ต่างจุดยืน ต่างเงื่อนไข ดีเบต 3 ฝ่าย จัดก็ยาก-จบก็ยาก !!

ดีเบตแลกม็อบเลิก เวทีดีเบตล่ม


...จากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อวันก่อนได้ดำเนินมาถึงจุดที่มีการพูดถึงคำศัพท์ภาษาอังกฤษอีกคำหนึ่ง...คือคำว่า ดีเบต (Debate) ซึ่งคำ ๆ นี้ความหมายมิใช่การ เจรจา เพื่อประนีประนอม แต่หมายถึงการ ถกเถียง-โต้วาที-อภิปราย และยังอาจหมายถึงการ ทะเลาะ ได้ด้วย !!

กับการเมืองไทย...คำว่า ดีเบต นาน ๆ ถึงจะได้ยินกันที...


กับการเมืองของโลกตะวันตก...คำว่า ดีเบต ถือว่าสำคัญ...


ทั้งนี้ คำว่า ดีเบต ที่ใช้ในทางการเมืองนั้น โดยส่วนใหญ่จะเป็น การโต้วาทีของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เช่นการดีเบตเพื่อแสดงวิสัยทัศน์ในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งเป็นรายการที่แม้แต่ผู้ที่ไม่ได้เป็นชาวอเมริกันก็อยากจะชม-อยากจะฟัง บนเวทีดีเบตนั้นนอกจากจะมีการปะทะคารม ชิงไหวชิงพริบ และชี้แจงนโยบายการบริหารประเทศของผู้สมัครแต่ละคนแล้ว ยังมีการชี้ให้เห็นจุดอ่อนในนโยบายของฝ่ายตรงข้ามด้วย

อย่างไรก็ตาม กับคำว่า ดีเบต นี้ รศ.ไชยวัฒน์ ค้ำชู คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า...คือรูปแบบการแสดงความคิดในเรื่องต่าง ๆ ในประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้คนในสังคมให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ โดยไม่จำเป็น จะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ประเด็นอื่น ๆ ที่คนกำลังสนใจ

หากจะกล่าวโดยสรุปให้เห็นภาพง่าย ๆ การดีเบตก็มีรูปแบบไม่ต่างอะไรจากการโต้วาทีที่คนไทยคุ้นเคยกันแล้วนั่นเอง คือต้องมีฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายคัดค้าน

รศ.ไชยวัฒน์ระบุอีกว่า...ประเด็นส่วนใหญ่ที่มักจะมีการนำมาดีเบตกัน ก็มักหนีไม่พ้น เรื่องร้อนแรง ที่กำลังได้รับความสนใจในวงกว้าง ซึ่งบรรยากาศ ของการดีเบตจริง ๆ แล้วไม่ใช่เป็นการเผชิญหน้า ที่สำคัญ...การดีเบตที่ดีควรจะเป็นการให้น้ำหนักข้อมูลของแต่ละฝ่าย มากกว่าที่จะเน้นความร้อนแรงทางวาจาหรือคำพูด


การดีเบตถือ ว่าเป็นแบบฝึกหัดที่ดีในวิถีทางตามระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นเหตุเป็นผล


แต่ด้วยความร้อนแรงของเรื่องที่นำมาโต้กัน จึงทำให้ผู้ชม-ผู้ฟังอดรู้สึก ไม่ได้ว่าการดีเบตก็เหมือนกับการ ปะทะคารมกันอย่างรุนแรง ซึ่งการดีเบตถือ ว่าเป็นแบบฝึกหัดที่ดีในวิถีทางตามระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นเหตุเป็นผล

แต่สำคัญก็คือการดีเบตนั้นจะต้องลดวางทิฐิ ลดวางอัตตา และเน้น ไปที่หัวใจหลักในการนำเสนอข้อมูล โดยปราศจากเงื่อนไข

ต่อประเด็นที่ว่า การดีเบตมีผลต่อการตัดสินใจทางความคิดสำหรับผู้ที่ได้ชมได้ฟังแค่ไหน-อย่างไร ?? รศ.ไชยวัฒน์ให้ความเห็นว่า...ก็น่าจะมีผลอยู่บ้างในแง่ของการรับรู้ข้อมูลทั้ง 2 ด้าน เนื่องจากฝ่ายที่สนับสนุนก็คงจะต้องพยายามยกข้อมูลหรือชี้แจงให้สังคมเห็นว่าเรื่องที่กำลังทำอยู่เป็นเรื่องดีมีประโยชน์ หรือถูกต้องแล้ว ในขณะที่ฝ่ายคัดค้านก็คงจะพยายามที่จะหาข้อมูลมาชี้ให้เห็นว่าเรื่องต่าง ๆ ที่นำมาพูดถึงนี้มีช่องโหว่ มีปัญหา หรือมีจุดอ่อนอยู่ ซึ่งผลจากการดีเบตอาจจะทำให้คนกลุ่มหนึ่งมีข้อมูลมากพอในการตัดสินใจ ในกรณีที่ต้องตัดสินใจ

