้ส่งมอบร่างรัฐธรรมนูญที่แล้วเสร็จให้กับประธานสภาร่าง รัฐธรรมนูญ องค์กรต่างๆ และนำไปจัดพิมพ์ในทุก จังหวัด เพื่อให้มีการทำประชาพิจารณ์ความเห็นต่างๆ อย่างไรก็ตามกระบวนการร่างรัฐ ธรรมนูญได้มีการรับฟังความคิดเห็นมาโดยตลอด ซึ่งการร่างรัฐธรรมนูญอาจไปกระทบกับ ผลประโยชน์ของบางกลุ่มบางพวกได้ ทั้งนี้ขอให้มีความเข้าใจ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเนื้อหา ที่มุ่งให้การเมืองการปกครองมีความ โปร่งใส สามารถรับใช้ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

ขณะที่บรรยากาศด้านหน้าอาคารรัฐสภา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากลุ่มองค์กรเครือ ข่ายชาวพุทธและพระสงฆ์จำนวนกว่า 200 รูปยังปักหลักชุมนุมเรียกร้องให้มีการบรรจุ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ.

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์