จุฬาฯ หนุนรัฐบาล เร่งใช้อำนาจเด็ดขาดในมือ

จุฬาฯ หนุนรัฐบาล เร่งใช้อำนาจเด็ดขาดในมือ

จุฬาฯ หนุนรัฐบาล เร่งใช้อำนาจเด็ดขาดในมือ พัฒนาขนส่งระบบราง-รถไฟเร็วสูง


นายภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงข้อเสนอแนะต่อโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศไทยว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน3 ล้านล้านบาท และการลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน หนองคาย-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่จะส่งผลกระทบและมีผลผูกพันในระยะยาว ซึ่งรัฐบาลตลอดจนสังคมไทยจะต้องตระหนักและเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็ง ข้อดีข้อเสีย สิ่งที่ควรระมัดระวัง รวมถึงการเตรียมการ การใช้ประโยชน์อย่างรอบด้าน

นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า

รัฐบาลควรจะใช้อำนาจเบ็ดเสร็จที่มีในมือขณะนี้จัดการส่วนต่างๆ ที่ยังเป็นปัญหาคาราคาซังเกี่ยวกับระบบรางของประเทศให้เรียบร้อยก่อนเดินหน้าลงทุนครั้งสำคัญ เพื่อให้การลงทุนในระบบรางครั้งนี้เป็นไปเพื่อนำไทยออกไปสู่ต่างประเทศ ไม่มีการนำศึกเข้ามาครอบงำไทย

นายสมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ รองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า รัฐบาลต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัด เมื่อประเทศไทยจะเป็นฮับด้านการขนส่ง จะต้องไม่เป็นเพียงทางผ่านที่เก็บได้เพียงค่าผ่านทางหรือค่าบริการ แต่ต้องเป็นศูนย์กลางที่สร้างมูลค่าเพิ่ม เหมือนกับที่สิงคโปร์ทำได้ เพื่อให้การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของไทยได้ประโยชน์สูงสุด

ด้านนายประมวล สุธีจารุวัฒน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า

 จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐต้องกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมรองรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เพื่อช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะที่ผ่านมาไทยไม่เคยมีความพร้อมการรองรับและจัดการการถ่ายทอดเทคโนโลยีเลย ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาอะไหล่ ทำให้ต้องเสียค่าซ่อมบำรุงแพงกว่าราคารถถึง 2 เท่า


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์