การดีเบตก็มีผลบ้าง แต่คงไม่มากนัก โดยจะมีผลกับกลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจ ยังไม่ปักใจเลือกข้างมากที่สุด คนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์ จากการดีเบตมากที่สุด แต่สำหรับกลุ่มที่ปักใจไปแล้วว่าจะอยู่ด้านไหน...การ ดีเบตก็จะไม่ค่อยส่งผลอะไรมากนัก...รศ.ไชยวัฒน์ กล่าว


ดีเบต ถ้าประเด็นไม่ชัดเจน ไม่มีกรอบ คนฟังก็จะฟังไม่รู้เรื่อง ?!?


ด้าน รศ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร นักวิชาการอิสระด้านรัฐศาสตร์ อธิบาย ถึงการ
ดีเบต ว่า...การดีเบตก็คือการโต้เถียงในการเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ ในเชิงนโยบาย แต่ในการดีเบตนั้นจำเป็นที่จะต้องมีหัวข้อและประเด็น และประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาโต้เถียงกันก็จำเป็นที่จะต้องเป็นประเด็นที่เหมาะสม มีกรอบที่ชัดเจน

ถ้าประเด็นไม่ชัดเจน ไม่มีกรอบ คนฟังก็จะฟังไม่รู้เรื่อง ?!?

รศ.อัษฎางค์บอกต่อไปว่า...การทำดีเบตนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องทำกันในหัวข้อที่เกี่ยวกับการเมืองเท่านั้น สามารถดีเบตในเรื่องอื่น ๆ ก็ได้ แต่ที่คิดกันว่ามักจะเป็นการทำดีเบตในเรื่องการเมือง ก็เพราะได้เห็นจากการดีเบตในประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกาที่จะมีการทำดีเบตกันในช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดี

การทำดีเบตนั้นก็ต้องถือว่ามีผลต่อการตัดสินใจทางความคิดของประชาชน ถ้ามีการดีเบตโต้เถียงกันในประเด็นความคิดเห็นต่าง ๆ ของทั้ง 2 ฝ่ายแล้วออกโทรทัศน์...ประชาชนก็จะได้เห็น และตรงนี้ จะเป็นเครื่องประกอบในการตัดสินใจของประชาชนเป็นอย่างดี...ว่าจะเชื่อฝ่ายใด เพราะได้รับรู้ข้อมูลของทั้ง 2 ฝ่าย


ดีเบต...เมื่อจัดขึ้นคนชม-คนฟังจะตัดสิน...แล้วทุกอย่างก็ยุติ...แต่กับการเมืองไทยตอนนี้...จัดก็ยาก-จบก็ยาก !?!?!.


อย่างไรก็ดี กับสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยที่ตอนนี้แบ่งเป็น 3 ฝ่าย มิใช่แค่ 2 ขั้วการเมือง แต่ยังรวมถึงม็อบ รศ. อัษฎางค์ให้ความเห็นว่า...คิดว่าไม่น่าจะถึงขั้นต้องทำการดีเบตกันก็ได้ ถ้าทุกฝ่ายยอมนั่งคุยตกลงกันเพื่อหาข้อสรุปว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความสงบสุขกับบ้านเมือง...ตรงนี้จะดีกว่าการทำดีเบต

ถ้าจะดีเบตกันก็ควรกำหนดหัวข้อ และมีประเด็นที่จะมาดีเบตกันให้ชัดเจน การดีเบตนั้นก็เหมือนกับการปะทะคารมกันอย่างรุนแรง ยังไงก็ต้องมีการแสดงอารมณ์กันแน่...รศ.อัษฎางค์กล่าว

...ก็เป็นหลักใหญ่ใจความของคำว่า ดีเบต โดยสากล

...เมื่อจัดขึ้นคนชม-คนฟังจะตัดสิน...แล้วทุกอย่างก็ยุติ

...แต่กับการเมืองไทยตอนนี้...จัดก็ยาก-จบก็ยาก !?!?!.

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์