9 รัฐประหารในเมืองไทย

ครั้งที่ 1 พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา


ทำรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เมื่อ 20 มิถุนายน 2476 และ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี

ครั้งที่ 2 พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ


ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 และได้เชิญ นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี


ครั้งที่ 3 จอมพล ป. พิบูลสงคราม


ทำรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองรัฐบาลควง อภัยวงศ์ เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2494 และจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี



ครั้งที่ 4 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์


ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อ 16 กันยายน 2500 เชิญ พจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี


ครั้งที่ 5 พล.ท.ถนอม กิตติขจร ร่วมกับ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์


ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาลตัวเอง (พล.ท.ถนอม กิตติขจร เป็นนายกฯ) เมื่อ 20 ตุลาคม 2501 และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี


ครั้งที่ 6 จอมพลถนอม กิตติขจร


ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองรัฐบาลของตัวเอง เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2514 และจอมพลถนอม กิตติขจร กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี



ครั้งที่ 7 พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่


ทำการรัฐประหารในนาม ´คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน´ ยึดอำนาจการปกครองรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เมื่อ 6 ตุลาคม 2519 และเชิญ ธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี และต่อมา 20 ตุลาคม 2520 พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองอีกครั้ง แล้วให้ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ครั้งที่ 8 พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ และพล.อ.สุจินดา คราประยูร


ในนาม ´คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ´ ทำการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2534 และได้เชิญ อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี

ครั้งที่ 9 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน


ทำการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ

แหล่งที่มา: เนชั่นสุดสัปดาห์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์