กฎเหล็ก การเมือง ผบ.ทบ. นายกรัฐมนตรี สัมพันธ์ ยึดโยง

กฎเหล็ก การเมือง ผบ.ทบ. นายกรัฐมนตรี สัมพันธ์ ยึดโยง

เส้นทางของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นับแต่เดือนตุลาคม 2557 เป็นต้นไปจะเหมือนกับเส้นทางของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

มีการต่ออายุราชการแน่นอน

นี่คือ "ไฟต์" บังคับทั้งในทางการทหาร ทั้งในทางการเมือง ไม่มีหนทางอื่นให้เลือก ไม่มีหนทางอื่นให้ตัดสินใจ

ถามว่าทำไมต้องต่ออายุราชการ
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

แม้จะเสี่ยงอย่างยิ่งต่อความไม่พอใจอันมีที่มาจาก 2 แหล่งด้วยกัน 1 ภายในกองทัพ 1 ภายในแวดวงการเมือง

ปฏิกิริยาใน "พรรคประชาธิปัตย์" คือตัวอย่าง 1

กระทั่ง เมื่อ พ.อ.ถนัด คอมันตร์ หัวหน้าพรรคและรองนายกรัฐมนตรีปล่อยหมัดเด็ดว่าด้วย "ข้อมูลใหม่" ออกมา

ทุกอย่างก็
"มิดอิมซิม"

กรณีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็อีหรอบเดียวกันกับกรณีของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เหตุผลง่ายๆ ก็คือจำเป็น


ถามว่าหากมีการต่ออายุราชการแล้ว ผบ.เหล่าทัพรายอื่นๆ ตั้งแต่ ผบ.ทหารสูงสุด ผบ.ทร. และ ผบ.ทอ.จะทำอย่างไร

คำตอบ รู้ๆ กันอยู่

ถึงคนนอกไม่รู้แต่ "คนใน" อย่าง ผบ.ทหารสูงสุด อย่าง ผบ.ทร. อย่าง ผบ.ทอ. ก็จะต้องเข้าใจได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

ตัวอย่างเหล่านี้มีให้เห็นตั้งแต่กรณี 1 เมษายน 2476

ตัวอย่างเหล่านี้มีให้เห็นตั้งแต่กรณี 20 มิถุนายน 2476

ตัวอย่างเหล่านี้มีให้เห็นตั้งแต่กรณีการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490


จากนั้น ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทยก็สวมเข้ากับตำแหน่ง ผบ.ทบ.

ตัวอย่างอันเด่นชัดอย่างยิ่งเป็นพิเศษ

คือ ตัวอย่างที่ พล.อ.ประภาส จารุเสถียร ยอมสละตำแหน่ง ผบ.ทบ.เมื่อเดือนตุลาคม 2516

เพราะต้องการเป็น จอมพลประภาส จารุเสถียร

แม้ จอมพลถนอม กิตติขจร จะเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ขณะที่ จอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด แต่เมื่อไม่เป็น ผบ.ทบ.เสียแล้ว

"ตีน" ย่อม "ลอย"

ตอนที่ พล.อ.ผิน ชุณหะวัณ ผบ.ทบ.ปรึกษากับ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีว่าจะมอบตำแหน่ง ผบ.ทบ.ให้กับ พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2497

นายกรัฐมนตรีถามย้ำว่า "แน่ใจ"

เมื่อ พล.อ.ผิน ชุณหะวัณ ยืนยันว่าแน่ใจ จอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงแสดงความเห็นด้วยในการแต่งตั้ง พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็น

หลังรัฐประหารเดือนกันยายน 2500

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ควบทั้งตำแหน่ง ผบ.ทหารสูงสุดและ ผบ.ทบ. และเป็นอยู่อย่างนั้นจนถึงแก่อนิจกรรมในเดือนธันวาคม 2506

เบื้องต้น พล.อ.ถนอม กิตติขจร ก็ควบทั้ง ผบ.ทหารสูงสุดและ ผบ.ทบ.

แต่พอผ่านไป 1 ปี จอมพลถนอม กิตติขจร ก็ดำรงเพียงตำแหน่ง ผบ.ทหารสูงสุดและปล่อยให้ตำแหน่ง ผบ.ทบ.เป็นของ พล.อ.ประภาส จารุเสถียร

เป็นตั้งแต่ปี 2507 จนถึงเดือนตุลาคม 2516

พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา รออยู่ในตำแหน่งรอง ผบ.ทบ.จนแทบ
"เหนียงยาน"

ตำแหน่ง ผบ.ทบ.จึงเป็นตำแหน่งที่ศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่ พล.ต.หลวงพิบูลสงคราม พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เรื่อยมาจนถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์


หากคิดจะมั่นคงบนตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี"

ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องนายทหารเกษียณราชการดำเนินไปตามที่กฎหมายกำหนด

แต่ในความเป็นจริงเมื่อจังหวะก้าว 1 ปรากฏและ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จำเป็นต้องรั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมหรือกันยายน ก็มีความจำเป็นต้องต่ออายุราชการ

อย่างน้อยก็ต่ออายุราชการอีก 1 ปี

..................

(ที่มา:มติชนรายวัน 23 มิ.ย.57)


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์