นักข่าวสภาจัดให้ มาร์คได้ ฉายาหล่อรับเละ

นักข่าวสภาจัดให้ มาร์คได้ ฉายาหล่อรับเละ


นักข่าวสภาจัดให้ มาร์คได้ ฉายา"หล่อรับเละ"

จ่าประสิทธิ์-เจ๊โอ๋-วรงค์ 3ดาวดับ-วิสุทธิ์ดาวเด่น โพลชี้ชิงผู้ว่า-7เขตกทม. พงศพัศ
เฉือนสุขุมพันธุ์


ตั้งฉายาสภา"จองล้างจ้องผลาญ" ผู้นำฝ่ายค้าน"มาร์ค"หล่อรับเละ รองประธาน"วิสุทธิ์" คว้าตำแหน่งดาวเด่น "จ่าประสิทธิ์-หมอวรงค์-รังสิมา" ควงกันรับตำแหน่ง "ดาวดับ" แต่ "คนดีศรีสภา" หาไม่ได้ "สมศักดิ์" ค้อนน้อยหมวกแดง คำพูด "เหลิม" "เต็มใจเป็นขี้ข้า" ติดวาทะแห่งปี "อภิสิทธิ์" เปิดตัว "สุขุมพันธุ์" ชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. โพลชี้ 7 เขตคะแนน "พงศพัศ-คุณชายหมู" เบียดกันชนิดหายใจรดต้นคอ "นพดล" ยัน "ปู" พักร้อนไปฮ่องกง แต่ "แม้ว" อยู่ปักกิ่ง ศาลยืนตามมติกกต.ให้ใบเหลือง "เกียรติ เหลืองจขรวิทย์" ส.ส.ลพบุรี พรรคภูมิใจไทย



เหตุการณ์แห่งปี-ถกกม.ปรองดอง

วัน ที่ 28 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ตามธรรมเนียมปฏิบัติของทุกปี สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ระดมความเห็นในการตั้งฉายาผู้ที่ทำหน้าที่ในฝ่าย นิติบัญญัติ ทั้งในส่วนของสภา ผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงภาพการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ โดยในรอบปี 2555 สื่อมวลชนประจำรัฐสภา เล็งเห็นว่าผู้ดำรงตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านการ เมืองของประเทศ พร้อมกันนี้ ยืนยันว่าการตั้งฉายาดังกล่าวได้ใช้เหตุผล ความบริสุทธิ์ใจ ปราศจากการแทรกแซงจากทุกฝ่าย และการพิจารณาทั้งหมดได้รับความเห็นชอบจากเสียงส่วนใหญ่ของสื่อมวลชนประจำ รัฐสภา โดยผลการพิจารณามีดังนี้

1. เหตุการณ์แห่งปี : "พิจารณาร่างพ.ร.บ. ปรองดอง"

ถือ เป็นหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ไม่น่าจดจำ เมื่อเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายในสภา ผู้แทนราษฎรอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน สืบเนื่องมาจากการเสนอร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ จำนวน 4 ฉบับ โดยพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ และคณะส.ส.พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีสาระสำคัญเพื่อล้มล้างผลพวงจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549

แต่ ปรากฏว่าเกิดกระแสต่อต้านจากทั้งภายในและนอกสภา โดยในสภาพรรคประชาธิปัตย์ได้แสดงการคัดค้านในระหว่างการประชุมวันที่ 30-31 พ.ค.2555 ถึงขั้นขว้างปาแฟ้มเอกสาร สิ่งของ หรือภาพการเข้าไปฉุดกระชากลากตัวประธานสภาลงจากบัลลังก์ เพื่อยับยั้งการพิจารณาร่างกฎ หมายดังกล่าว สร้างความเสื่อมเสียให้กับรัฐสภาอย่างมาก และเป็นข่าวไปทั่วโลก



"เต็มใจ...เป็นขี้ข้า"วาทะแห่งปี

2. วาทะแห่งปี : "เต็มใจ...เป็นขี้ข้า"

เป็น คำพูดของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อวันที่ 25 พ.ย.2555 เพื่อตอบโต้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ หลังจากอภิปรายพาดพิงว่าการละเว้นเพิกเฉยต่อการดำเนินการถอดยศพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เหมือนกับเป็นขี้ข้า ทำให้ร.ต.อ.เฉลิมลุกขึ้นชี้แจงว่า "ผมเป็นขี้ข้า แต่เสียใจหน่อยคุณสาทิตย์รู้ช้า ก็เป็นมานานแล้ว แต่ผมไม่เห็นเสียหายเลย ผมเต็มใจ" จากวิวาทะดังกล่าวสะท้อน ให้เห็นถึงการทำงาน ของร.ต.อ.เฉลิม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางการเมือง



สภา"จองล้าง..จ้องผลาญ"

3. ฉายาสภาผู้แทนราษฎร : "จองล้าง.....จ้องผลาญ....."

