ชินคอร์ป ปมเหตุไอทีวีเจอวิกฤติ

ไม่ว่าจะเป็นคนในวงการสื่อสารมวลชน หรือใครก็ตาม


ที่ไม่ค่อยมีโอกาสติดตามข้อมูลข่าวสาร หากได้เห็นภาพของพนักงานไอทีวี ภายหลังจากรับทราบมติของที่ประชุม ครม. ถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาของสถานีโทรทัศน์แห่งนี้คงอดสะเทือนใจไม่ได้

ครม. ยังได้พิจารณาเรื่องคลื่นที่ เมื่อกลับมาเป็นของ สปน.


แล้วก็จะมอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์เข้าไปเป็นผู้บริหาร แต่เพื่อให้เกิดความรอบคอบในเชิงของอำนาจหน้าที่ของ สปน. รวมทั้งไม่ให้มีประเด็นที่จะผิดกฎหมาย มาตรา 80 ของ พ.ร.บ.คลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์ จะต้องส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยตีความให้ถูกต้อง ซึ่งทางเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แจ้งให้ ครม. ทราบว่าจะเร่งพิจารณาให้เร็วที่สุดในวันศุกร์ที่ 9 มี.ค.นี้


ดังนั้นระหว่างวันที่ 7 มี.ค.


จนถึงวันที่จะมีความชัดเจนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก็จะต้องเว้นช่วงการออกอากาศไว้ก่อน แต่ยืนยันว่าสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการได้ยึดถือขั้นตอนของกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมทั้งได้คำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนด้วย แต่คิดว่าคงจะใช้ระยะเวลาไม่นาน เชื่อว่าวันที่ 9 มี.ค. จะได้รับคำตอบที่ชัดเจนว่าจะต้องปิดสถานีเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ ในฐานะที่ดูแลสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ ออกมาชี้แจงกับสาธารณชน

เป็นการดำเนินการ


หลังจากที่ผู้บริหารและคนที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารอย่าง เทมาเส็ก และ ชินคอร์ป ไม่จ่ายเงินค่าปรับและค่าสัมปทานรวมนับแสนล้านบาท

แทบทุกคนที่ติดตามการนำเสนอข่าวของไอทีวี


ล้วนแต่เสียดายที่สถานีต้องปิดตัวไป แม้ผู้ที่เกี่ยวข้องบอกว่าจะใช้ระยะเวลาไม่นานในการแก้ไขปัญหา ก่อนที่องค์กรจะกลับมาทำหน้าที่ของสื่ออีกครั้ง แต่คงไม่มีใครแน่ใจว่าจะต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหานานเท่าไหร่

ก่อนหน้าที่เคยถูกกล่าวขาน


เป็นสื่อเสรีได้แพร่ภาพออกอากาศภายหลังจากเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 35 หลังจากสื่อของรัฐในช่วงดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารไม่ตรงกับข้อเท็จจริง และขัดกับความรู้สึกของประชาชน หลังจากนั้นภาครัฐก็ผลักดันให้มีสื่อทีวีเพิ่มขึ้นมาอีกช่องหนึ่งเพื่อเป็นทางเลือกของประชาชน

แต่ภายหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลง


ทางด้านการถือหุ้นและเผชิญกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจจนทำให้กลุ่มชินคอร์ปเข้ามาถือหุ้น ทิศทางในการนำเสนอข่าวก็ถูกมองว่ามีการเปลี่ยนแปลงไป และช่วงที่พรรคไทยรักไทยเข้ามายึดครองอำนาจรัฐในช่วง 5 ปี



ข่าวที่มีผลกระทบด้านลบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นับชิ้นได้ที่สื่อแขนงนี้จะนำมาออกอากาศ


หรือแม้กระทั่งฝีมือในการขุดคุ้ยเรื่องความไม่ชอบมาพากลของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่กลับไม่ค่อยเห็นเรื่องการเปิดโปงปัญหาทุจริตที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองในสมัยรัฐบาลที่แล้ว

มีคำถามว่า


ถ้าหากนักการเมืองบางคนไม่หวังเข้ามาใช้ไอทีวี เป็นเครื่องมือทางการเมือง ไม่แน่ใจว่าสื่อองค์กรนี้จะเผชิญปัญหาเหมือนวันนี้หรือไม่


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์