“กิตติรัตน์” มั่นใจ พ.ร.ก.กู้เงินผ่านศาลรธน.

“กิตติรัตน์” มั่นใจ พ.ร.ก.กู้เงินผ่านศาลรธน.


“กิตติรัตน์” มั่นใจ พ.ร.ก.กู้เงินผ่านศาล รธน. ยันเป็นกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน ปัดแสดงสปิริตลาออกหาศาลตีความพ.ร.ก.ตกไป

วันนี้( 15 ก.พ.) ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ภายหลังจากชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ตนมั่นใจในกระบวนการใช้ดุลยพินิจของครม.ที่เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินมีความจำเป็นเร่งด่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการออกพ.ร.ก.ทั้ง4ฉบับ และรวมถึงกองทุนส่งเสริมการทำประกันภัยพิบัติด้วย

โดยที่ตนชี้แจงนั้นเป็นประเด็นที่จะต้องลงทุนอย่างจริงจังเพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมอีก การวางระบบบริหารการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ที่มีการพิจารณาเป็นพ.ร.ก.ในวันนี้ และการตั้งกองทุนส่งเสริมการทำประกันภัยพิบัติจำนวน 5 หมื่นล้านบาท รวมเป็น 4 แสนล้านบาท ทั้งนี้จำเป็นต้องชี้ให้เห็นว่างบประมาณขาดดุลในปี 2555 ที่ผ่านสภาฯมาใช้วินัยการคลังระดับเดียวกันกับรัฐบาลเดิมและในงบประมาณปี 2556 ตนก็หลีกเลี่ยงที่ชี้แจงตัวเลขแต่ยืนยันว่าจะขาดดุลน้อยลงแน่นอน ซึ่งการดำเนินนโยบายการคลังที่วางงบประมาณให้ขาดดุลน้อยลง ก็คงจะปรากฏตัวเลขระดับหลายแสนล้านบาทเหมือนกัน ดังนั้นเมื่อรวมเป็นตัวเลขเงินที่ต้องกู้ก็เกินกว่า 1ล้านล้านบาทที่จะต้องดำเนินการ


นายกิตติรัตน์ กล่าวต่อว่า เรามีตัวเลขของหนี้สาธารณะอยู่ที่ 4.22 ล้านล้านบาท แต่การที่จะเริ่มเข้าไปใกล้เพดานร้อยละ 60 มากขึ้นเรื่อยๆ เราต้องตอบให้ชัดเจนว่าหนี้เก่าที่เป็นหนี้สาธารณะเดิมที่มีระดับถึง 1.14 ล้านล้านบาทนั้น เราจะต้องแก้ไขอย่างไร ซึ่งตนก็ได้ชี้แจงต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปแล้วว่า เมื่อดำเนินการตามนั้น งบประมาณปี 2556 ก็ไม่จำเป็นต้องตั้งให้แล้ว ดังนั้นการดำเนินนโยบายขาดดุลน้อยลง มีวินัยเข้มแข็งขึ้น สามารถเกิดขึ้นได้ แล้วก็ใครจะมาซักไซ้ไล่เรียงว่ามีหนี้เก่าไม่ดูแล ก็ไม่จริง เพราะมันชัดเจน โดยผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยก็เคยยืนยัน อย่างไรก็ตามหนี้สาธารณะนั้นใช้เวลาอีกเพียงกว่า20ปีก็หมดลง แต่ความจริงแล้วไม่ต้องถึงขนาดหมดลงเลยก็ได้ ให้มันลดลงเรื่อยๆและอยู่ในสายตาผู้คนก็ย่อมดีกว่า จะไม่ลดลงเลย และตอบใครไมได้ แล้วมาตั้งงบประมาณทุกปีละ6หมื่นล้าน เหตุนี้ตนจึงพยายามชี้แจงว่าอะไรเป็นสิ่งฉุกเฉิน เพราะช้าไปก็ต้องไปตั้งงบประมาณจ่ายดอกเบี้ยปี2556อีก สุดท้ายงบประมาณขาดดุลปี2556 ก็ไม่ลงอีก ความไม่เชื่อมั่นในเรื่องอื่นๆ ก็ตามมาอีก


“เป็นเรื่องที่ระมัดระวัง อะไรที่ระวังได้ก็ควรระวัง ทั้งนี้การดำเนินการต่างๆถ้าผิดจนทำให้สังคมและประชาคมโลกไม่ยอมรับ หุ้นต้องตก แต่การที่ตลาดหุ้นไม่ตอบสนองในทางลบจากการที่รัฐบาลดำเนินการมา ตั้งแต่ตอนเป็นข่าวออกมาช่วงธ.ค.2554-ม.ค. 2555 ที่มีการพิจารณาแล้วก็เป็นสิ่งที่บอกว่ามาถูกทางในการมา แต่ก็ขอให้อยู่ในดุลพินิจของศาลรัฐธรรมนูญ”นายกิตติรัตน์ กล่าว


เมื่อถามว่าหากศาลรัฐธรรมนูญมีดุลยพินิจไม่ตรงกับที่ครม.มองจะเป็นอย่างไร นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ตนขออนุญาตไม่ไปล่วงล้ำ ขอเรียนว่ารัฐบาลดำเนินการตามมาตรา184 เพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะและรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ และ ครม.ก็พิจารณาแล้วว่าเป็นเรื่องฉุกเฉินรีบด่วน อันมิอาจหลีกลี่ยงได้ หมายถึงการพิจารณาเรื่องอื่นมีความเนิ่นนานและอาจนำไปสู่การตั้งงบปี2556 ที่ไม่แน่นอน ว่าจะมีการดำเนินการในส่วนลงทุนเพื่อป้องกันน้ำท่วม และระดับหนี้สาธารณะจะลดอย่างไร ทำให้เป็นเรื่องสุ่มเสี่ยง ตนก็เรียนเหตุผลที่ครม.ใช้พิจารณา ก็คงต้องรอผล


เมื่อถามว่า หากศาลตีความว่าการออก พ.ร.ก.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญต้องแสดงออกอะไรหรือไม่ นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ขออนุญาตไม่ไปสมมติ
 
เมื่อถามย้ำอีกว่า ผู้ที่รับผิดชอบจะเป็นนายกฯ หรือรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ก็รับผิดชอบด้วยกัน ก็ทำงานไปตามกฎหมาย ก็จะบริหารประเทศไปตามที่ควรเป็น อย่าไปตั้งข้อสมมติ เพราะการสมมติจะเป็นการไม่เคารพในดุลยพินิจที่จะออกทางหนึ่งก็ได้ เราก็ทำงานทั้งระบบ ก็พยายามทำงานที่ดีที่สุด ส่วนในเรื่องการที่ศาลติดใจซักถามในเรื่อง พ.ร.ก. โอนหนี้ ถึงความจำเป็นเร่งด่วนนั้น ตนมองเป็นเรื่องดี เพราะทำให้มีโอกาสในการอภิปราย และตนก็ได้อธิบายเหตุผลที่ ครม.ใช้ดุลยพินิจ


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์