ภาพรวม การทำงานของสภาปี 2555 ที่ผ่านมา พบว่าทั้งในวงประชุมสภา พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ที่ถือเป็นคู่แค้นทางการเมือง ต่างเสนอญัตติหรือยื่นเรื่องให้คณะกรรมาธิการที่เป็นพรรคพวกเดียวกันตรวจสอบ ฝ่ายตรงข้าม รวมถึงตั้งกระทู้ถามสดเพื่อโยงไปหาข้อผิดพลาด ข้อบกพร่องของอีกฝ่าย ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการจ้องจะล้างแค้นซึ่งกันและกัน

ขณะ ที่ "จ้องผลาญ" คือการผลาญงบประมาณแผ่นดิน ภาพที่เห็นชัดเจนคือ การพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2555 และปี 2556 ที่ ส.ส. จ้องจัดสรรงบฯให้พวกตัวเอง และการจัดทริปดูงานต่างประเทศของกรรมาธิการชุดต่างๆ ซึ่งการไปดูงานต่างประเทศของคณะกรรมาธิการแต่ละชุด เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นการไปท่องเที่ยวพักผ่อน มากกว่าที่จะไปดูงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง



วุฒิสภา"ตะแกรง...เลือกร่อน

4. ฉายาวุฒิสภา : "ตะแกรง...เลือกร่อน"

ภาพรวม การทำหน้าที่ของวุฒิสภาตลอดปี 2555 ยังคงมีการแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน แม้ว่ารัฐ ธรรมนูญปัจจุบันจะกำหนดบทบาทวุฒิสภา ให้ทำหน้าที่หลักๆ คือ การกลั่นกรองกฎหมาย ตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน การแต่งตั้งและถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆ แต่ปรากฏว่าการทำงานในรอบปีที่ผ่านมากลับไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐ ธรรมนูญ

โดยเฉพาะกลุ่ม 40 ส.ว. แม้บางครั้งจะทำงานมุ่งเน้นการตรวจสอบ แต่ก็ยังเป็นที่คลางแคลงใจว่ามีวาระซ่อนเร้นต่อฝ่ายการเมืองหรือไม่ เห็นได้จากพฤติกรรมที่พุ่งเป้าไปยังรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณี พ.ร.ก. กู้เงินเพื่อฟื้นฟูน้ำท่วมปี 2554 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และโครงการรับจำนำข้าว โดยส่อเจตนามุ่งโจมตีรัฐบาล

ขณะที่ ส.ว.อีกกลุ่มก็พยายามออกแรงช่วยรัฐบาลอย่างเต็มที่ ถึงขนาดต้องแยกยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 171 เป็น 2 ญัตติ จากส.ว. 2 กลุ่ม ทั้งที่เป็นเรื่องทำนองเดียวกัน สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นเอกภาพ ไม่เป็นหนึ่งเดียว จึงเปรียบเหมือนกับ "ตะแกรง" ที่เลือกร่อน เฉพาะสิ่งที่ตัวเองต้องการ ภาพจึงออกมาคือ ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบฝ่ายการเมืองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ มากกว่า



สมศักดิ์-ค้อนน้อยหมวกแดง

5. ฉายาประธานสภาผู้แทนราษฎร- สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ : "ค้อนน้อยหมวกแดง"

เจ้า ของฉายา "ค้อนปลอม ตราดูไบ" เมื่อปี 2554 มาในปี 2555 ประธานสภาได้รับฉายา "ค้อนน้อยหมวกแดง" ด้วยเหตุผลที่ไม่สามารถแสดงผลงานให้เห็นว่าตัวเองเป็นขุนค้อนที่น่าเกรงขาม ได้เหมือนอดีต ในทางกลับกันมีข้อครหาเรื่องความเป็นกลางหลายครั้งเกี่ยวกับการวินิจฉัยข้อ ขัดแย้งในสภา

ผนวกกับมีกรณีคลิปเสียงความยาวกว่า 20 นาทีสร้างความกระฉ่อนในทางการเมืองว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มีส่วนเกี่ยวข้องกับร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาด้วยการใช้งบประมาณไปดูฟุตบอลในประเทศอังกฤษ ยิ่งตอกย้ำว่าประธานสภากลายเป็นขุนค้อนที่ขาดความศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นแค่ค้อนน้อยที่สวมหมวกแดง แทนการสวมหมวกของประมุขในฝ่ายนิติบัญญัติ

6. ฉายาประธานวุฒิสภา- นิคม ไวยรัชพานิช : "ผลัด...ไม้สุดท้าย"

นับ ว่าได้ตำแหน่งประธานวุฒิสภามาอย่างเหลือเชื่อ เนื่องจากนายนิคม ไวยรัชพานิช เคยทำใจแล้วว่าคงไม่สามารถก้าวถึงตำแหน่งสูงสุดในสภาสูงได้ในวาระที่เหลือ อีกประมาณ 2 ปี หลังจากเคยมีความพยายามหลายครั้ง แต่เมื่อพล.อ.ธีรเดช มีเพียร มีอันต้องตกจากเก้าอี้ประธานวุฒิสภาในคดีออกระเบียบขึ้นเงินเดือนและค่าตอบ แทนให้ตัวเอง สมัยดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ทำให้นายนิคมซึ่งทำหน้าที่รองประธานวุฒิสภามานานเกือบ 4 ปี ขอลงท้าชิงเก้าอี้ผู้นำสภาสูงเป็นครั้งที่ 2 โดยฝ่าย ส.ว.สรรหา เฟ้นหาตัวที่พอจะต่อกรด้วยไม่ทัน จึงสามารถเอาชนะคู่แข่งไปได้ขาดลอย วุฒิสภาจึงเกิดการผลัดขั้วการเมืองครั้งใหญ่จากสายสรรหามาเป็นสายเลือกตั้ง ก่อนที่ส.ว.เลือกตั้งจะหมดวาระลงในช่วงต้นปี 2557



"มาร์ค"หล่อรับเละ

7. ฉายาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : "หล่อ รับ เละ"

ต้อง ยอมรับว่าบทบาทการทำหน้าที่ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน ในรอบปีที่ผ่านมาไม่ได้โดดเด่นเท่าที่ควร อาจเพราะตกอยู่ในสภาพต้องคดีทางการเมือง อาทิ คดี 99 ศพจากการชุมนุมทางการเมือง โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สั่งฟ้องพร้อมกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และถูกคำสั่งรมว.กลาโหม ถอดยศว่าที่ร้อยตรี

นอกจากนั้น ยังมีปัญหาภายในพรรคมารุมเร้า ถือว่าทุกปัญหาต่างพุ่งเป้ามาที่ตัวนายอภิสิทธิ์ ขณะที่บทบาทการนำลูกพรรคในการทำหน้าที่ในสภาก็ไม่แสดงให้เห็น แม้ลูกพรรคจะสร้างภาพลักษณ์ให้รัฐสภาเสื่อมเสียก็ยังออกมาแถลงข่าวสนับสนุน รวมถึงช่วงเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ยังมอบบทบาทการนำให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้านแทนทั้งหมด จึงเปรียบเหมือนนายอภิสิทธิ์ที่มีหน้าตาดูว่าหล่อเหลา แต่ช่วงปีที่ผ่านมาถูกมรสุมการเมืองรุมถล่มจนเละ



รองฯวิสุทธิ์-ดาวเด่น

8. ดาวเด่น : "วิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานสภาคนที่ 2"

มี ไม่บ่อยครั้งนัก ที่ผู้ทำหน้าที่ประธานควบคุมการประชุมสภาผู้แทนราษฎร จากพรรครัฐบาลจะได้รับความชื่นชมถึงความเป็นกลางจากพรรคฝ่ายค้าน แต่นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภา กลับได้รับเกียรตินั้น ด้วยการทำหน้าที่ที่สามารถผ่อนหนักผ่อนเบา ช่วยให้บรรยากาศการประชุมที่กำลังดุเดือดผ่อนคลายลง

ขณะเดียวกันได้ กล่าวตักเตือน ตำหนิ ส.ส.จากพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคเดียวกันที่แสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมกลางสภาหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้เป็นเครื่องการันตีว่ารองประธานวิสุทธิ์ มีความเหมาะสมกับการรับรางวัลดาวเด่นในที่สุด



"ประสิทธิ์-วรงค์-รังสิมา"ดาวดับ

9. ดาวดับ : "จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส. สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย - นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ - น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์"

บทบาทการทำหน้าที่ของ ส.ส.ควรจะมีทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ เพราะสภาถือเป็นเวทีที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันว่าจะเป็นที่เพื่อแก้ไขปัญหา ความขัดแย้ง โดยทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างก็พูดว่าควรใช้รัฐสภาแก้ปัญหาความขัดแย้ง ของประเทศ แต่ ส.ส.ผู้ทรงเกียรติ ประกอบด้วย "จ.ส.ต. ประสิทธิ์ - นพ.วรงค์ - น.ส.รังสิมา ที่แสดงพฤติกรรมกลางที่ประชุมสภา ให้เห็นถึงความหยาบคาย ทั้งทางวาจาและพฤติกรรมที่แสดง ออกมา อาทิ การกล่าวผรุสวาท รวมไปถึงการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ถ่อย เถื่อน รวมถึงการขว้างปาสิ่งของและลากเก้าอี้ประธานสภา ทำให้ภาพพจน์ของสภาเสื่อมเสียอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน นักข่าวรัฐสภาต้องการสะท้อนมุมมองให้เห็นว่าพฤติกรรมลักษณะเช่นนี้ไม่เป็น ที่พึ่งหวังของประชาชนได้



ไม่มีคนดีศรีสภา

10. คู่กัดแห่งปี : "นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ vs ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง"

ใน อดีตเคยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันแต่หลังจากที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เข้าร่วมกับพรรคเพื่อไทยและได้เป็นรองนายกรัฐมนตรี ขณะที่นาย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้เข้าสภาอีกสมัยในนามหัวหน้าพรรครักประเทศไทย และประกาศตัวชัดเจนยืนยันจะทำหน้าที่ในบทบาทพรรคฝ่ายค้าน ทำให้บทบาทของทั้งคู่ที่แสดงออกในสภาในรอบปีที่ผ่านมา กลายมาเป็นฝ่ายตรงข้ามกัน

โดยนายชูวิทย์ได้ตรวจสอบการทำงานของ รัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องในความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีร.ต.อ.เฉลิมคอยกำกับดูแลอยู่ ได้มีการนำคลิปภาพมาแฉในห้องประชุมสภาหลายครั้ง ทั้งการเปิดบ่อนการพนัน แหล่งอบายมุขที่ผิดกฎหมาย ทำให้ทั้งคู่เกิดการโต้เถียงกันกลางสภาอย่างดุเดือดหลายครั้ง จึงได้รับฉายาคู่กัดแห่งปี

11. คนดีศรีสภา : งดการเสนอชื่อบุคคล

ตำแหน่ง คนดีศรีสภาประจำปี 2555 สื่อ มวลชนประจำรัฐสภามีความเห็นร่วมกันว่า ยังไม่มีบุคคลที่เหมาะสมที่จะได้รับตำแหน่งดังกล่าว ถึงแม้จะมี ส.ส. ส.ว.หลายคนแสดงบทบาทการเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย นำเสนอปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนสะท้อนผ่านเวทีรัฐสภา โดยเฉพาะกับเหตุการณ์น้ำท่วม แต่นั่นถือเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้ที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ซึ่งนิยามคำว่าคนดีศรีสภา ควรเป็นการแสดงบทบาทของคนดีให้เป็นที่ประจักษ์อย่างเห็นได้ชัด แต่ในรอบปีนี้สื่อมวลชนประจำรัฐสภายังไม่เห็นมีใครเหมาะสม จึงมีความเห็นร่วมกันของดการมอบตำแหน่งคนศรีสภาประจำปี2555



ปชป.เปิดตัว"สุขุมพันธุ์"ชิงผู้ว่าฯกทม.


เวลา 13.30 น. ที่ลานพระแม่ธรณีบีบมวยผม พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค พร้อมม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. แถลงเปิดตัว ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เป็นผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ในนามพรรคประชาธิปัตย์อย่างเป็นทางการ

นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า จากการพิจารณาอย่างรอบด้านของคณะกรรมการบริหาร (บก.บห.) พรรคประชาธิปัตย์ จึงมีมติส่งม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง เพราะงาน กทม. ต้องอาศัยคนรู้งานเป็นอย่างดี มีประสบการณ์การเมืองและการบริหาร ซึ่งตรงกับคุณสมบัติของม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ที่สามารถขับเคลื่อนกลไกในกทม. ไม่มีปัญหากับข้าราชการและสภากทม.แต่อย่างใด ไม่นำความขัดแย้งการเมืองมากระทบ จุดแข็งเหล่านี้ทำให้งาน 4 ปีที่ผ่านมามีความก้าวหน้า ทั้งส่วนต่อขยายขนส่งมวลชน และงานด้านอื่นๆ

นาย อภิสิทธิ์กล่าวว่า การทำงานก็ต้องมีความพอใจและความไม่พอใจ หรือมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ผู้ว่าฯ กทม.พร้อมน้อมรับทุกคำวิจารณ์ และพร้อมนำมาปรับปรุงการทำงาน พรรคมอบหมายให้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รองหัวหน้าพรรค เป็น ผอ.เลือกตั้งในครั้งนี้ด้วย เรื่องนโยบายการหาเสียงและทีมรองผู้ว่าฯ กทม.จะแถลงให้ทราบต่อไป



ไม่ห่วงติดบ่วงคดีบีทีเอส

นาย อภิสิทธิ์กล่าวถึงกรณีผลสำรวจของนิด้าโพลระบุว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์มีคะแนนเป็นรองคู่แข่งว่า เราไม่ประมาทและทราบอยู่แล้วว่าปัจจุบันมีการสร้างกระแสกันมาก อยู่ที่ประชาชนจะตัดสินใจ ที่ผ่านมาม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ทำงานโดยไม่เอาการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องแต่ยึด ประโยชน์คนกรุงเทพฯ เป็นสำคัญ เช่น ปัญหาน้ำท่วมก็สามารถป้องกัน กทม.ชั้นในไม่ให้น้ำท่วมได้ อีกทั้งที่ผ่านมาการเมืองเล่นแรง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ก็โดนหลายเรื่องพร้อมน้อมรับการตรวจสอบเดินหน้าทำงานอย่าง เต็มที่ ทุกคนมีจุดเด่น จุดเสี่ยงและมีข้อบกพร่อง แต่ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์มีความตั้งใจทำงานให้ กทม. ซึ่งตนและม.ร.ว.สุขุมพันธุ์จะร่วมกันรณรงค์ให้คน กทม.เลือกพรรค

นาย อภิสิทธิ์กล่าวถึงการลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ของม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ว่า คาดว่าช่วงหลังปีใหม่ก่อนวันที่ 10 ม.ค. ซึ่งเป็นวันครบวาระ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์จะทำหนังสือถึง รมว.มหาดไทย เพื่อแจ้งให้ทราบว่าจะพ้นจากตำแหน่งในวันใด ตนไม่เป็นห่วงเกี่ยวกับคุณสมบัติของม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กรณีที่ดีเอสไอกำลังจะแจ้งข้อกล่าวหากับ 11 ผู้บริหารกทม. (กรณีต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอส) เพราะม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ดูฤกษ์ยามแล้ว คงไม่มีอุบัติเหตุการหาเสียง เพราะเป็นเพียงข้อกล่าวหา ยังไม่มีการชี้มูล ที่สำคัญคือตนยังไม่แน่ใจว่าดีเอสไอมีอำนาจในการดำเนินการกับ ผู้ว่าฯ กทม.หรือไม่ แต่ถ้าแจ้งข้อกล่าวหามาก็พร้อมต่อสู้ และรู้ได้อย่างไรว่าผู้สมัครของอีกพรรคหนึ่งจะไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหา ยืนยันว่าการต่อสัญญาส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสนั้นคน กทม.ได้ประโยชน์ สามารถลดภาระค่าโดยสารในอนาคต และในการทำงานของผู้ว่าฯ กทม.จะมีการประสานงานกับพรรคมากขึ้น



"ชายหมู"ลาออกก่อนครบวาระ

ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่า ตนจะเดินหน้ารับใช้ชาวกทม. ต้องยอมรับว่างาน กทม.เป็นงานหนัก สลับซับซ้อน ตนจะเดินหน้าทำงานเพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนกรุงเทพฯ ดีขึ้น และทำให้กรุงเทพฯ น่าอยู่ยิ่งขึ้น ส่วนการลาออกจากตำแหน่งขอให้ดูฤกษ์งามยามดีก่อน จึงไม่สามารถระบุได้ว่าจะเป็นวันใด แต่ยืนยันว่าจะไม่รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.แน่นอน เพราะกลัวว่าข้าราชการ กทม.จะลำบากใจ และอยากให้การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม หากตนจะลาออกก็จะทำในลักษณะเดียวกับนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯ กทม. ที่ส่งหนังสือแจ้งไปยัง รมว.มหาดไทยว่าได้พ้นจากตำแหน่งผู้ว่า กทม.แล้วซึ่งจะมีผลทันที

"หลายคนถามผมว่าจะลาออกวันไหน ผมขอสงวนสิทธิ์ แต่ยืนยันไม่อยู่เต็มวาระ ขอดูฤกษ์ยามในการออกจากเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. เพราะผมเป็นคนไทยที่เชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่ามีจริง จึงไม่จำเป็นต้องปิดบังความเชื่อของตัวเองที่คนไทยส่วนใหญ่ก็เชื่อในเรื่อง นี้เช่นกัน และมั่นใจว่าการลงนามในสัญญาบีทีเอสถูกกฎหมายจะไม่ซ้ำรอยกรณีรถดับเพลิงของ นายอภิรักษ์ เพราะถ้ามีการ กล่าวหาแล้วบอกว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิดถือว่าเป็นเรื่องที่ไร้สติสิ้นดี เพราะการกล่าวหากับคำพิพากษาต่างกัน และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนจะแจ้งข้อกล่าวหาเท่านั้น ผมย้ำว่าไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมายจึงมีความมั่นใจในเรื่องนี้" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าว



"เทือก"ชี้สู้"พงศพัศ"ได้

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า การแถลงข่าวครั้งนี้นาย กรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าวด้วย โดยมีทีมรองผู้ว่าฯ กทม.ชุดปัจจุบัน ส.ส. ส.ก. ส.ข. และผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ เข้าให้กำลังใจพร้อมมอบดอกกุหลาบให้ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และนายกรณ์

นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวกรณีพรรคมีมติเลือกม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ลงชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. ว่า เชื่อว่าม.ร.ว.สุขุมพันธุ์จะสู้กับพรรคเพื่อไทยได้อย่างแน่นอน เพราะตลอดเวลาที่ทำงานมามีผลงานมากมาย เพียงแต่ต้องมาปรับกระบวนการในการอธิบายกับประชาชนว่าได้ทำอะไรไปบ้าง

การ นำคดีความต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ผุดขึ้นมาในช่วงนี้ไม่แน่ใจว่าทางกทม. ได้กระทำความผิดตามที่เป็นข่าวหรือไม่ ตรงนี้ก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายอำนวยการการเลือกตั้งจะต้องทำหน้าที่ชี้แจงให้ ประชาชนได้รับทราบ พรรคจะต้องทำงานเป็นทีม ทุกคนในพรรคก็จะต้องมาช่วยม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ มั่นใจว่าม.ร.ว.สุขุมพันธุ์สามารถสู้พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รอง ผบ.ตร. และเลขาธิการป.ป.ส.ได้ เพราะฝ่ายนั้นเขาไม่มีความโดดเด่นอย่างอื่น นอกจากความสามารถในการประชาสัมพันธ์



เพื่อไทยจี้ปชป.แจงเหตุส่งคุณชายหมู

ร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ชี้แจงเหตุผลที่ส่งม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ลงสมัคร ผู้ว่าฯ กทม. ว่ามีเหตุผลอะไร เป็นเพราะกุมความลับอะไรไว้ หรือมีเบื้องหลังเบื้องลึกอะไรที่ต้องร่วมกันปกปิดเกี่ยวกับผลประโยชน์ ระหว่าง กทม. กับ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ในกรณีการต่อสัญญารถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งมีนายประพันธ์พงษ์ เวชชาชีวะ ญาติของนายอภิสิทธิ์ ร่วมเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่างๆ แทน กทม.ในฐานะวิสาหกิจของ กทม. ใช่หรือไม่

ร.ท.หญิงสุณิสากล่าวว่า ขอให้พรรคประชา ธิปัตย์เลิกเบี่ยงเบนประเด็นว่าข้อกล่าวหากรณีบีทีเอส เป็นการดิสเครดิตทางการเมือง แต่ควรชี้แจงข้อเท็จจริงกับสังคมที่สงสัยว่าเหตุใดจึงกลับลำส่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ทั้งที่แกนนำส่วนใหญ่ของพรรคเห็นว่ามีจุดอ่อนหลายเรื่อง ทั้งการบริหารงานบกพร่องและงมงายในสิ่งที่มองไม่เห็น ที่ให้หมอดูช่วยตัดสินใจว่าควรจะลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.วันไหน



โพลชี้ 7 เขตเบียดกันสูสี

ศูนย์ สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เผยผลสำรวจ "ความนิยมของว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. จากคนกรุงเทพฯ ตอนเหนือ" ระหว่างวันที่ 25-26 ธ.ค. จากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในกลุ่มกรุงเทพฯตอนเหนือทั้ง 7 เขต ได้แก่ จตุจักร ดอนเมือง บางซื่อ ลาดพร้าว สายไหม และหลักสี่ จำนวน 557 หน่วยตัวอย่าง พบว่าคนกรุงเทพฯ ตอนเหนือ ร้อยละ 94.43 ตั้งใจจะไปใช้สิทธิ์ ร้อยละ 1.62 ไม่ไปใช้สิทธิ์ ร้อยละ 3.95 ยังไม่ตัดสินใจ

เมื่อถามว่าจะเลือกใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ร้อยละ 21.72 ระบุว่าจะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร คือ ร้อยละ 21.36 โดยที่ร้อยละ 38.06 ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกใคร

นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองคณบดีฝ่ายวิชาการ อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม นิด้า กล่าวว่า คะแนนความนิยมที่สูสีกันระหว่างพล.ต.อ.พงศพัศ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ประมาณร้อยละ 21 สะท้อนให้เห็นถึงฐานเสียงเดิมของคนกรุงเทพฯในบางเขต โดยเฉพาะเขตชานเมือง เช่น หลักสี่ ดอนเมือง ที่เป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย ส่วนกรุงเทพฯด้านใน เช่น ลาดพร้าว บางซื่อ และจตุจักร จะเป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ยังมีตัวเลขที่น่าสนใจ คือ กลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร มากถึงร้อยละ 38 ก็อาจจะพลิกผันเทคะแนนไปทางใดทางหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้สมัครจะใช้นโยบายหรือกลยุทธ์ในการหาเสียงเพื่อชักจูงให้ ประชาชนมา สนับสนุนตนเองได้มากน้อยเพียงใด



โพลชี้เรื่องแย่-เรื่องดีการเมืองปี"55


สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจหัวข้อ"คนไทยกับการเมืองไทย ปีนี้กับปีหน้า" จำนวน 1,604 คน ระหว่างวันที่ 23-28 ธ.ค.

สอบ ถามประชาชนมองภาพรวมการเมืองไทยปี 2555 ที่กำลังจะสิ้นสุดลงเป็นอย่างไร ร้อยละ 61.54 เห็นว่ามีแต่ความวุ่นวาย ขัดแย้งแตกแยกกันเหมือนเดิม/เล่นเกมการเมืองกันไปมา ไม่สร้างสรรค์ ร้อยละ 24.80 สถานการณ์ทางการเมืองไม่แน่นอน มีการเคลื่อนไหว ชุมนุมประท้วงเป็นระยะๆ ร้อยละ 13.66 ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลยังคงทำหน้าที่ของตนเองต่อไปบนความคิดเห็นที่แตกต่าง กัน

เรื่องดีๆ ของการเมืองไทยปี 2555 ร้อยละ 41.51 เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ร้อยละ 30.17 ภาพความร่วมมือกับนานาประเทศ เช่น ผู้นำของสหรัฐและจีนมาเยือนไทย ร้อยละ 28.32 รัฐบาลและฝ่ายค้านมีการประชุม ปรึกษาหารือเรื่องแก้ปัญหาไฟใต้ร่วมกัน

เรื่องแย่ๆ ของการเมืองไทยปี 2555 ร้อยละ 57.43 นักการเมืองทะเลาะเบาะแว้ง ขาดความสามัคคี ไม่มีคุณธรรม ใช้ความรุนแรง เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี ร้อยละ 31.02 การทุจริต คอร์รัปชั่น ใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิด หาผลประโยชน์ใส่ตน ไม่คำนึงถึงประชาชน ร้อยละ 11.55 การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลท่ามกลางความขัดแย้งและความเห็นที่แตก ต่างกัน



คาดปี"56การเมืองก็เหมือนเดิม

สิ่ง ไหน-เรื่องใดของการเมืองไทยปี 2555 ที่อยากทิ้งให้หมดไปพร้อมกับปีเก่า ร้อยละ 64.56% เห็นว่า การขาดความสามัคคี ความขัดแย้งแตก แยก แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ร้อยละ 22.18 การทุจริตคอร์รัปชั่น ใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิด เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ร้อยละ 13.26 นักการเมืองที่มีความประพฤติไม่ดี ไม่เหมาะสม ขาดคุณธรรมจริยธรรม

มอง การเมืองปี 2556 จะเป็นอย่างไร ร้อยละ 55.63 คงจะเหมือนเดิม เพราะนักการเมืองแต่ละฝ่ายยังคงเล่นเกมการเมืองและขัดแย้งกันเหมือนเดิม ร้อยละ 23.59 ปี 2556 น่าจะดีกว่า ปี 2555 เพราะรัฐบาลรับรู้ปัญหาต่างๆ ของบ้านเมืองและพยายามแก้ไขให้ดีขึ้น เรื่องต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่น่าจะเป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น ร้อยละ 20.78 ปี 2556 น่าจะแย่กว่า ปี 2555 เพราะมีหลายเรื่องที่รัฐบาลยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการประชานิยมที่ใช้งบประมาณจำนวนมากทำให้ประเทศชาติมีหนี้สินเพิ่มมาก ขึ้น



"นพดล"ยัน"ปู"ไม่ได้พบแม้ว

นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับการแสดงความเห็นที่หลากหลายในสังคม ว่า ตามที่มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองออกมาให้ความเห็นว่าความเห็นต่างไม่ใช่อุปสรรคใน การสร้างความสามัคคีและคนไทยควรให้อภัยกัน ถือเป็นความเห็นที่ดีเพราะบ้านเมืองแตกแยกมานาน คิดว่าทุกคนอยากเห็นเมืองไทยเดินหน้าและสามัคคี การให้อภัยกันเป็นสิ่งที่ดี เพราะบ้านเมืองจะเดินหน้าเต็มกำลังได้

นายนพดลกล่าวว่า ต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิดในสองระดับ คือระดับผิวนอก และระดับแก่นใน ในระดับผิวนอก คือได้เวลาที่ทุกสีแห่งความขัดแย้งจะยิ้มให้กันได้ มองกันเป็นคู่แข่งแต่ไม่ใช่ศัตรู ชอบสีใดก็สังกัดสีนั้นต่อไป แต่ให้เคารพสิทธิ์สีอื่นและยิ้มให้กันได้เพราะเป็นคนไทยเหมือนกัน ขอเรียกว่าการเมืองสีทนได้

นายนพดลกล่าวว่า นอกจากนั้น ต้องแก้ในระดับแก่นในด้วยคือต้องสร้างให้ประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมเกิด ขึ้นในประเทศไทยให้ได้ เราต้องเคารพเสียงส่วนใหญ่และปฏิเสธการรัฐประหาร และมีการชี้ขาดข้อพิพาททางกฎหมายตามเนื้อผ้า ไม่ใช่ตามสีเสื้อผ้า เป็นหน้าที่ของผู้มีอำนาจทุกคนที่จะต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนใน ระดับแก่นในให้ได้ ยิ่งผู้ใหญ่ในบ้านเมืองร่วมผลักดัน ยิ่งมีทางสำเร็จและประโยชน์จะตกแก่คนไทยทุกคน

นายนพดลกล่าวกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ เดินทางไปฮ่องกง ว่า ไม่น่าจะได้พบกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะทราบว่า ขณะนี้อดีตนายกฯ อยู่ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน



ผบ.ทบ.สั่งกำลังพลยึดโอวาท"ป๋า"

เวลา 15.00 น. ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษก ทบ. แถลงหลังการประชุมผู้บังคับหน่วยขึ้นตรงทบ. และผู้บังคับหน่วยระดับผู้พันทั่วประเทศ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. เป็นประธาน ว่า ผบ.ทบ.เน้นย้ำทิศทางการทำงานในปี 2556 ซึ่งลงรายละเอียดในแต่ละด้านตั้งแต่ระดับกำลังพล ถึงงบประมาณเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผบ.ทบ.ขอบคุณกำลังพลที่มุ่งมั่นทำงานในปีที่ผ่านมา ที่สามารถบรรลุผลสำเร็จ เกิดความรัก ความศรัทธา ที่ประชาชนมอบให้ จึงขอความร่วมมือให้ดำเนินการในปีต่อไปด้วย ขอให้กำลังพลยึดมั่นการทำงานเพื่อสังคมและประเทศชาติ เป็นที่พึ่งของประชาชนทุกโอกาส

พ.อ.หญิงศิริจันทร์กล่าวว่า ส่วนการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผบ.ทบ.ให้ความสำคัญ เพราะงานด้านความมั่นคงเป็นเสาหลักในอาเซียน จึงให้ผู้บังคับหน่วยไปศึกษาและเตรียมพร้อม อีกทั้งสถานการณ์โลกได้เปลี่ยน แปลงตลอดเวลาจึงกำชับให้ผู้บังคับหน่วยติดตามสถานการณ์โลกและสถานการณ์ของ ภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำความรู้ไปสร้างเป็นสังคมแห่ง การเรียนรู้

โฆษก ทบ.กล่าวว่า ผบ.ทบ.เน้นย้ำหลักการการทำงาน ขอให้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องของคุณธรรมและความเมตตา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการทำงาน อีกทั้งนำโอวาทของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่ให้คนในชาติมีความคิดเห็นต่างได้แต่ทุกคนจะต้องอยู่ด้วยกันอย่างสันติ ให้ผู้บังคับหน่วยนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม



วางตน 2 สถานะให้สอดคล้องกัน

พ.อ.หญิง ศิริจันทร์กล่าวว่า สำหรับการวางตนของทหารที่มี 2 สถานะ คือ 1.ประชาชน ขอให้ทำตามรัฐธรรมนูญ และ 2.ในฐานะที่เป็นทหารขอให้ทำตามหน้าที่ที่จะต้องสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียว กัน การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์การเมืองอาจมีข้อจำกัด ดังนั้น ขอให้รู้สถานะของตนเอง ส่วนการดูแลอธิปไตยเป็นงานหลัก ทบ.ต้องสานต่อ รวมทั้งการดูแลพื้นที่แนวชาย แดนตามมาตรการต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ทางด้านทหารกับเพื่อนบ้าน ส่วนปี 2556 จะเป็นปีแห่งการพัฒนาการฝึกของกองทัพบก เน้นการฝึกทั้งตัวบุคคล ฝึกหน่วยเพื่อเพิ่มทักษะความรู้ความสามารถ โดยประหยัดงบประมาณมากที่สุดหรือไม่ใช้งบประมาณเลย

พ.อ.หญิงศิริ จันทร์กล่าวว่า ผบ.ทบ.ให้ความสำคัญในการดูแลทหารของกองทัพบก ทั้งกำลังพลและครอบครัว โดยปี 2556 จะให้ความสำคัญดูแลกำลังพลที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต จากการปฏิบัติหน้าที่ตามแนวชายแดนและทุกภารกิจ โดยตั้งกองทุนทหารพรานทั่วประเทศ รวมทั้งดูแลครอบครัวของทหารที่มีบุตรหลานพิการ พร้อมจัดสร้างที่พักอาศัยให้กำลังพลชั้นประทวนเพื่อให้มีความสะดวกสบายมาก ยิ่งขึ้นในทุกพื้นที่ ส่วนสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ผู้บังคับหน่วยไปทำความเข้าใจและศึกษาสาระสำคัญของ การทำงานในพื้นที่ และตอบให้ได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ดีขึ้นในส่วนใด มีข้อจำกัดอะไรบ้าง



"วราเทพ"ขอเข้าพบกกต.

นาง สดศรี สัตยธรรม คณะกรรมการการเลือกตั

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์